เราได้ยินเสียงคุณครูบ่นถึงระบบประเมินมาอย่างยาวนาน
ทั้งเสียงที่ว่า "มีแต่เอกสาร" "ไม่บ่งบอกความเป็นจริงเลย"
เลยเกิดคำถามว่า แล้ว "การประเมินครูแบบไหนถึงจะมีความหมาย"
ในช่วงนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากครูนี ที่ครูนำตัวชี้วัดของการประเมิน
แต่ละตัว มาออกแบบเป็นคำถาม ให้นักเรียนตอบ
เพื่อเอาผลจากที่นักเรียนตอบมาใส่ในแฟ้มประเมิน
ตอนนั้นรู้สึกประทับใจมาก ๆ ว่า เสียงของนักเรียนนี่แหละ
เป็นคนบ่งบอกห้องเรียนของครูคนนั้นได้ดีที่สุด
และจริง ๆ แล้วก็ควรมีพื้นที่ให้นักเรียนได้ส่งเสียง
เพื่อที่ตัวเองจะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของตัวเอง
เราเลยต่อยอดจากครูนี โดยเริ่มทำการรีเสิร์ช
ผ่าน 3 มุมมอง ได้แก่
เราปล่อยแบบสอบถามไปให้นักเรียนตอบมา 100 คน ว่าถ้าเสกครูขึ้นมาได้
จะเสกครูแบบไหน และไม่อยากได้ครูแบบไหน
ผลคำตอบออกมาน่าสนใจว่า มากกว่าเรื่องการสอนของครู
สิ่งที่เด็ก ๆ ตอบ ตัวตน ลักษณะนิสัย การกระทำของครูมีผลอย่างมาก
(ภาพสรุป ผลคำตอบของนักเรียน)
เลยทำให้ค้นพบว่าแบบประเมินที่จะออกแบบไป
น่าจะต้องมีการสะท้อนตัวตนของครูด้วย
เราปล่อยแบบสอบถามไปให้ครูว่า อยากรู้อะไรจากนักเรียน
ก็ได้เห็นมุมมองว่าครูส่วนใหญ่อยากรู้ว่า
ตัวเองสอนเข้าใจมั้ย ชอบสื่อที่ใช้อันไหน
รีเสิร์ชเกณฑ์ต่าง ๆ ของกระทรวง ว่าส่วนใหญ่อยากรู้อะไรจากครู
ในมุมไหนบ้าง
รวม 3 ข้อค้นพบมาออกแบบเป็นชุดคำถามแรกที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดต่าง ๆ
โดยตั้งเป้าว่า แบบประเมินนี้จะต้อง
1.บ่งบอกครูได้อย่างแท้จริง
2.เติมไฟคุณครู
3.ส่งเสิมให้ครูสามารถไปพัฒนาตนเองต่อ
โดยแบ่งคำถามออกมาเป็น 4 มุม ได้แก่
1.1 มุมความเป็นพื้นที่ปลอดภัย
1.2 เด็กนึกถึงเราแบบไหน
เพื่อนำมาเติมในส่วนที่ตัวเองยังขาดไป
โดยทั้ง 4 มุมในการจัดการชั้นเรียนนี้ ได้มาจากการตกตะกอนของ ผศ.ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ (อ.เปี๊ยก) อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อนำมาออกแบบการจัดการชั้นเรียนของตนเองต่อไป
3.1 ความรู้สึกอยากเรียนคาบนี้ของนักเรียน
3.2 ความตั้งใจสอนของคุณครู ที่นักเรียนสัมผัสได้
3.3 สิ่งที่คุณครูสามารถพัฒนาได้
3.4 ส่วนที่ชอบ ทั้งในแง่ของการสอน และในแง่อื่น ๆ
3.5 การวัดประเมินผลของครู ทั้งในแน่การให้ชิ้นงาน และการให้ Feedback
เพื่อนำมาพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลของตนเองต่อไป
เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ท่ีไม่ใช่แค่เกรดหรือคะแนน แต่เป็นสิ่งที่นักเรียนเปลี่ยนไปหลังจากได้เรียนกับครู รวมถึงเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองของนักเรียนต่อไป
โดยได้ทำทั้ง version online -> inksru.com/evaluation
และ offline -> inskru.com/idea/-M-ckpgQbgTvCjE0GS1i (สามารถสรุปออกมาเป็น Report หน้าเดียว)
เสียงสะท้อนหลังจากที่ คุณครู ได้ทดลองนำไปใช้ :)
สุดท้ายนี้หวังว่า เสียงของนักเรียนจะดังขึ้น สิ่งที่คุณครูได้ตั้งใจทำในห้องเรียนจะถูกมองเห็น
และเป็นการประเมินที่มีความหมาย ที่ทั้งคุณครูและนักเรียนได้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน
ด้วยรักจากทีมงาน insKru
ผู้พร้อม support ทุกการเดินทางของคุณครู
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!