icon
giftClose
profile

Classification of Fruits ลงนาล่า...ผลไม้

26329
ภาพประกอบไอเดีย Classification of Fruits ลงนาล่า...ผลไม้

การจำแนกประเภทของผล ดูเหมือนจะง่ายแต่ทำไมจำไม่ได้สักที ครูขอชวนนักเรียนออกจากห้องเรียน ออกจากกระดานเเละปากกาไวท์บอร์ด ลงจอดกลางทุ่งนาเพื่อตามล่าหาผลไม้ เอาความรู้จากห้องเรียนออกไปใช้ในพื้นที่จริงเรียนรู้สรรพสิ่ง เรียนรู้วิถีชีวิต เรียนรู้ชุมชนของตัวเอง ...เพราะห้องเรียนชีววิทยาก็คือนาของพวกเรา


หลาย ๆ ครั้งที่วิทยาศาสตร์ถูกตีตราว่าเป็น

"วิชาท่องจำ" 📖

ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของการเรียนรู้

อย่างที่วิทยาศาสตร์ควรจะเป็น

.

เรื่องที่เนื้อหาเยอะมาก ๆ เราควรสนับสนุนให้ผู้เรียน

ได้เข้าใจพื้นฐานที่ควรรู้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เพราะหากนักเรียนมองไม่เห็นภาพรวมในสิ่งที่เรียน

จะรู้สึกเหมือนถูกข้อมูลทับเลยทีเดียว

.

แม้บางครั้งเราอาจหลีกเลี่ยงการท่องจำไม่ได้

แต่เราจะทำอย่างไร ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด

และสนุกกับการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

.

#วิทย์ยายุทธ #เรื่องยากในวิชาวิทย์

#insKru #ทุกการสอนเป็นไปได้

------------------------------------------


จากภาพเเละบทความที่กล่าวมา ครูเบียร์ไม่กล้าเถียงครับเพราะเนื้อหาพืช เเละ Taxonomy ทั้งยากเยอะเเละน่าเบื่อด้วยครับ


เเต่เดี๋ยวก่อน !! วันนี้ครูเบียร์จะมานำเสนอไอเดียการสอนที่ครูเบียร์เคยใช้ เเละใช้ประจำเมื่อถึงเนื้อหาด้าน Taxonomy ของพืช ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมาของเด็กนักเรียนในหลาย ๆ รุ่น เพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวกับพืชไม่เกี่ยวกับร่างกายของนักเรียน นักเรียนจึงเจอปัญหาคือก้มดูตัวเองไม่ได้ มองหน้าเพื่อนก็หาคำตอบไม่เจอ ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการลงพื้นที่ไปดูของจริง ไปให้เห็นเค้นให้ได้คำตอบ เเต่ทว่าไปทั้งทีก็เสียดายเวลาจึงขอออกแบบการสอนให้คุ้มค่าคุ้มเวลาในการออกพื้นที่ที่สุด ไปรับชมรับฟังไอเดียของเคียบู ครูเบียร์กันเลยขอรับ


กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง Classification of Fruits ลงนาล่า...ผลไม้

วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระยะเวลา 4 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาการลงพื้นที่)


เป้าหมาย

  1. บอกคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Fruits and Classification of Fruits
  2. ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาสำรวจ เเละจำแนกชนิดของผลของพืชดอกชนิดต่างๆ ที่พบภายในชุมชนของนักเรียน
  3. ตระหนัก รักเเละหวงเเหนในทรัพยากรธรรมชาติสิ่งเเวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง


กระบวนการ

1.สำหรับกิจกรรมนี้ครูเบียร์เริ่มต้นในห้องเรียนก่อนครับ ในส่วนของเนื้อหาทั้งหมดเริ่มจากการชวนคุยเรื่องดอกของพืชก่อนเลย เพราะดอกจะเจริญไปเป็นผล ความแตกต่างเเละลักษณะของดอก ช่อดอก จึงมีผลโดยตรงกับประเภทของผลซึ่งจะเป็นหัวข้อหลักที่เราจะทำกิจกรรมครับ เริ่มต้นใช้เวลาในการลงเนื้อหาชวนคุย ชวนคิด ตั้งเเต่การปฏิสนธิจนเจริญเป็นดอกกันเลย ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครับ

.

ในส่วนของเนื้อหาครูเบียร์จะเน้นการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะทางชีววิทยาในการพูดคุยนะครับ นักเรียนก็พูดผิด พูดถูกบ้าง สนุกสนานมากครับ เราไม่ซีเรียสครับเพราะครูไม่ได้โฟกัสที่สำเนียง ครูโฟกัสที่ทักษะการสื่อสารมากกว่านะครับ



2.ในช่วงท้ายคาบหลักจากเราถกประเด็น ตี Concept ของผลประเภทต่าง ๆ เเล้ว ครูเบียร์ให้นักเรียนเเบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มตามจำนวนพื้นที่ที่นักเรียนจะออกไปสำรวจครับ เป็นการแบ่งกลุ่มแบบร่วมมือคละความสามารถ เเละให้นักเรียนวางเเผนสำรวจพื้นที่เเละเก็บข้อมูลในลักษณะของโครงงานสำรวจ โดยเชื่อมโยงลักษณะของดอกที่เรียนในคาบ ว่ามีความสัมพันธ์กับประเภทของผลที่นักเรียนเจออย่างไรบ้าง เพื่อนำมาจำแนกประเภทของผลที่สำรวจพบ

3.ในขั้นของการลงพื้นที่สำรวจเพื่อเก็บข้อมูล ครูออกแบบให้นักเรียนลงพื้นที่จำนวน 3 ชุมชนรอบโรงเรียนโดยอาศัยวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ครับ ในตอนนั้นยังไม่มีภาวะโรคระบาดทำให้การเรียนการสอนสนุกเเละลงกิจกรรมการเรียนรู้ได้ลึกมากครับ พิมพ์ไปคิดถึงบรรยากาศไป 5555555

.

บ้านนอกเราถนนโล่งครับ เด็ก ๆ ขับสบายสไตล์ไทยบ้านครับ 5555

.

ชุมชนของกลุ่มที่ 1 ชุมชนบ้านไทยเจริญ


.

เราเจอสวนกล้วยนะครับในชุมชนนี้ คุณลุงคุณป้าใจดีครับ ชมสวนตามสบายให้กล้วยเป็นของฝากด้วย 55555

.

เด็ก ๆ สนุกสนานมากครับ เป็นการเรียนที่บ้านเเบบไม่ออนไลน์ครับ 555555

.

สวนบักสีดา หรือ ฝรั่ง ครับ กว้างมากแม่ 55555

.

ชุมชนของกลุ่มที่ 2 ชุมชนบ้านคำเตย

.

ที่นี่เราเจอสวนบักมี่ หรือ ขนุนด้วยนะครับ

.

ชุมชนของกลุ่มที่ 3 ชุมชนบ้านหนองลุมพุก

.

ลำไยต้นใหญ่มากเเม่ 555

.

สายแฟอะเนอะ จริง ๆ ครูก็ไม่คิดว่าเด็ก ๆ จะเเต่งตัวเข้ากับโลเคชั่นขนาดนี้นะครับ นี่เเหละครับวิถีชีวิตจริง ๆ ได้อะไรมากกว่าลงพื้นที่สำรวจ ได้เห็นมุมมอง ได้เห็นความสุข ได้เห็นความสร้างสรรค์

.

กลับบ้านลูก กลับบ้าน 5555555


4.ขั้นสุดท้ายหลังทุกคนออกสำรวจพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูล เราจะนำผลการสำรวจทั้งหมดมาคุยกันในห้อง โดยให้แต่ละกลุ่มสรุป เเละจำเเนกประเภทของผลตามหลักการทางชีววิทยา เเล้วมาชวนกันคุยเพื่อสรุปผลครับ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครับ

.

ครูเน้นให้เด็ก ๆ บูรณาการภาษาอังกฤษให้มากที่สุดครับ เพราะภาษาอังกฤษจะต้องไม่ใช่ยาขมของเด็กชนบท

.

ถึงเวลาชวนกันคุยเเล้ว...ลุย




สรุปคอนเซ็ปต์ สะท้อนคิด สะท้อนกิจกรรม

  • เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอผลการสำรวจ เเละจัดจำแนกประเภทของผลเสร็จ นักเรียนทุกคนจะเกิดคำตอบเรื่องการจำเเนกประเภทของผลตามเนื้อหา Taxonomy ได้อย่างง่ายเพราะจะเกิดการนำเสนอลักษณะดอก ลักษณะผลซ้ำ ๆ กันในเเต่ละประเภทเพราะว่าพื้นที่ในการสำรวจเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกันพบพืชชนิดเดียวกัน ครูจะอธิบายเชื่อมโยงเนื้อหาทางชีวภูมิศาสตร์
  • นักเรียนเกิดความคงทนต่อการจดจำเนื้อหาการจำแนกประเภทของผล จากการลงมือปฏิบัติ ลงพื้นที่สำรวจ เเละใช้เทคนิคการสังเกตลักษณะดอก เเละช่อดอกประกอบการจำเเนก
  • วิทยาศาสตร์คือการเข้าใจธรรมชาติ ดังนั้นการเรียนรู้จากธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ตรงนี้ครูเบียร์มองว่า มันทำให้นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนมันมีความหมายนะ เพราะเราได้เรียนรู้จากสิ่งที่เรามี จากตัวตน จากชุมชน จากรากเง้าของเราเอง เป็นการเรียนวิทยาศาสตร์ให้ง่ายด้วยการเรียนรู้ตัวเราเอง
  • นอกจากเรื่องยากจะกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ หรือเรื่องที่ง่ายสำหรับบางคนก็จะง่ายลงไปอีกหลายเท่าตัวเเล้ว ครูเบียร์มองว่า การสอนเนื้อหาอะไรก็ตาม ถ้ามันมีความหมาย มันมีคุณค่า มันจะอยู่กับเราได้นาน "เพราะเราจะเก็บความรู้ไปพร้อมกับความสุข"
  • สรุปข้อสุดท้าย ...ครูเบียร์เห็นความสุขจากนักเรียน เเละครูเบียร์ก็รู้สึกมีความสุขมากเช่นกัน


ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะครับ

.

ขอบคุณ Inskru ที่มอบพื้นที่ดี ๆ ให้นักเขียนความรู้ นักสู้เพื่ออนาคตเด็ก

ได้มีพื้นที่ดีๆ ได้แบ่ง เเละรับความงดงามตรงนี้ครับ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(4)