icon
giftClose
profile

เกม The Earth เรียนออนไลน์ก็เล่นเกมได้นะ

20881
ภาพประกอบไอเดีย เกม The Earth เรียนออนไลน์ก็เล่นเกมได้นะ

ลักษณะเป็นกิจกรรมคล้ายๆบอร์ดเกมแต่เป็นเกมเล่นคนเดียว เก็บคะแนนมาแข่งขันกัน ตัวเกมสร้างขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนสามารถเล่นเกมในห้องเรียนได้แม้จะเรียนออนไลน์ กิจกรรมโดยรวมจะเป็นเกมที่ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างโลก ซึ่งได้ไอเดียมาจากการอบรม การสร้างบอร์ดเกม ของสสวท โดยเพจ Boss lab board Game ครับ

แนะนำไอเดีย

ตัวเกมเกิดขึ้นมาจากความอยากแก้ปัญหาการที่ไม่สามารถใช้บอร์ดเกมแบบเดิมที่เคยเล่นในห้องเรียนแบบออนไลน์ได้ เนื่องจากเกมปกติส่วนใหญ่จะเป็นการ์ดหรือเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้เล่นกัน ประกอบกับในช่วงนั้นมีการจัดการอบรมการสร้างบอร์ดเกมในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีการสาธิตนำตัวอย่างเกมมาเล่นในลักษณะออนไลน์ โดย สสวท.และเพจ Boss lab board game พอดี จึงเกิดไอเดียการสร้างเกมนี้ขึ้นมา ที่เป็นเกมที่มีจุดประสงค์ให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาการแบ่งชั้นโครงสร้างโลกที่มีการแบ่งโดยใช้องค์ประกอบทางเคมี พร้อมกันกับได้ใช้ทักษะต่างๆในการแก้ปัญหา และเอาชนะภารกิจของเกม เ่ช่น การวางแผน ไปด้วยครับ

.

ธีมเกมจะสร้างสถาณการณ์ให้ผู้เล่นได้รับบทบาทเป็นผู้นำภารกิจในการสร้างโครงสร้างโลกขึ้นมา โดยจะต้องไปเลือกนักขุดเหมืองที่มีระดับแตกต่างกันมาเป็นผู้ช่วยในแต่ละรอบเกมเพื่อขุดแร่จำเป็น แล้วนำมาสร้างเป็นโครสร้างโลกชั้นต่างๆ

.

เกมใช้เวลาเล่นประมาณ 30-40 นาที สามารถเล่นได้ทั้งนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย

.

อุปกรณ์ไปประกอบไปด้วย

  1. ตารางเกม
  2. การ์ดนักขุดเหมือง
  3. การ์ดคำถาม
  4. แผ่นตารางแต้ม
  5. ตารางการเก็บโบนัส
  6. ลูกเต๋า 1 ลูก

.

วิธีการเล่น

กติกาคร่าวๆ เกมจะเล่น 2 รอบ แต่ละรอบจะแบ่งการเล่นเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงเลือกนักขุดเหมือง ช่วงที่ 2 เป็นช่วงวางนักขุดเหมืองในตาราง ช่วงที่ 3 เป็นช่วงเก็บธาตุที่ได้เป็นแต้ม จากการพิจารณาเงื่อนไขการเก็บธาตุเพื่อสร้างเป็นโครงสร้างโลก รอบที่ 2 จะเล่นเช่นเดียวกับรอบที่ 1 แต่จะไม่นำคนงานขุดเหมืองที่วางในตารางแล้วในรอบที่ 1 ออกไป ก็คือสามารถใช้ซ้ำได้นั้นเองครับ เมื่อจบเกมจะทำการรวมคะแนนทั้งหมด ผู้เล่นที่ได้คะแนนมากที่สุดถือเป็นผู้ชนะ

.

1. ผู้เล่นทำการเลือกนักขุดเหมือง โดย ตัวเลือกในการเลือก จะมีการ์ดนักขุดเหมือง 8 ใบ 4 คู่ คู่ที่ 1 คือใบหมายเลข 1 และหมายเลข 2 คู่ที่ 2 คือใบหมายเลข 3 และหมายเลข 4 ตามลำดับไปเรื่อยๆจนถึงใบที่ 8 ให้ผู้เล่นเลือก การ์ดนักขุดเหมือง 1 ใบจากแต่ละคู่ จะได้การ์ดนักขุดเหมืองทั้งหมด 4 ใบ

*สัญลักษณ์ด้านล่างการ์ดนักขุดเหมือง คือ จำนวนนักขุดเหมืองในการ์ดใบนั้น



2. นำการ์ดนักขุดเหมืองที่ได้ มาวางลงในกระดานเกม โดยในการวางจะสามารถสลับ แนวขึ้นบนลงล่างซ้ายขวาหน้าหลังได้ เช่นถ้าแนวเป็น ช่องสี่เหลี่ยม 3 ช่องในแนวนอนสามารถนำมาวางในแนวตั้งได้ ในการวางลงกระดานจะเป็นการเขียนเลขเลเวลนักขุดเหมืองลงในตาราง เช่น

3. เก็บธาตุ และ การ์ดสุ่มคำถาม จากการพิจารณาเงื่อนไขในการเก็บธาตุและการ์ดสุ่มคำถาม

โดยในการเล่นให้เก็บธาตุ และ การ์ดสุ่มคำถามตามเงื่อนไขดังนี้

เงื่อนไขการเก็บธาตุ

3.1 หากมีกลุ่มนักขุดแร่ที่มีสมาชิกมากที่สุดในกระดาน เป็นนักขุดแร่เลเวล 1 และ 2 จะได้ธาตุเลเวล 1 จำนวน 1 อัน หรือจะได้ธาตุเลเวล 3 1 อัน ต่อเมื่อนักขุดแร่ที่มีสมาชิกมากที่สุดเป็นนักขุดเลเวล 3 และอยู่ติดกับเหมืองเลเวล 3 ด้วย

*ธาตุเลเวล 1

*ธาตุเลเวล 3

3.2 เมื่อนักขุดแร่ล้อมเหมืองได้ จะได้ธาตุเลเวลเท่ากับเหมืองนั้นจำนวน 2 อัน ทันที

3.3 มีนักขุดแร่เลเวลเดียวกัน 3 คนขึ้นไป อยู่ติดเหมือง จะได้ธาตุเลเวลเท่ากับเหมืองนั้น จำนวน 1 อัน

3.4 มีนักขุดแร่เลเวลเดียวกัน 2 คน อยู่ติดเหมือง จะมีโอกาสได้ธาตุเลเวลเท่ากับเหมืองนั้น จำนวน 1 อัน เมื่อสุ่มทอยลูกเต๋าได้ตัวเลข 2 3 หรือ 6 จากลูกเต๋า

เงื่อนไขการเก็บการ์ดคำถาม

3.5 มีนักขุดแร่เลเวลเดียวกันมากกว่า 1 คน อยู่ติดช่อง ? จะได้บัตรสุ่ม 1 ใบ

3.6 มีนักขุดแร่ต่างเลเวลอยู่ติดกัน 3 คนขึ้นไป จะได้บัตรสุ่ม 1 ใบ ต่อ 3 คน

*การสุ่มบัตรจะทำโดยให้นักเรียนสุ่มจากโปรแกรม random เลข 1-13

4. นำธาตุที่เก็บได้ ใส่ลงในตารางแต้มและแลกการ์ดโครงสร้างโลก หากสามารถเก็บธาตุได้ตามเงื่อนไข

5. สรุปคะแนนที่ได้ทั้งหมด

6. เล่นใหม่อีก 1 รอบโดยเริ่มจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 จะแตกต่างกันในข้อ 1 โดยจะเลือกนักขุดเหมืองจาก การ์ดworker2 แทน

7. จากนั้นนำคะแนนทั้ง 2 รอบรวมกัน ผู้เล่นคนใดได้คะแนนมากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ

.

หลังจากเล่นไปแล้วก็ถือว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ในการเล่นเกมดีครับ เป็นครั้งแรกเลยที่ได้นำเกมมาเล่นในห้องเรียนแบบออนไลน์

ข้อดี นักเรียนพอจะเข้าใจและสนุกกับมันอยู่บ้าง ทำให้บรรยากาศการเรียนออนไลน์ผ่อนคลาย ตัวเกมสามารถเล่นได้ที่บ้าน และจะเล่นตอนไหนก็ได้หากเข้าใจกติกาแล้ว สามารถแทรกทักษะลงไปประกอบการเรียนได้พร้อมๆกับcontent

ข้อเสีย เงื่อนไขการทำคะแนนมีหลายข้อทำให้ดูซับซ้อนและเข้าใจยากในช่วงแรกๆ และในการบรีฟเนื่องจากเป็นออนไลน์และนักเรียนเป็นนักเรียน ม.4 ซึ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาใหม่ทำให้ในห้องเรียนยังไม่คุ้นเคยกัน จึงทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากอยู่กันคนละสถานที่ อาจต้องใช้ทักษะในการอธิบายที่มากขึ้นพอสมควร อาจแก้ไขด้วยการลดเงื่อนไขในการเก็บคะแนนลงก็อาจจะช่วยได้ครับ ทักษะที่ต้องการให้นักเรียนได้รับยังไม่ชัดเจนนัก

.

แชร์ไว้เป็นไอเดียเล็กๆเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆได้นำไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 10

ชื่อไฟล์​: แผ่นตารางแต้ม.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 37 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(14)
เก็บไว้อ่าน
(5)