icon
giftClose
profile

ทำไมเราตบแมลงวันไม่เคยทันสักที?

7261
ภาพประกอบไอเดีย ทำไมเราตบแมลงวันไม่เคยทันสักที?

หลายคนมองว่าแมลงวันเป็นสัตว์ไม่พึงประสงค์ เพราะไม่เพียงจะสร้างความรำคาญ แต่ยังเป็นพาหะนำโรคร้ายต่างๆ อีกด้วย เคยมั้ยที่อยากจะจับมันแต่ก็ไม่ทันสักที ดูเหมือนพวกมันจะรู้ตัวบินหนีไปได้เสียก่อน แมลงวันมีกลไกอะไร มันมีความสามารถพิเศษอะไรรึเปล่า ที่ทำให้สามารถหนีได้อย่างรวดเร็ว มาร่วมหาคำตอบไปพร้อม


การเรียนรู้จากความสงสัยผ่านเรื่องราวรอบตัวของเด็กๆ จะสามารถสร้างการเรียนรู้ได้อย่างไร มาๆ มาติดตามไปพร้อมกัน



ขั้นนำ >> เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยความสงสัย


ณ ห้องเรียนวิทย์ยายุทธ

.

เด็กคนหนึ่งถามด้วยความสงสัยว่าทำไมเราตบแมลงวันไม่เคยทันสักที?

.

จากคำถามสู่การเรียนรู้ วู้ววว

.

จอมยุทธ์กระต่ายเลยชวนเด็กๆ คิดและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน จากสิ่งที่ทุกคนรู้ และเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ แชร์ความคิดเห็นร่วมกัน

.

“มันต้องบินไวมากแน่ๆ เลย”

“หรือมันไวต่อแรงสั่นสะเทือนนะ”


Tip : ในขั้นนี้คุณครูสามารถช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการชวนเด็กๆ ตั้งคำถามไปพร้อมๆ กัน หรือสร้างพื้นที่ให้เด็กๆ ได้ตั้งคำถามที่ตนเองสงสัย และแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงคำตอบที่อาจเป็นไปได้จากคำถาม หรืออาจกระตุ้นการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการให้เด็กๆ ได้ดูสื่อเพิ่มเติม เช่น วิดีโอ รูปภาพ



ขั้นค้นหาและเรียนรู้ >> ค้นหาข้อมูล สังเกต วิเคราะห์ แบ่งปัน เพื่อเรียนรู้และหาคำตอบของคำถามที่สงสัย


จากคำถามที่สงสัยสู่การเรียนรู้

.

นำไปสู่จุดเริ่มต้นในการเดินทางเพื่อหาคำตอบ

.

จอมยุทธ์กระต่ายพาเด็กๆ ออกเดินทางสำรวจ เพื่อสังเกตเจ้าแมลงวันเพื่อหาคำตอบที่ว่า ทำไมเราตบแมลงวันไม่เคยทันสักที?

.

หลังจากสังเกต เด็กๆ บันทึกสิ่งที่ได้สังเกตและเรียนรู้จากเจ้าแมลงวัน และแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน 


Tip : ในขั้นนี้ครูสร้างพื้นที่ให้เด็กๆ ได้ลองหาข้อมูลและสังเกตจากสิ่งที่ต้องการหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง และครูคอยเสริมข้อมูลที่จำเป็นให้กับนักเรียนเป็นระยะๆ



ขั้นสรุป


ได้เวลาสรุปและสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกันแล้วล่ะ

.

แมลงวันจะมีเซลล์รับแสง 2 ชนิด โดยชนิดหนึ่งอยู่ในตาของแมลงวันที่เรียกว่า เซลล์รับแสงไมโครวิลลาร์ ส่วนอีกชนิดคือเซลล์รับแสงรูปแท่งและรูปกรวยซึ่งเป็นเซลล์รับแสงที่พบในตาของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

.

โครงสร้างไมโครวิลลาร์ของแมลงวัน มีความไวในการตอบสนองมากกว่า ดังนั้นเวลาที่เราพยายามตบแมลงวัน สายตาฉับไวของมันจึงทำให้มองเห็นเราและหนีไปได้โดยง่าย

.

และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เราจัดการเจ้าแมลงวันไม่ทันสักที

.

สรุปสุดท้าย อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ท้ายสุด 

.

คุณครูอาจใช้ขั้นนี้ในการชวนเด็กๆ คิดและจินตนาการต่อว่าสามารถสร้างนวัตกรรมที่ช่วยลดความน่ารำคาญของเจ้าแมลงวันได้อย่างไรบ้าง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของแมลงวันด้วย 


Tip : ครูอาจใช้พื้นที่ในการชวนเด็กๆ สรุปร่วมกัน และอธิบายเสริมในส่วนที่เด็กๆ ยังเข้าใจผิด และตรวจสอบความเข้าใจผ่านคำถามอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเด็กๆ อีกครั้ง


ขั้นสะท้อน


ชวนเด็กๆ สะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ อาจจะไม่ใช่ในแง่มุมของวิชาการเพียงอย่างเดียว ครูอาจเสริมในมุมของความรู้สึก อารมณ์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในขณะที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้


" หนูได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมค่ะ "

" ผมหงุดหงิดมากเลยครับ ตอนที่กำลังสังเกตแมลงวัน พอผมจะดูมัน มันก็บินหนี"


นอกจากคุณครูจะได้เห็นความเข้าใจในการเรียนรู้ของเด็กๆ แล้ว อาจจะได้มุมมองน่ารักๆ ของเด็กๆ ที่จะทำให้คุณครูใจฟูและมีแรงสอนในทุกๆ วันด้วยค่ะ


การเรียนรู้ไม่ใช่เพียงการเรียนจากหนังสือ หรือตัวหนังสือบนกระดานที่ครูบอกให้จด

แต่การเรียนรู้คือการเปิดโลกกว้างให้เด็กๆ ได้ออกไปผจญภัย

ว่าโลกใบนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ในหนังสือที่เขาเรียน




สัณห์สิรี จงภู่ (ซอ)

ใช้ชีวิตด้วย "ใจบันดาลแรง"















รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)