การไม่ให้ความสนใจต่อพืช (Plant blindness) ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งจะมีการเกิดขึ้นในห้องเรียนครับ แต่เป็นเรื่องที่มีการศึกษามานานและมีระดับครอบคลุมถึงผู้คนในชีวิตประจำวันด้วย ศัพท์คำนี้ได้ถูกนิยาม โดยคุณ Wandersee และ Schussler ตั้งแต่ปี 1999 ว่า
"Plant blindness หมายถึง การละเลยหรือไม่เล็งเห็นความสำคัญ ของพืชทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การไม่เห็นคุณค่าของพืชมีผลกระทบต่อการเรียนรู้เรื่องพฤกษศาสตร์ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนให้ความสนใจการศึกษาทางพฤกษศาสตร์น้อยกว่าสัตววิทยา"
(คลิปศึกษาเพิ่มเติม youtube.com/watch?v=vMCBC2LkPpE&ab_channel=BBCIdeas)
ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่พืชไม่สามารถขยับและทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ หรือแม้กระทั่งตาของมนุษย์ที่ออกแบบให้มองสีเขียวกลืนกลายเป็นพื้นหลัง ทำให้แม้เราจะรู้ว่าพืชเป็นสิ่งมีชีวิต แต่การสนใจพืชก็ยังคงน้อยกว่าสัตว์ เราไม่เห็นในคุณค่า และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของพืชเท่าที่ควร จึงไม่แปลกเลยครับว่าทำไมแม้แต่ครูชีววิทยาหลายท่านก็ยังอี๋ทุกครั้งเมื่อต้องสอนเรื่องพืช ._.
จากการทำสัมมนาในขณะเรียนปริญญาตรีในวิจัยเรื่อง The Pet Plant Project: Treating Plant Blindness by Making Plants Personal (Krosnick, Ramey & Baker, 2018) ใน The American Biology Teacher Vol. 80
ทำให้ผมค้นพบว่าการให้นักเรียนได้เลี้ยงและมีปฏิสัมพันธ์กับพืชโดยการเปรียบพืชเสมือนกับสัตว์เลี้ยง จะทำให้นักเรียนมีความสนใจต่อพืชและต่อการเรียนพฤกษศาสตร์เพิ่มขึ้นจริง จึงเป็นที่มาของการนำ The Pet Plant Project มาทดลองปรับใช้การเรียนในรายวิชาชีววิทยาที่รับผิดชอบในภาคเรียนนี้
การใช้ The Pet Plant Project ในห้องเรียน
จากการทดลองใช้มาหนึ่งเดือนพบว่ามีนักเรียนหลายคนเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับต้นไม้มากขึ้นทำให้ในขณะเรียนเรื่องโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ความสนใจขณะเรียนก่อนและหลังจากการศึกษาต้นไม้ของเขาเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด
หวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณครูชีววิทยาที่ต้องสอนพฤกษศาสตร์ในเทอมนี้
มาทำให้นักเรียนของเรารักในการเรียนเรื่องพืชกันนะครับ
สมส่วน
*ปล. หากต้นไม้เกิดอันเป็นไปสามารถให้นักเรียนเลือกต้นไม้ใหม่ได้ครับ บางครั้งคู่กรณีก็มาในรูปแบบที่คาดไม่ถึง*
ตัวอย่างเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากนักเรียน T^T
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!