icon
giftClose
profile

เพราะทุกคำพูดของครูมีความหมาย

84283
ภาพประกอบไอเดีย เพราะทุกคำพูดของครูมีความหมาย

"เพราะทุกคำพูดของครูมีความหมาย" 💞 เวลาเราเป็นเด็ก เสียงจากครูมีผลมาก ๆ ความหวังดีจากครูผ่านการชวยคุย-ชม ถ้ามีวิธีการสื่อสารที่ดี ส่งไปถึงเด็ก ครูก็สามารถสัมผัสใจเด็ก ๆ ได้มากขึ้นนะ


ปกติครูทักเด็ก ๆ ว่าอะไร? 

คุยกับเด็ก ๆ เรื่องอะไรบ้างนะ?

.

(วิธี) การชวนเด็ก ๆ คุย อาจเริ่มจากคำถามที่เป็น 

“เรื่องเฉพาะที่เด็กคนนั้นสนใจ”

แต่ยังคงเป็น “คำถามปลายเปิด” เช่น 

“ช่วงนี้ดูหนังเรื่องอะไรอยู่”

“เรื่องที่สนุก/ท้าทายที่สุดในการเล่นบอลคืออะไร”

“วันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (อาจจะไม่ใช่เรื่องเรียนก็ได้)”

ฯลฯ

.

การถามเรื่องที่เฉพาะเกี่ยวกับเด็กแต่ละคน 

จะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกถึงความใส่ใจที่ครูมีใน

“ตัวตนที่แตกต่างของเด็กแต่ละคน” 

ในขณะเดียวกันการเปิดคำถามเป็นปลายเปิด

จะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่า เราพร้อมเปิดรับ ไม่ตัดสิน

เด็ก ๆ จะเปิดใจเข้าหาเรามากขึ้น

เขามีเรื่องอะไรในใจ อยากได้ความช่วยเหลืออะไร 

มาบอกครูได้ ครูเองก็จะช่วยได้ง่ายขึ้นด้วย

.

จากงานวิจัยเรื่อง Praise for Intelligence Can Undermine 

Children’s Motivation and Performance 

(Claudia M Mueller and Carol S Dwek, 1998)



ไม่ใช่คำชมทุกคำจะดีเสมอไป 
การชมเองก็มีศิลปะเหมือนกันนะ :-)

.

บางคำชมที่ “ประเมินคุณค่าความสามารถหรือนิสัย” ของเด็ก

เช่น “ลายมือหนูสวยมาก”, “หนูเก่งที่สุด”, “คิดเลขไวมาก”

อาจให้ผลที่ครูไม่ได้ตั้งใจ 

เพราะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน กลัวทำได้ดีไม่เท่าเดิม

จนไปลดแรงจูงใจใน “การเรียนรู้” สิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

.

แล้วคำชมที่ให้กำลังใจเด็กแบบไม่กดดันทางอ้อมเป็นยังไงนะ?

> การชมว่า “ตั้งใจระบายสีมากเลย” อาจดีกว่า “ระบายสีเก่งมากเลย”

การที่ครูใส่ใจมองเห็นที่ “ความพยายาม/ความตั้งใจ” 

จะทำให้เด็ก ๆ เห็นคุณค่าและความสนุกของกระบวนการเรียนรู้

รู้สึกมั่นใจที่จะลอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกว่าผลลัพธ์ที่ดูดีหรือเก่ง

.

>นอกจากนี้ การลองถามให้เด็กย้อนคิดถึงสิ่งที่ตัวเองเลืิอกทำ เช่น

 “ทำไมถึงเลือกวาดรูปนี้”, “ทำไมถึงสนใจทำเรื่องนี้”, “ทำไมเลือกใช้คำนี้”

จะกระตุ้นความสงสัยอยากหาคำตอบและประเมินสิ่งที่ตัวเองทำด้วย



การชมเด็ก ๆ อย่างมีเป้าหมาย โดย “สนับสนุนจุดที่เขาทำได้ดีอยู่แล้ว”

เช่น “เหตุผลที่หนูหามาสนับสนุนความคิดหนูน่าเชื่อถือดีนะ”

หรือจุดที่ “อยากให้เขาพัฒนาเพิ่ม” เช่น 

“เรื่องที่หนูพูดน่าสนใจมาก ถ้าพูดดังกว่านี้จะดีมากเลย”

จะทำให้ครูสร้างกำลังใจและกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพ

ตามความสามารถและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนได้

.

เป็นการชมแบบผลักดันให้เด็กเรียนรู้ เติมเต็มส่วนที่เติมได้

และกระตุ้นให้เขากล้าเสี่ยงที่จะ “ลอง” เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ 



การชมเด็ก ๆ แบบพร่ำเพรื่อ โดยไม่มีประเด็นจริง ๆ 

อาจทำให้เด็ก ๆ อยากได้ “การยอมรับ” มากกว่า

อยากได้แรงผลักดันหรือการสนับสนุนให้เรียนรู้

การชมจึงควรมีประเด็นที่ครูมองเห็นและ “เลือกจุดชมอย่างตั้งใจ”

.

จากผลงานวิจัยพบว่าเด็กเล็กจะรู้สึกดีกับคำชมที่มีคนอื่น ๆ อยู่ด้วย 

ในขณะที่เด็กวัยรุ่นจะรู้สึกดีกว่าเมื่อครูชมเขาเป็นการส่วนตัว 

เช่น เขียนโน๊ตไปในสมุดการบ้านของเขา หรือ ชมระหว่างเจอที่ห้องสมุด

แต่แน่นอนว่าเด็ก ๆ ทุกวัย (หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่อย่างเราเอง!)

ย่อมรู้สึกไม่ดีหากถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ 

ไม่ว่าเราจะเป็นคนถูกเปรียบเทียบหรือคนถูกชมเองก็ตาม


อ้างอิง:

https://www.scholastic.com/parents/school-success/10-questions-to-ask-your-child-about-his-day-school.html

https://www.edutopia.org/article/right-kind-praise-can-spur-student-growth

https://www.edutopia.org/discussion/how-talk-problem-student-without-them-tuning-you-out

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(6)