icon
giftClose
profile
frame

นำเสนอตัวชี้วัด ร.ร.ปทุมคงคา กทม.การศึกษายกกำลัง ๒

11881
ภาพประกอบไอเดีย นำเสนอตัวชี้วัด ร.ร.ปทุมคงคา กทม.การศึกษายกกำลัง ๒

การบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) ของโรงเรียนปทุมคงคา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ยกกำลังสอง ยกกำลังที่ ๑ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงที่สุด ยกกำลังที่ ๒ จำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ประสบความสำเร็จจึงขอนำเสนอตัวชี้วัด ดังนี้

การบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สถานศึกษาทุกแห่ง ต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจพร้อมดำเนินการตามมาตรการเพื่อให้นักเรียนหรือบุคลากรปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-๑๙ โดยปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ใน ๕ รูปแบบ ได้แก่ ๑. On Site คือให้มาเรียนตามปกติได้ในพื้นที่ที่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง สำหรับจังหวัดพื้นที่สีเขียว สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ตามปกติ ๒. On Air คือการออกอากาศผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน โดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน สามารถดูได้ทั้งรายการที่ออกตามตาราง และรายการที่ดูย้อนหลัง ๓. Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวนมากที่สุด ๔. On Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ครูกับนักเรียนใช้ร่วมกัน และ ๕. On Hand หากจัดในรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมาไม่ได้ ให้โรงเรียนจัดแบบ On Hand คือจัดใบงานให้กับนักเรียน เป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนรับไปเป็นชุดไปเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยมีครูออกไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นครูคอยช่วยเหลือ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้โรงเรียนจะปิดแต่ต้องไม่หยุดการเรียนรู้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ มีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น ๕๒ โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๔o โรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน ๘โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน ๒ โรงเรียนและโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๒ โรงเรียน มีจำนวนข้าราชการครูและนักเรียนมากที่สุด เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงปริมาณแล้วพบว่า เป็นเขตพื้นที่การศึกษาที่มีโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนข้าราชการครูและมีจำนวนนักเรียน มากที่สุดในประเทศไทย ส่วนในเชิงคุณภาพ พบว่า ผลการทดสอบระชาติการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในประเทศไทย จึงถือได้ว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต ๒ มีความเป็นที่สุดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้พัฒนารูปแบบจึงได้ศึกษาองค์ประกอบหลัก

องค์ประกอบย่อยและตัวชี้วัด ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งผลต่อความสำเร็จดังกล่าว

ที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้พัฒนาตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง ที่จะใช้บริหารสถานศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารสถานศึกษา


จุดประสงค์และเป้าหมาย

         เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) เพื่อให้บรรลุตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง


การออกแบบตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) โดยใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง


ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา

การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management) เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน จึงก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ผูกมัดและตกลงใจ ร่วมกันในการบริหารโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากการนำนโยบายการศึกษาตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ และนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษา มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในการประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นหลัก โดยสถานศึกษาจะมีการประชุมโดยมีผู้ที่มีส่วนร่วมเข้ามามีบทบาท เช่น คณะกรรมการในระดับงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนา ร่วมกันสร้าง 

การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management) เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาโดยตรง โดยให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มีอิสระและความคล่องตัวในการตัดสินใจการบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ตัวแทนครู ผู้ทรงคุณวุฒิ สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมครูเก่าโรงเรียนปทุมคงคา มีส่วนร่วมกันบริหารสถานศึกษา ร่วมกันคิดวางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยการเสวนา หาฉันทามติในการวางเป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครองให้มากที่สุด ทั้งนี้การบริหารจัดการที่รับผิดชอบร่วมกันตามภาระงานของสถานศึกษานั้น จะทำให้เกิดความเป็นเจ้าของและทำให้ผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับได้ โดยการดำเนินการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์นโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา โดยดำเนินการดังนี้

๑. ศึกษานโยบาย ในระดับต่าง ๆเพื่อใช้เป็นทิศทางและเป้าหมายในการปฏิบัติงานของโรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารสถานศึกษาได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยศึกษานโยบายในระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้   

   ๑) นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ

   ๒) นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   ๓) นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒

   ๔ นโยบายของโรงเรียนปทุมคงคา 

๒. ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา โดยดำเนินการดังนี้

    ๒.๑ ศึกษาเอกสาร ข้อมูลต่าง ๆ จากรายงานการประเมินการประกันคุณภาพภายนอกรอบห้า รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ และปีการศึกษา ๒๕๖๔ และรายงานผลการดำเนินการตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ

    ๒.๒ ศึกษานโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา

   ๒.๓ ร่างตัวชี้วัดความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating scale) ซึ่งประกอบด้วย ๑) ด้านผู้เรียน ๒) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓) ด้านสถานศึกษา และ ๔) ด้านระบบบริหารจัดการศึกษา  

    ๒.๔ จัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ทั้งวิชาการ งบประมาณ บุคคล และบริหารทั่วไป คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมครูเก่าโรงเรียนปทุมคงคา ตลอดจนหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา โดยการจัดประชุมร่วมกันในเชิงวิชาการ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางเพิ่มหรือลดร่างตัวชี้วัดความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง ของโรงเรียนปทุมคงคา รวบรวมความเห็นฉันทามติกัน (Consensus) และร่วมกันบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ ๒ สร้างรูปแบบและเครื่องมือในดำเนินงานตามการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) โดยใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง

๑. วิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของสถานศึกษาที่ได้นำหลักการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management : SBM) จนประสบความสำเร็จ โดยพบว่า 

การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด

๒. ศึกษาเอกสารหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Base Management : SBM) และ การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Participation Management)

๓. สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง

๔. สร้างเครื่องมือตัวชี้วัดการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง

๕. ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปทุมคงคาเพื่อยืนยันรูปแบบ และเครื่องมือการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง

ขั้นตอนที่ ๓ ดำเนินงานตามรูปแบบ และเครื่องมือการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง โดยมีขั้นตอน ๖ ขั้นตอน ดังนี้

๑. การวางแผน (Plan)

การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญในการบริหารสภานศึกษา เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้กำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้สถานศึกษาดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ การวางแผนเป็นขั้นตอนแรกและสำคัญที่สุด โดยโรงเรียนปทุมคงคาได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน

ปทุมคงคา ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด (Indicators) การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง เพื่อให้แสดงถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ๑) ด้านผู้เรียน 

๒) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓) ด้านสถานศึกษา และ ๔) ด้านระบบบริหารจัดการศึกษา

๒. การจัดการองค์การ (Organization)

คณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของโรงเรียนปทุมคงคา มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาร่วมกันจัดระเบียบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานในด้านต่าง ๆ โดยมีการกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินการตามภารกิจต่าง ๆ ของโรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทฺธิภาพ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งประกอบไปด้วย ๔ กลุ่มงาน คือ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป เพื่อกำหนดตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง ในด้าน ๑) ด้านผู้เรียน ๒) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓) ด้านสถานศึกษา และ ๔) ด้านระบบบริหารจัดการศึกษา

๓. การอำนวยการ (Director) 

คณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของโรงเรียนปทุมคงคา กระจายอำนาจในการอำนวยการโดยใช้กระบวนการแจ้งบุคคลในแต่ละคณะถึงสิ่งที่ต้องกระทำ ต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากหน้าที่ต่าง ๆ ในความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ในการบริหารกิจกรรมหรือโครงการ องค์ประกอบของการอำนวยการประกอบไปด้วย แรงจูงใจ (Motivation) การติดต่อสื่อสาร (Communication) และความเป็นผู้นำ (Leadership) โดยประธานในแต่ละคณะทำงานจะต้องพิจารณาและประสานงานหรือสั่งการให้กับกรรมการผู้รับผิดชอบไปปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามที่กำหนด  

๔. การนำแผนไปปฏิบัติ (Do)

ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา โยการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในกลุ่มงานวิชาการ งบประมาณ บุคคล และบริหารทั่วไป คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา สมาคมครูเก่าโรงเรียนปทุมคงคา นำไปสู่การปฏิบัติ โดยร่วมกันเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนใน

การดำเนินการตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ที่กำหนดไว้จนบรรลุผลสำเร็จ โดยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 

๑. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนในการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรม โดยการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน จัดประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เป็นต้น

๒. จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงานโครงการและกิจกรรม ของโรงเรียนปทุมคงคาในลักษณะการบูรณาการเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมให้มีการประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

๕. การประเมินผล (Evaluation)

ในการติดตามการวัดและประเมินผล คณะกรรมการบริหารงานทั้ง ๔ ฝ่าย งานวิชาการ บุคคล งบประมาณ งานบริหารทั่วไป รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนปทุมคงคา ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงาน / โครงงาน ในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง ประเด็นของนโยบาย ระยะเวลาในการประเมิน และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้การติดตามและประเมินผลมีมาตรฐานและเชื่อมโยงกัน มุ่งเน้นการประเมินตามนโยบายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน ตลอดจนนำข้อมูลมาใช้วางแผนงาน อัตรากำลัง งบประมาณ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องติดตามและประเมินผลแผนงาน โคงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์ของการดำเนินงานเป็นหลัก ตรวจสอบคุณภาพและการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ

๖. การปรับปรุงและพัฒนา (Development)

นำผลที่ได้จากการติดตามในการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกกรม และประเมินผลตามตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

จากขั้นตอนดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ได้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ส่งผลให้คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนปทุมคคาพัฒนาขึ้นเป็นลำดับบังเกิดผลอย่างเด่นชัดและเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชน

ในการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนปทุมคงคา ได้มีการกระจายอำนาจการบริหารและมีโครงสร้างการบริหาร ๔ กลุ่มบริหาร ประกอบไปด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป โดยมีผลการวิเคราะห์การดำเนินงานในปีการศึกษา ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ที่ผ่านมา พบว่า การแบ่งโครงสร้างการบริหารตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕ และมาตรา ๓๙ วรรคสอง และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕o ได้ระบุวิธีการ พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจและการบริหารการจัดการศึกษา ระดับเขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านวิชาการ ๑๗ ข้อ ๒)ด้านงบประมาณ ๒๒ ข้อ ๓) ด้านการบริหารงานบุคคล ๒o ข้อ และ ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไป ๒o ข้อ ซึ่งมีรายละเอียดจำนวนมาก และบริบทของโรงเรียนปทุมคงคาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จึงต้องมีตัวชี้วัดระบุความสำเร็จที่ครอบคลุมการบริหารงานทั้ง ๔ กลุ่มบริหาร เพื่อให้มีการกำกับติดตามคุณภาพการศึกษาได้อย่างทั่วถึง โดยมีการระดมสมองจากคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ วิเคราะห์และหาผลสรุปร่วมกัน เพื่อที่จะวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ครอบคลุมมากขึ้น

กระบวนการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมทั้ง ๔ กลุ่มบริหาร มีกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การจัดองค์การ 3) การอำนวยการ 4) การนำแผนไปปฏิบัติ 5) การประเมินผล และ 6) การปรับปรุงและพัฒนา โดยทุกกลุ่มบริหารงานมีการวางแผนของคณะกรรมการแต่ละกลุ่มร่วมวางแผนและระดมความคิดเห็นให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ในการขับเคลื่อนนโยบาย เมืองหลวงการศึกษายกกำลังสอง จากนั้นก็จะมีการจัดองค์การขึ้นโดยการแต่งตั้งคณะทำงานให้องค์การย่อย ๆ ในการจัดองค์การนั้นก็จะมีการนำผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและมีประสบการณ์ ด้านนั้น ๆ มาเป็นคณะทำงาน เรียกว่าองค์การย่อยของงาน เพื่อให้บุคคล ที่อยู่ในองค์การนำความรู้ ความสามารถของตนมาสร้างสรรค์ พัฒนาและปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานขององค์การหน่วยย่อยนั้น จะมีการคัดเลือกผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่ในองค์การหน่วยย่อยนั้น เป็นไปตามแผนที่ได้ร่วมกันวางแผนไว้ ผู้อำนวยการจะคอยให้การชี้แนะ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือให้การปฏิบัติงานได้ราบรื่น การนำแผนไปปฏิบัตินั้น ผู้ที่ทำหน้าที่อำนวยการ จะต้องมีการกำกับ นิเทศ ติดตาม ทั้งช่วงก่อนระยะเวลาการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และหลังการดำเนินงาน หลังจากนั้นคณะทำงานในองค์การจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดว่าผลงานที่ทำนั้นบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด จากนั้นถอดบทเรียนนำผลการปฏิบัติงานมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานนั้นต่อไป

การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Participation Management) เป็นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการบริหารงานทั้ง ๔ กลุ่มบริหาร มีขั้นตอนในการบริหารงานและดำเนินการทั้งหมด ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การวางแผน - Plan ๒) การจัดองค์การ- Organization ๓) การอำนวยการ – Director 4) การนำแผนไปปฏิบัติ - Do ๕) การประเมินผล - Evaluate และ ๖) การปรับปรุงและพัฒนา – Development เป็นขั้นตอนในการใช้พัฒนาการศึกษาจนทำให้โรงเรียนปทุมคงคาประสบความสำเร็จ ในด้าน ๑) ด้านผู้เรียน ๒) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓) ด้านสถานศึกษา และ ๔) ด้านระบบบริหารจัดการศึกษา ส่งผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการยกย่องและชื่นชมจากผู้ปกครอง และชุมชน


บรรณานุกรม

 โรงเรียนปทุมคงคา. (2558). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563. กลุ่ม

           บริหารงานงบประมาณ โรงเรียนปทุมคงคา.

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)