มีใครต้องสอนวิทยาศาสตร์สายศิลป์บ้างคะ ? สอนเนี่ยไม่ยากหรอก แต่จะสอนให้เด็ก ๆ สนุก และรู้สึกว่ามีประโยชน์มันไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วเนื้อหาที่สอนสายศิลป์ก็แสนจะเข้าใจง่ายและใกล้ตัวนักเรียนซะเหลือเกิน อย่างเช่น เรื่อง “วิวัฒนาการ และการคัดเลือกทางธรรมชาติ” แค่ฟังชื่อเด็ก ๆ ก็ทำหน้าแบบ ฉันมาทำอะไรที่นี่ อุตส่าห์หนีวิทยาศาสตร์ไปแล้วนะ ToT แต่!!!!!!! ถ้าคุณคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวล่ะก็ คิดผิดแล้วค่า เพราะเรื่อง “วิวัฒนาการ และการคัดเลือกทางธรรมชาติ” อยู่โคตรที่จะใกล้ตัวคุณ และไม่ใช่ใกล้ธรรมดานะคะ เพราะมัน อยู่ในตัวคุณ ในทุก ๆ ระบบร่างกายของคุณ ทุกอวัยวะของคุณ ทุกเซลล์ของคุณ รวมไปกระทั่งการแสดงออกของคุณล้วนมีวิวัฒนาการมาเกี่ยวข้องทั้งนั้นเลยล่ะค่ะ
เอ ถ้ายังนึกภาพไม่ออก เราลองมาดูตัวอย่างต่อไปนี้กันค่ะ
คุณเคยเหงาไหมคะ แล้วทำไมเวลาอยู่คนเดียวเราถึงรู้สึกเหงา….. คำตอบเรื่องนี้อธิบายได้ด้วยวิวัฒนาการและการคัดเลือกทางธรรมชาติค่ะ
ใครเคยผ่าฟันคุดกันบ้างคะ งง กันไหมคะเจ้าฟันคุดเนี่ยมันมีมาเพื่ออะไร ขึ้นมาก็ต้องถอนทิ้ง น่ารำคาญจริง ๆ ….. คำตอบเรื่องนี้อธิบายได้ด้วยวิวัฒนาการและการคัดเลือกทางธรรมชาติค่ะ
คุณเคยได้ยินใครพูดไหมคะว่า “พวกรักเพศเดียวกันน่ะ มันผิดธรรมชาติ” ถ้าคุณเคยได้ยินแล้วรู้สึกแย่กับมัน ให้ลืมมันไปได้เลยค่ะ แล้วจำใหม่ว่า รักเพศเดียวกันน่ะ เป็นเรื่องธรรมชาติ!! ไม่ได้พูดปลอบใจนะ เพราะที่บอกเนี่ยเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์มีรายงานวิจัยรับรองด้วย ถ้าไม่เชื่อลองเข้าไปอ่านตามลิงก์นี้เลยจ้า https://thematter.co/science-tech/homosexual-in-animals/26869 (ด้านล่างบทความมีงานวิจัยอ้างอิง ไปตามอ่านได้ค่ะ) ถ้าอ่านแล้วก็จะรู้ว่า รักร่วมเพศ คือเรื่องธรรมชาติที่ผ่านการคัดเลือกทางธรรมชาติ โดยมีการศึกษาแล้วว่าสัตว์แทบทุกชนิดบนโลกใบนี้ก็มีการรักร่วมเพศค่ะ
ธรรมชาติสัตว์นานาชนิด ก็มีการรักร่วมเพศ แล้วถ้ามนุษย์จะรักร่วมเพศบ้าง มันผิดธรรมชาติตรงไหนล่ะ ?? จริงไหมคะ อืมมมม แล้วมันเกี่ยวกับวิวัฒนาการอย่างไรนะ คุณผู้อ่านลองอ่านให้ถึงประโยคนี้จากบทความนะคะ “ความสัมพันธ์ของเพนกวินหนุ่ม ๆ เป็นเพียงการค้นพบ 1 ใน 1,500 สายพันธุ์ในอาณาจักรสัตว์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแท้จริงแล้วอาจมีมากกว่านั้น และพฤติกรรมรักเพศเดียวกันของสัตว์เกิดได้ทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเด็กหรือจะแก่ มันอาจจะเป็นหนึ่งใน กลไกวิวัฒนาการอันซับซ้อน ของสิ่งมีชีวิตด้วยซ้ำ เพื่อจุดประสงค์ ลดความตึงเครียด ในฝูง หรือสร้างพันธมิตรปกป้องลูกน้อยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะแม้แต่มนุษย์อย่างเรา ๆ Homo Sapiens ยังสามารถใช้ความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันในการปูทางสู่สังคมให้แน่นแฟ้นขึ้นได้” หรือลองคิดง่าย ๆ ถ้าบนโลกนี้อยู่ ๆ ก็เหลือแต่มนุษย์ผู้ชาย เรามาลองเปรียบเทียบเกาะ 2 เกาะที่มีแต่ชายล้วนกันนะคะ เกาะที่ 1 ชายหนุ่มไม่ถูกกัน เอาแต่แย่งชิง ชกต่อยกัน ไม่ชอบขี้หน้า ถามว่าถ้าชายหนุ่มบนเกาะนี้เดินไปเจออาหารจะบอกคนอื่น ๆ ไหมคะ? หรือถ้าเขาเดินไปเจอสัตว์มีพิษ หรือสัตว์อันตราย ก็คงแอบเงียบไว้ไม่บอกให้คนอื่น ๆ ระวังตัวสุดท้ายจำนวนคนบนเกาะก็ลดลงอย่างรวดเร็ว กลับกันอีกเกาะหนึ่งชายหนุ่มบนเกาะที่ 2 มีความสัมพันธ์อันดีงาม ลึกซึ้ง แน่นอนว่าถ้าชายบนเกาะที่ 2 เจออาหาร หรือเจออันตรายก็คงจะรีบวิ่งแจ้นไปบอกคู่รักของตนเป็นแน่ ทำให้เกาะที่ 2 มีประชากรที่อยู่รอดมากกว่านั่นเอง ซึ่งหลักการคัดเลือกตามธรรมชาติก็ทำงานง่าย ๆ อะไรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้ก็ถูกเก็บไว้นั่นเอง (นี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ง่าย ๆ นะคะ ที่แสดงให้เห็นว่าเราเชื่อมโยงหัวข้อวิวัฒนาการแล้วนำมาเล่าให้นักเรียนฟังอย่างเข้าใจง่าย ๆ อย่างไร)
ก่อนที่จะไปขั้นสอน มาดูที่มาของไอเดียนี้กันก่อนค่ะ โชคดีของเราที่ครั้งหนึ่งได้ไป workshop กับทาง inskru ซึ่งไอเดียที่สนใจมาก ๆ คือ การทำ sketchnote ค่ะ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดข้อมูลจากตัวหนังสือที่แสนจะน่าเบื๊อ น่าเบื่อ ให้ออกมาเป็นรูปภาพที่น่าสนใจ และเข้าใจง่าย ส่วนทางด้านเนื้อหาต้องมอบเครดิตให้ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา (ตามอ่านหนังสือของหมอแทบจะทุกเล่ม) ที่ชอบเขียนหนังสือถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตผ่านวิวัฒนาการที่แสนจะใกล้ตัวและเข้าใจง่าย จึงเป็นที่มาให้เรารวม 2 แนวทางนี้เข้าด้วยกันสร้างเป็นกิจกรรม “วิวัฒนาการ ผ่านการ sketchnote” ค่ะ
เกริ่นไปมากแล้ว มาดูขั้นตอนการสอนกันค่ะ
#### ครูทำใบความรู้มาเอง โดยกำหนดหัวข้อ และรวบรวมข้อมูลมาให้แล้วเพื่อให้นักเรียนอ่านแล้วสร้างเป็นภาพได้อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลที่หาบางอย่างอิงงานวิจัยและมีคำศัพท์วิชาการ เราก็จะเอามาปรับให้เข้าใจง่าย ##จะแนบตัวอย่างใบความรู้ให้ด้านล่างนะคะ)
ใบความรู้ทำตามจำนวนกลุ่ม ของเราทำมา 7 ใบความรู้ มีหัวข้อดังนี้
5. ระหว่างนักเรียนทำกิจกรรมครูจะเดินเข้าไปถามเพื่อวัดความเข้าใจนักเรียน และชี้แนะเพิ่มเติมเพื่อให้ตอนนำเสนอนักเรียนอธิบายเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
6. นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยเมื่อแต่ละกลุ่มพูดจบครูจะอภิปรายและสรุปความรู้ร่วมกับนักเรียนค่ะ และโยงสิ่งที่สอนเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น เมื่อกลุ่มที่นำเสนอวิวัฒนาการกับ สีผิวของมนุษย์จบ ครูก็อภิปรายร่วมกับนักเรียนต่อเกี่ยวกับประเด็นสีผิว (ช่วงที่สอนตอนนั้นสมัยนางงามแอฟริกาโดนบูลลี่เลยค่ะ) ซึ่งเด็ก ๆ ก็ให้ความร่วมมือออกความเห็นกันเต็มที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการแล้วเจ้าพวกคนผิวขาวทั้งหลาย บรรพบุรุษเราก็ผิวสีเหมือนกันทั้งหมดนั่นแหละ เพราะฉะนั้นอย่าแบ่งแยกกันไปเลยค่ะ (ดูได้จาก บทความนี้ https://www.bbc.com/news/science-environment-42939192)
หรืออย่างช่วงนั้นไอโฟน 11 pro กำลังเปิดตัว ก็ทำคนที่มีอาการกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกกันเป็นแถบ ๆ ซึ่งที่มาของโรคกลัวรูก็เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกทางธรรมชาติและวิวัฒนาการเป็นหนึ่งในหัวข้อที่เราเอามาสอนค่ะ
หรืออย่างรักร่วมเพศก็เอามาพูดได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาบูลลี่กันได้อีก เพราะมันก็แค่เรื่องธรรมชาติเรื่องหนึ่งไม่ได้แปลกอะไร
สรุปจุดประสงค์ของคาบเรียนนี้นะคะ
1. นักเรียนได้ฝึกทักษะนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการ sketchnote
2. นักเรียนได้เรียนรู้การคัดเลือกทางธรรมชาติและวิวัฒนาการในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ใกล้ตัว และเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
อธิบายตัวอย่างจากนักเรียนนะคะ
กลุ่มนี้ได้บทความ “กำเนิดของ ความเหงา มีที่มาจาก วิวัฒนาการ” ซึ่งตอนนำเสนอนักเรียนก็ตั้งชื่อใหม่ว่า “เหตุเกิดจากความเหงา” (สงสัยจะอินกับเพลงนี้ ><) โดยจากภาพเขาก็ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพง่าย ๆ ว่า ในสมัยก่อนมนุษย์อาศัยกลางป่า ถ้ามนุษย์เป็นคนขี้เหงาก็จะรวมตัวกับคนอื่น ๆ ก็จะปลอดภัยจากสัตว์ร้ายไม่ตาย แต่ถ้าหากมนุษย์คนนั้นเกิดอินดี้ฉันเก่ง ฉันชอบอยู่คนเดียว (คิดดูกลางป่าสมัยก่อน เสือ สิงห์ กระทิง …) ก็จะโดนสัตว์ร้ายมาทำอันตรายแล้วตายในที่สุด ดังนั้นคนที่รอดก็เป็นพวกที่ขี้เหงาจึงถ่ายทอดความเหงานี้แหละค่ะส่งต่อยังรุ่นต่อไป พวกเราในปัจจุบันจึงยังมีความเหงานี้แฝงอยู่ถึงแม้ โลกในปัจจุบันจะไม่ได้อยู่กลางป่ากลางเขา และน่ากลัวเหมือนเมื่อก่อนแล้วก็ตาม
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย