inskru
gift-close

การผสมสีกับวิธีให้ "เลือด"

5
0
ภาพประกอบไอเดีย การผสมสีกับวิธีให้ "เลือด"

ความรู้เรื่องการให้เเละรับเลือด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเเละชวนปวดหัว จำมั่ว จำผิดจำถูก จำได้แต่ไม่มีหลักการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ วันนี้เราจะทำให้เรื่องยากๆย่อยได้ง่ายๆ เรื่องความเป็นความตายอย่างการให้เลือดจะถูกกลบด้วยศิลปะสีสันสวยงามบูรณาการความรู้ชีววิทยาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ...ไปลุยกันเลยครับ



"ระบบร่างกาย" หัวข้อยอดฮิตติดเทรนความสับสนวุ่นวาย เเต่วันนี้เราจะมาย่อยให้มันง่าย ตามสไตล์เคียบู ครูเบียร์กันครับ !!


ขอเกริ่นสักเล็กน้อย

การให้เเละรับหมู่เลือดในระบบ ABO เป็นอีกเรื่องราวที่น่าสนใจในระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์ เรียกได้ว่าเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย สอนผิดชีวิตเปลี่ยนกันเลยทีเดียว หลายครั้งที่ครูเบียร์สอนจะใช้เทคนิคการท่องจำ สูตรลัดในการจำเพื่อถ่ายทอดให้กับเด็ก ๆ เเต่ปัญหาที่ใหญ่มากของครูเบียร์คือพอถึงขั้นของการอธิบายกลไกเชิงลึกในการให้เเละรับเลือด นักเรียนหลายคนไปไม่เป็น ยืนตาค้างกับคำถามของครูเบียร์กันเลยทีเดียว ครูเบียร์จึงคิดหาวิธีแก้ไขให้เนื้อหาเรื่องนี้ เป็นในเเบบที่วิทยาศาสตร์ควรจะเป็น จนเกิดไอเดียนี้ขึ้นมาเเละทดลองสอนไปหลายครั้งได้ผลดีทุกครั้ง เรื่องยากจะกลายเป็นเรื่องง่าย เเละมีความหมายในการเรียนรู้ขึ้นมาอีกขั้นทันที พร้อมไปรับชมรับฟังไอเดียของเคียบู ครูเบียร์หรือยังครับ 1 2 3 Let's go...



กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง...การผสมสี กับวิธีให้ "เลือด"

วิชา วิทยาศาสตร์ / ชีววิทยา ระดับชั้น ประถมศึกษา - มัธยมศึกษา

ระยะเวลา 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับระดับชั้นที่สอนด้วยนะครับ จากประสบการณ์ครูเบียร์ใช้สอนพี่ ม.ปลาย ครับ)


เป้าหมาย

  1. นักเรียนเข้าใจเเละอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการให้เเละรับเลือดในระบบเลือด ABO ได้
  2. นักเรียนเชื่อมโยงหลักการทางศิลปะในการผสมสีเข้ากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการให้เเละรับเลือดได้
  3. นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การบูรณาการเเละมีจิตวิทยาศาสตร์


วัสดุอุปกรณ์การทดลอง

  1. แก้วพลาสติกใส จำนวน 8 ใบ
  2. หลอดหยด (Dropper) จำนวน 4 หลอด
  3. สีผสมอาหารสีน้ำเงิน จำนวน 1 ขวด
  4. สีผสมอาหารสีเหลือง จำนวน 1 ขวด
  5. เทปกาวสีเเดง จำนวน 1 ม้วน
  6. เทปกาวสีดำ จำนวน 1 ม้วน
  7. ปากกาหมึก จำนวน 1 เเท่ง
  8. เเท่งเเก้วคนสาร/หลอด จำนวน 4 เเท่ง
  9. น้ำเปล่า


เตรียมอุปกรณ์ครบเเล้ว...ไปลุยกันต่อ

ปล.สีผสมอาหารอาจใช้สีอื่นที่เป็นกลุ่มเเม่สี จำนวน 2 ใน 3 สี ต่อไปนี้คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง เพื่อผสมให้เกิดสีใหม่ตามหลักการทางศิลปะนะครับ ส่วนในการทดลองนี้ครูเบียร์ชอบ สีน้ำเงิน ผสมกับสีเหลือง เพื่อให้ได้สีเขียว ครับ !!

.

เเปะรูปให้เพื่อใช้อ้างอิงนะครับ


สรุปคอนเซ็ปต์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนทำกิจกรรม

  1. ในการทดลองครั้งนี้ครูผู้สอนต้องอธิบายหลักการให้เเละรับหมู่เลือดในระบบ ABO เพื่อให้ความรู้พื้นฐานกับนักเรียนก่อนนะครับ โดยอาจยกตัวอย่างกรณีการเกิดอุบัติเหตุ หรือเปิดคลิปวิดีโอ เเละนำด้วยการถามเพื่อกระตุ้นความคิดว่า "ถ้านักเรียนประสบอุบัติเหตุเเล้วเสียเลือดมากจำเป็นต้องได้รับเลือด" เราจะสามารถรับเลือดหมู่ใดได้บ้าง ?
  2. ครูอธิบายหลักการให้เเละรับหมู่เลือด โดยมีหลักการสำคัญที่ว่า โดยปกติเเล้วเซลล์เม็ดเลือดเเดงของมนุษย์ จะมี Antigen เเละ Antibody เกาะอยู่บนเซลล์เม็ดเลือดเเดง ถ้าจำเป็นต้องให้หรือรับเลือด ต้องคำนึกว่า Antigen บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้ให้จะต้องไม่ตรงกับ Antibody บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้รับ
  3. โดยสรุปได้จากตารางนี้ครับ

จะเห็นได้ว่า.....

Antigen บนเซลล์เม็ดเลือดเเดง มี 2 ชนิด คือ Antigen A เเละ B

Antibody บนเซลล์เม็ดเลือดเเดง มี 2 ชนิด คือ Antibody A เเละ B


จากตารางเราจะสรุปโดยยึดจาก Concept ที่ว่า Antigen บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้ให้จะต้องไม่ตรงกับ Antibody บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้รับ ได้ดังนี้

  1. หมู่เลือด A ให้เลือด หมู่เลือด A , AB ได้ เพราะ เเอนติเจน A ของหมู่เลือด A ไม่ตรงกับเเอนติบอดี้ ของหมู่เลือด A เเละ AB
  2. หมู่เลือด B ให้เลือด หมู่เลือด B , AB ได้ เพราะ เเอนติเจน B ของหมู่เลือด B ไม่ตรงกับเเอนติบอดี้ ของหมู่เลือด B เเละ AB
  3. หมู่เลือด AB ให้เลือด หมู่เลือด AB ได้ เพราะ เเอนติเจน AB ของหมู่เลือด AB ไม่ตรงกับเเอนติบอดี้ ของหมู่เลือด AB
  4. หมู่เลือด O ให้เลือด หมู่เลือด O,A,B,AB ได้ เพราะ หมู่เลือด O ไม่มีแอนติเจน จึงไม่ตรงกับเเอนติบอดี้ของหมู่เลือดใด

.

สรุปมาถึงตรงนี้นักเรียนฟังบางครั้งบางทีครูเองยังมีสะดุด นักเรียนเองอาจจะหลุดได้นะครับ มองตารางกันตาลายเลยทีเดียว "เปลี่ยนครับ ถึงเวลาเปลี่ยน !! เปลี่ยนวิธีให้ดูมีชีวิตชีวา มีคุณค่าจากการลงมือปฏิบัติ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่เเท้จริงกันครับ"


กระบวนการเเห่งความสร้างสรรค์

หลังจากที่คุณครูอธิบายตารางการให้เเละรับเลือดจบเเล้ว เรามาชวนเด็ก ๆ สังเกตเเละร่วมลงมือปฏิบัติกิจกรรมไปพร้อม ๆ กันครับ


1.ครูกางอุปกรณ์ ตู้มมมมม !! (เล่นใหญ่ ๆ เข้าไว้ครับ 555) ชวนเด็ก ๆ เติมน้ำเปล่าลงในเเก้วพลาสติกใส จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 4 ใบ โดยใบที่ 1 เติมสีผสมอาหารสีน้ำเงินจำนวน 2 หยด/ ใบที่ 2 เติมสีผสมอาหารสีเหลือง จำนวน 2 หยด/ ใบที่ 3 เติมสีผสมอาหารสีน้ำเงินเเละสีเหลือง ในอัตราส่วน 2:2 หยด (ก่อนการผสมสีครูชวนเด็กๆ ตอบคำถามว่า หากผสมทั้ง 2 สีนี้จะเกิดสีใหม่คือสีอะไร เเล้วครูจึงเฉลยด้วยการหยดสีผสมอาหารทั้ง 2 สีลงในแก้วใบที่ 3 พร้อมกัน บึ้มมมมม !!) / แก้วใบที่ 4 ไม่ต้องเติมสี

2.ทำซ้ำตามข้อที่ 1 ในชุดการทดลองที่ 2 หลังจากนั้นเขียนระบุหมู่เลือดลงไปบนเเก้ว ตามรูปนี้เลยครับ

3.ครูชวนเด็ก ๆ ติดเทปกาวลงบนเเก้วน้ำ โดยอธิบายว่า

เทปกาวสีเเดง เเทน Antigen เเละ Antibody ชนิด A

เทปกาวสีดำ เเทน Antigen เเละ Antibody ชนิด B

ตามรูปนี้เลยนะครับ


4.ครูอธิบายหลักการ การมีแอนติเจน เเละเเอนติบอดี้ บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของหมู่เลือดต่าง ๆ เเล้วให้นักเรียน ติดเทปกาว เเทน เเอนติเจน ลงบนชุดการทดลองที่ 1 ซึ่งจะเป็นผู้ให้เลือด เเละติดเทปกาว เเทนเเอนติบอดี้ ลงบนชุดการทดลองที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้รับเลือด

ตามรูปนี้นะครับ

5. เริ่มทำการทดลองโดยครูชวนเด็ก ๆ ทบทวนหลักการ "จากหลักการที่ว่า Antigen บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้ให้จะต้องไม่ตรงกับ Antibody บนเซลล์เม็ดเลือดเเดงของผู้รับ "


การทดลองที่ 1 ให้เด็ก ๆ ใช้หลอดดูดน้ำจากหมู่เลือด A , B , AB , O ในชุดการทดลองที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เลือด หยดลงไปให้ตรงกับหมู่เลือดเดียวกันในชุดการทดลองที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเลือด สังเกต บันทึกผล

จากการทดลองที่ 1 นี้เด็ก ๆจะสังเกตเห็นว่า ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงของสีน้ำในแก้วของผู้รับเลือด เเปลผลว่า หมู่เลือดทุกหมู่สามารถให้เเละรับเลือดในหมู่เดียวกันได้ /สังเกตสีเทปกาวของผู้ให้ ก็ไม่ตรงกับสีเทปกาวของผู้รับเช่นกัน แปลผลว่า เเอนติเจนของผู้ให้ ไม่ตรงกับ เเอนติบอดี้ของผู้รับ จึงให้เเละรับเลือดกันได้ตามหลักวิทยาศาสตร์

ตามรูปนี้นะครับ

6.การทดลองที่ 2 ให้เด็กๆลองหยดสีข้ามหมู่เลือดโดยดูดน้ำจากหมู่ O ของผู้ให้ ลงไปในแก้วน้ำของผู้รับทุกหมู่ ทั้ง A , B, AB เเละ O จะสังเกตเห็นว่า ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงของสีน้ำในแก้วของผู้รับเลือดในหมู่ใดเลย เเปลผลว่า หมู่ O ให้เลือดได้ทุกหมู่ /สังเกตสีเทปกาวของผู้ให้หมู่ O ไม่มีเทปกาวติดอยู่จึงไม่ตรงกับสีเทปกาวของผู้รับทุกหมู่ แปลผลว่า หมู่ O ไม่มีเเอนติเจน จึงไม่ตรงกับเเอนติบอดี้ของผู้รับหมู่ใดจึงให้เเละรับเลือดกันได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ เรียก หมู่ O ว่าผู้ให้สากล (Universal Dornor)

ตามรูปนี้นะครับ

7.การทดลองที่ 3 ให้เด็กๆหยดน้ำจากผู้ให้ทุกหมู่ ทั้ง A ,B ,AB เเละ O หยดลงไปในแก้วของผู้รับหมู่ AB จะสังเกตเห็นว่า ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงของสีน้ำในแก้วของผู้รับเลือดในหมู่ AB เเปลผลว่า หมู่ AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่ /สังเกตสีเทปกาวของผู้รับ AB ไม่มีเทปกาวติดอยู่ แปลผลว่า หมู่ AB ไม่มีเเอนติบอดี้ จึงไม่ตรงกับเเอนติเจนของเลือดของผู้ให้หมู่ใดเลย จึงสามารถรับเลือดได้จากทุกหมู่ เรียก หมู่ AB ว่าผู้รับสากล (Universal Recipient) เเละการทดลองนี้ใช้หลักการการผสมสี ระหว่างสีน้ำเงิน กับเหลือง ได้สีเขียว เมื่อหยดสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองลงไปในสีเขียว จึงไม่เกิดการเปลี่ยนเเปลงของสีเขียวไงละครับ

ตามรูปนี้นะครับ

8.การทดลองที่ 4 ให้เด็ก ๆ ลองหยดน้ำจากผู้ให้ทุกหมู่ ทั้ง A,B,AB เเละ O ลงไปในเเก้วของผู้รับหมู่ O เเน่นอนครับ ว่า เละ !! 555

เเปลผลว่า หมู่ O ไม่สามารถรับเลือดจากหมู่ใดได้เลย นอกจากหมู่ O ด้วยกันเอง/ สังเกตเทปกาวของผู้รับหมู่ O มีเทปกาวสีเเดงเเละดำ นั่นคือมีทั้งเเอนติบอดี้ A เเละ B จึงไปตรงกับเเอนติเจนของหมู่เลือด A,B เเละ AB จึงไม่สามารถรับเลือดจากหมู่เลือดอื่นได้ เฮ้อ!!เกิดมาเพื่อเป็นผู้ให้ที่เเท้จริงนะครับ 55555

ตามรูปนี้นะครับ

9.การทดลองที่ 5 การทดลองสุดท้าย ให้นักเรียนหยดสีของน้ำผู้ให้ในหมู่เลือด AB ลงไปในแก้วน้ำของผู้รับ A เเละ B ปรากฏว่าน้ำเปลี่ยนสี แปลผลว่า หมู่เลือด AB ให้เลือดหมู่ A เเละ B ไม่ได้ /สังเกตเทปกาวที่ติดอยู่บนผู้รับ A เเละ B ไปตรงกับสีเทปกาวของผู้ให้ AB แปลผลว่า เเอนติเจนของผู้ให้ AB ตรงกับ เเอนติบอดี้ของผู้รับ ทั้ง A เเละ B จึงให้เเละรับเลือดกันไม่ได้

ตามรูปนี้นะครับ


หลังการทดลองครูชวนเด็ก ๆสรุปความรู้ร่วมกัน

การผสมสีของผู้ให้ลงไปในผู้รับต้องไม่มีการเปลี่ยนสี จึงจะเเปลว่าให้เเละรับกันได้ เปรียบเทียบกับการให้เเละรับเลือด ถ้าให้เเละรับเลือดผิดหมู่ เเจ้งหมู่เลือดผิด ผู้รับเลือดอาจเสียชีวิตจากการตกตะกอนของเลือดได้ เเละครูสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีเเม่สีเเละการผสมสีในกรณีถ้าครูใช้สีอื่นๆเช่น แดงกับน้ำเงิน เเดงกับเหลือง หากผสมเเล้วจะเกิดสีอะไรบ้าง เเละชวนครูสรุปประโยชน์ของการผสมสีจากเเม่สีให้เด็ก ๆฟัง เช่น

  • การผสมสีเพื่อสร้างงานศิลปะ
  • ก่ารผสมพันธุ์ดอกไม้ให้ได้ดอกสีใหม่ที่สวยงาม
  • การผสมสีจากธรรมชาติเพื่อย้อมผ้า เป็นต้น


ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านเเละติดตามมาจนถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ

หวังว่าไอเดียของครูเบียร์จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ


ขอบคุณ Inskru สำหรับพื้นที่ดี ๆ เเบบนี้

ที่ให้โอกาสแบ่งปัน เเละรับสิ่งที่งดงาม

เเละงอกงาม ที่เรียกว่า

การศึกษา

The Education is Growth

การศึกษา คือความเจริญงอกงาม

.

ขอบพระคุณครับ

วิทย์ยายุทธชีววิทยาวิทยาศาสตร์บูรณาการCreative-Critical ThinkingActive LearningScienceLearningDesigner

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

5
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Biobeer
ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้ที่มีความหมาย ภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชุมชน บนความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ