icon
giftClose
profile

เรียนรู้consentจากชนิดประโยคในภาษาไทยและชาไข่มุก

62034
ภาพประกอบไอเดีย เรียนรู้consentจากชนิดประโยคในภาษาไทยและชาไข่มุก

วิชาภาษาไทย หัวใจสำคัญคือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องประโยคไปบูรณาการร่วมกับการสื่อสารเรื่องยินยอมพร้อมใจ(consent) ด้วยรูปแบบการสอนแบบ Experiential Learning Theory (ELT)

วิชาภาษาไทย หัวใจสำคัญคือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องประโยคไปบูรณาการร่วมกับการสื่อสารเรื่องยินยอมพร้อมใจ(consent) ด้วยรูปแบบการสอนแบบ Constructivism พร้อมสื่อการสอนเป็นชาไข่มุก


1

ครูจัดห้องเรียนโดยให้นักเรียนจับคู่กันนักเรียนแต่ละคนจะได่รับแจกแก้วน้ำชาไข่มุกเปล่า ครูชวนนักเรียนตั้งคำถามในประเด็นต่อไปนี้ (อินเนอร์ในการถามควรเป็นไปเพื่อกระตุ้นความคิดนักเรียนไม่ใช่การถามนำเพื่อนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว)


  • นักเรียนคิดว่าการดื่มชาไข่มุกเราต้องใช้ประโยคที่มีความหมายแบบไหนบ้างเพื่อสื่อสารกับเพื่อน กับคนขาย (คาดเดาคำตอบ : ประโยคคำสั่ง ประโยคขอร้อง ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม) จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างประโยคโดยเขียนลงในกระดาษโพสอิทสีขาว(เพราะเราจะเอาไปติดบนพื้นสี) ตัวอย่างประโยคที่นักเรียนตอบมาเช่น

พาไปกินชานมหน่อย

อยากกินชานมจังเลย

ชานม 1 แก้วค่ะ

ไม่อยากกินชาไม่มุก

เบื่อชาไข่มุกแล้ว


2

ให้นักเรียนจัดประเภทว่าประโยคของเพื่อนคนไหนถึงจะได้รับเสริ์ฟชาไม่มุก คนไหนที่ต้องถามอีกครั้ง คนไหนที่ไม่ต้องเสริ์ฟ

ประโยคที่ต้องเสริ์ฟชาไข่มุกให้แปะลงในกระดาษชาร์ตสีเขียว เช่น ขอกินชาไข่มุกหน่อย

ประโยคที่ต้องถามความต้องการอีกครั้งให้แปะลงในกระดาษชาร์ตสีเหลือง เช่น คอแห้งจัง กินชาไข่มุกดีไหมนะ

ประโยคที่ไม่ต้องเสริ์ฟชาไข่มุกให้แปะลงในกระดาษชาร์ตสีแดง ไม่อยากกินชาไข่มุก เบื่อชาไข่มุกแล้ว



3

ครูนำการ์ดสถานการณ์ต่าง ๆ มาแจกกับนักเรียนได้แก่


สั่งซื้อชานมไข่มุกแต่หลับไป

สั่งชานมไข่มุกมาแล้วเปลี่ยนใจไม่กินกะทันหัน

กินชาไม่มุกแล้วหลับไป

วางชาไม่มุกไว้ข้าง ๆ แต่ไม่กิน

กินชานมไข่มุกไปครึ่งนึงแล้วไม่อยากกินต่อ

กินชาไม่มุกทุกวัน เวลาเดิมแต่วันนี้ยังไม่สั่ง



ให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วเลือกว่าสถานการณ์ดังกล่าวควรแปะติดลงในกระดาษชาร์ตสีอะไรระหว่าง เขียว เหลือง แดง



4


ครูตั้งคำถามต่อว่าสถานการณ์แบบไหนที่อาจจะเกิดขึ้นหากการสื่อสารสถานการณ์นี้ผิดพลาด ตัวอย่างคำตอบของนักเรียน เช่น

ถูกบังคับให้กินชาไข่มุก

จำใจกินชาไข่มุกแบบงง ๆ

ต้องกินชาไข่มุกด้วยความเกรงใจ

กินชาไม่มุกแบบไม่มีความสุข :(




5

จากนั้นให้นักเรียนอธิบาย "สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะสื่อสารความต้องการดื่มชานมไข่มุก" ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ตัวอย่างคำตอบเช่น


  • อิสระในการเลือกที่จะกินหรือไม่กิน
  • ความชัดเจนในความต้องการและไม่ต้องการ
  • การไม่โดนบังคับหรือกดดันให้กิน

เพื่อร่วมกันกำหนดชื่อเรียก ซึ่งจากที่เราใช้กิจกรรมนี้เด็ก ๆ หลายคนสามารถนิยามได้ว่าสิ่งนี้คือ "ความยินยอม" หรือ คำอื่น ๆ ที่เขาอยากจะเรียกแต่มีความหมายครอบคลุมคำว่า consent


consent - ความยินยอมพร้อมใจ


จากนั้นจึงสรุปร่วมกันว่าหากทุกกิจกรรมของมนุษย์ทั้งการนอน การกิน การมีเพศสัมพันธ์หากต้องทำกิจกรรมร่วมกันล้วนจำเป็นต้องใช้ความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย จากนั้นอาจจะให้นักเรียนโหวตเอารูปประโยคที่เหมาะที่สุดleหรับสื่อสารเรื่องคอมเม้น ตรงนี้อาจจะใช้แอปพลิเคชั่นมาช่วยด้วยเช่น menti polleverywhere ส่วนมากนักเรียนมักจะโหวตประโยคปฏิเสธ รองลงมาคือประโยคคำสั่ง











อ้างอิง

lifeeducation.in.th/ทฤษฎีการเรียนรู้จากประ



youtube.com/watch?v=BPk5i1LHLxA



trueplookpanya.com/learning/detail/31469






รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(11)
เก็บไว้อ่าน
(19)