inskru
gift-close

ชุดตรวจสอบตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า

2
0
ภาพประกอบไอเดีย ชุดตรวจสอบตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า

การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้สังเกต คิด และลองลงมือทำ เพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งในสัปดาห์นี้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ฝึกคิดและสนุกไปกับการค้นหาวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าและนำความรู้มาออกแบบและประดิษฐ์ชุดตรวจสอบ ที่สามารถจำแนกตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าได้

เนื้อหา

ชุดตรวจสอบที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นใช้หลักการทำงานของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย สามารถนำมาใช้ตรวจสอบและจำแนกวัสดุรอบตัวได้ โดยนักเรียนจะสังเกตความสว่างของหลอดไฟ ซึ่งจะพบว่า

  • วัสดุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะทำให้หลอดไฟสว่าง เรียกว่า “ตัวนำไฟฟ้า” เช่น เหล็ก ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม 
  • วัสดุที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะทำให้หลอดไฟไม่สว่างเรียกว่า “ฉนวนไฟฟ้า” เช่น แก้ว กระดาษ ผ้า พลาสติก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เมื่อนักเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า จะสามารถนำความรู้มาออกแบบสวิตซ์ไฟอย่างง่ายๆ เพื่อใช้ในวงจรไฟฟ้า และสุดท้ายนักเรียนจะนำความรู้มาออกแบบและลงมือทำสิ่งประดิษฐ์ที่มีวงจรไฟฟ้าและสวิตช์เป็นของเกม ของเล่นหรือของใช้ต่อไป 


กระบวนการเรียนรู้

  1. ครูจุดประกายความสนใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนสังเกตสิ่งประดิษฐ์ที่มีวงจรไฟฟ้าที่ครูนำมาให้ดู เพื่อสังเกตการต่อวงจรไฟฟ้าที่ทำให้หลอดไฟสว่าง และทำความรู้จักชื่ออุปกรณ์ไฟฟ้า คือ หลอดไฟ สายไฟ รางถ่าน และกระจุ๊บ
  2. นักเรียนสังเกตลักษณะของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอุปกรณ์ และลองต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อทำให้หลอดไฟสว่างตามโจทย์ที่ได้รับ เพื่อที่ทำให้หลอดไฟสว่าง ซึ่งนักเรียนจะต้องสาธิตและอธิบายวิธีการต่อวงจรที่ทำให้หลอดไฟสว่างได้ในแต่ละวิธี 
  3. นักเรียนนำความรู้เรื่องการต่อวงจรไฟฟ้าที่ทำให้หลอดไฟสว่าง มาคิดออกแบบวงจรไฟฟ้าและพัฒนาวงจรไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบการนำไฟฟ้าของวัสดุต่างๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
  4. นักเรียนลงมือประดิษฐ์ชุดตรวจสอบที่มีความสร้างสรรค์สวยงาม และพกพาได้สะดวก เพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบวัสดุรอบตัว 
  5. นักเรียนชุดตรวจสอบที่ตนประดิษฐ์ขึ้น มาตรวจสอบวัสดุรอบตัว สีงเกตความสว่างของหลอดไฟ เพื่อจำแนกวัสดุตามการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า โดยวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า จะทำให้หลอดไฟสว่าง และวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า จะทำให้หลอดไฟไม่สว่างนั่นเอง
  6. นักเรียนบันทึกผลการตรวจสอบและจัดกลุ่มวัสดุออกเป็น ตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า 
  7. ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงลักษณะสำคัญของวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า
  8. นักเรียนเขียนสรุปความรู้ของตนเอง เกี่ยวกับ ตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า 

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทยาศาสตร์ทักษะความคิดสร้างสรรค์วงจรไฟฟ้าวิทย์ยายุทธเทคนิคการสอนประถม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูไก่
    สอนสนุก เน้นการคิด และลงมือทำ นำไปใช้ได้จริง

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ