icon
giftClose
profile

ชวนคิด : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

27973
ภาพประกอบไอเดีย ชวนคิด : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (์Nature of Science) จะจัดการเรียนรู้อย่างไรดี ลองมาทำกิจกรรม: ตกลงเราเป็นอะไรกันค่ะ

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (์Nature of Science) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยบอกว่าการชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมที่ทำมีNOS อย่างไรจะทำให้เข้าใจNOS ดีขึ้น ดังนั้นหญิงเลยนำความรู้ที่เคยเรียนมา สร้างกิจกรรมนี้ขึ้นมาค่ะ

ชื่อกิจกรรม : ตกลงเราเป็นอะไรกัน

ระดับชั้นที่สอน: ม.4 รายวิชาชีววิทยา

เริ่มกิจกรรม

คือชวนคุยเกี่ยวกับสิ่งของ เพื่อทำความคุ้นเคยเเละสามารถประเมินความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของนักเรียนได้ค่ะ เช่นยกตัวอย่างภาพน้ำอัดลม : วิทยาศาสตร์ในน้ำอัดลมคือ กรดคาร์บอนิก ,แก๊ส, กินเเล้วเรอ, มีสูตรไม่มีน้ำตาล กินแล้วไม่อ้วน ซึ่งตามเเต่นักเรียนจะตอบ ครูผู้สอนขอเพียงเเค่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลให้นักเรียนตอบตรงประเด็น เเละรับฟังให้มากที่สุด

ขั้นกิจกรรม

นำเสนอภาพกิจกรรมืnature of Science foot print ให้นักเรียนเห็นค่อยๆเห็นทีละส่วนเเล้วนำเสนอภาพรวม ควรทิ้งระยะให้นักเรียนใช้ทักษะการสังเกต และเว้นระยะให้คิด

จากนั้นครูค่อยๆระดมความคิดจากการถามคำถามตามลำดับ (คำถามอยู่ในไฟล์เเนบนะคะ) จากการที่ลองทำกิจกรรมมาเเล้ว นักเรียนมีเเนวคิดที่ถือว่าดีมาก พยายามหาสัตว์ที่มีในปัจจุบันที่มีรอยเท้ามาเทียบ ]ลองเดินตามก้าวเดินในภาพ ดูระยะห่างก้าวคคนตัวเล็ก ตัวใหญ่ (ระยะก้าวห่าง= ตัวต้องใหญ่) หรือเเม้เเต่สัตว์อาจจะต่อสู้กัน สัตว์โดนกิน หรรือเเม้เเต่สัตว์เป็นตัวผู้ ตัวเมีย ผสมพันธ์เเล้วโดนอีกตัวกิน ซึ่งคือพื้นฐานเเต่ละคนต่างกันตามที่ดูสารคดี หรืออเรียนมา เเละเเลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างกัน สนุกมากค่ะ แต่ก็เสียงดังมากเช่นกัน ส่วนตัวหญิงคิดว่าห้องเรียนควรส่งเสียง เพราะการสื่อสารสองทางคือการเรียนรุ้ที่สำคัญ ซึ่งส่วนนี้สิ่งที่ควรมีไม่ใช่ความรู้ที่มีของครู เเต่เน้นไปที่การดึงความคิดของนักเรียนออกมา ซึ่งเเน่นอนอาจจะไม่ดีเท่าคนมีประสบการณ์ หรือตรงใจครู เเต่ควรตามประสบการณ์นักเรียน

ขั้นสรุป

หลังจากร่วมกันสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นเเล้ว ครูควรสะท้อนผลการทำกิจกรรมว่าในวันนี้นักเรียนได้เเสดงการมีธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในตัวออกมา ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสังเกต ทักษะการตั้งสมมุติฐาน คาดการณ์ที่ดี สามารถนำเหตุผลมาอธิบายเเละโต้เเย้งได้ โดยปราศจากอารมณ์ (เน้นโต้แย้ง ไม่เท่ากับ เถียง) ซึ่งความรู้วิทยาศาสตรืที่นักเรียนจะศึกษาต่อไป ก็มาจากนักวิทยาศาสตร์ที่เคยทำแบบเดียวกันกับนักเรียนมาก่อน ความรู้เปลี่ยนแปลงได้ตามหลักฐานที่มีเเละยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เเละพยายามดึงทักษะเหล่านั้นมาใช้ต่อไป


สุดท้ายขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านกันนะคะ ขอบคุณมากๆ เเละหวังว่าจะมีประโยชน์


ขอบคุณที่มาของภาพเเละเเนวคำถาม จาก nap.edu/read/5787/chapter/7 เเละ slideplayer.com/slide/4767909



ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 5

ชื่อไฟล์​: Slide7.JPG

ดาวน์โหลดแล้ว 77 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(6)
เก็บไว้อ่าน
(1)