ทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเรื่องการเกิดขึ้นของรุ้งกินน้ำ
2.เพื่อศึกษารุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิ
อุปกรณ์
1.สเปรย์พ่นน้ำแบบปั๊มลม เพื่อให้เกิดการกระจายของละอองน้ำที่ละเอียดและยาวนานต่อเนื่อง
วิธีการทดลอง
1.เลือกวันที่มีสภาพอากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส มีแสงแดดจ้า
2.เตรียมสเปรย์พ่นน้ำ
3.ตัวเรายืนหันหลังให้แสงแดด
4.พ่นสเปรย์ให้เกิดละอองน้ำ
5.ปรับระดับการเงยหรือการยก การกดสเปรย์ เพื่อหามุม หาองศา จนกว่าจะเห็นสายรุ้ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในทิศเดียวกับเงาของเรา
ผลการทดลอง
1.เมื่อปรับการยก การกดสเปรย์ในระดับที่พอดี มีมุม มีองศาที่พอเหมาะ เราจะเห็นสายรุ้งที่พื้น(ในทิศเดียวกันกับเงาของเรา)
ความรู้เพิ่มเติม
1.รุ้งปฐมภูมิ คือ เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเข้ามาทางด้านบนของหยดน้ำ แล้งหักเหเข้าไปในหยดน้ำ ทำให้เกิดการกระจายของแสง และเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวด้านในของหยดน้ำ และหักเหออกจากหยดน้ำสู่อากาศ
2.รุ้งทุติยภูมิ คือ เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเข้ามาทางด้านล่างของหยดน้ำ แล้วหักเหเข้าไปในหยดน้ำ ทำให้เกิดการกระจายของแสง และเกิดการสะท้อนที่ผิวด้านในของหยดน้ำ 2 ครั้ง และหักเหออกจากหยดน้ำสู่อากาศ
3.สเปกตรัม คือ การเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่องของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง ส่วนมากจะอธิบายการเกิดรุ้งกินน้ำจากละอองหยดน้ำและการแยกแสงขาวผ่านแท่งแก้วปริซึมแยกได้เป็นแสง7สี
คำถามต่อยอด
1.แสง7สีประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
2.ทำไมรุ้งกินน้ำถึงเป็นเส้นโค้ง
3.รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นแค่หลังฝนตกหรือเกิดในเหตุการณ์ใดได้บ้าง
4.รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นตอนกลางคืนได้ไหม
อ้างอิง
lesa.biz/earth/atmosphere/phenomenon/rainbow
sites.google.com/site/library2u/withy-thekhnoloyi/rungkinna-ma-cak-hin-
ลิ้งก์วิดีโอในยูทูป
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย