icon
giftClose
profile

สนามไฟฟ้า กับ ฉลามหัวค้อน

13233
ภาพประกอบไอเดีย สนามไฟฟ้า กับ ฉลามหัวค้อน

สนามไฟฟ้ากับฉลามหัสค้อน

สนามไฟฟ้า

         สนามไฟฟ้าคือแนวของเส้นสัมผัสกับเส้นแรงไฟฟ้า ดังนั้น สนามไฟฟ้าจะออกจากประจุบวกและเข้าหาประจุลบเหมือนเส้นแรงไฟฟ้า 

การหาสนามไฟฟ้ารอบๆ จุดประจุที่ตำแหน่งใด ทำได้โดยนำประจุทดสอบ +q ไปวางไว้ที่ตำแหน่งนั้น นอกจากจะมีแรงจากจุดประจุกระทำต่อประจุทดสอบนั้นแล้ว ยังมีแรงที่ประจุทดสอบกระทำต่อจุดประจุด้วย

ภาพ เปลวเทียนในสนามไฟฟ้า

ที่มา ภาพจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

 

จากภาพการทดลองเราจะเห็นว่าเปลวเทียนเอียงไปอีกด้านหนึ่ง นั่นเป็นเพราะเส้นแรงสนามไฟฟ้าผ่านบริเวณที่จุดเทียนไว้ เมื่อนำไปวางในบริเวณที่มีเส้นแรงไฟฟ้าทำให้เกิดสนามไฟฟ้าผ่านเปลวเทียน จึงมีผลการทดลองดังในภาพ

         เราอาจจะลองตอบคำถามสั้นๆ 2 ข้อ ดังนี้

1.     สนามไฟฟ้าของประจุไฟฟ้ามีทิศทางเป็นอย่างไร

2.     สนามไฟฟ้าของประจุไฟฟ้ากับแผ่นคู่ขนานมีทิศทางเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

                       จากความรู้เรื่องเส้นแรงไฟฟ้าเราสามารถตอบได้ว่า สนามไฟฟ้าของจุดประจุไฟฟ้ามีทิศทางตั้งฉากกับผิวตัวนำ มีทั้งที่เข้าสู่จุดประจุและพุ่งออกจากจุดประจุแต่เส้นแรงไฟฟ้าของสนามไฟฟ้าจะตั้งฉากกับผิวตัวนำเสมอ และเส้นแรงไฟฟ้าออกจากขั้วบวก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับสนามไฟฟ้าดังนั้น สนามไฟฟ้าของจุดประจุไฟฟ้ากับสนามไฟฟ้าบนแผ่นคู่ขนานมีทิศทางเหมือนกันโดยเส้นแรงของสนามไฟฟ้าจะต้องตั้งฉากกับผิวของตัวนำเสมอ ทั้งแผ่นคู่ขนานและประจุทรงกลม ดังแสดงในภาพ


รู้จักฉลามหัวค้อน

ฉลามถือได้ว่าเป็นนักล่าแห่งท้องทะเล แต่ไม่ใช่ว่าฉลามจะล่าปลาในท้องทะเลทุกชนิด แต่ฉลามจะเลือกเหยี่อที่ดูเหมือนว่าจะอ่อนแอก่อนที่จะเข้าจู่โจม ฉลามเป็นสัตว์ที่มีมาแต่ในยุคดึกดำบรรพ์เพราะมีการพบซากของฉลาม ซึ่งขนาดของฉลามไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ฉลามขนาดเล็กยาวเพียงไม่ถึงเมตร จนถึงฉลามวาฬที่มีขนาดใหญ่ความยาวเฉลี่ยถึง 14 เมตร


ภาพ เปรียบเทียบฉลามสายพันธุ์ต่างๆ

ที่มา th.wikipedia.org

สำหรับฉลามหัวค้อนมีขนาดเฉลี่ย 2.5 ถึง 4 เมตร ถือว่าเป็นฉลามที่มีความรวดเร็วในการล่าเหยื่อได้ดี เพราะฉลามหัวค้อนมีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือคล้ายค้อนทั้งสองข้าง ที่ปลายของทั้งสองข้างในส่วนหัวที่แบนราบนั้นจะมีดวงตาอยู่สุดปลาย  



ภาพ ตาของฉลามหัวค้อน

ที่มา th.wikipedia.org/wiki/Sphyrna_lewini_aquarium.jpg

 

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่วิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า เป็นส่วนช่วยให้การหาว่ายน้ำ และช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้นและว่ายน้ำได้เร็ว อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงในการไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่นและยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย 


การที่ปลายจมูกนอกจากปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อนๆ มาแล้ว ยังมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับสนามไฟฟ้าอย่างอ่อนได้ ขณะที่มันว่ายใกล้ๆ กับพื้นทรายที่เหยื่อซ่อนตัวอยู่ สนามไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ ที่เหยื่อสร้างขึ้นมาจะทำให้ฉลามหัวค้อนสามารถรู้ตำแหน่งที่เหยื่อซ่อนตัวอยู่ ซึ่งได้ทำการทดลองโดยการนำเหยื่อไปซ่อนในทราย แล้วนำเครื่องตรวจสนามไฟฟ้าซ่อนในบริเวณใกล้เคียง ฉลามหัวค้อนจะสามารถจับเหยื่อได้พร้อมกับการปล่อยสนามไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ มาด้วย



ภาพ การทดลองตรวจสนามไฟฟ้าบริเวณปลายจมูกของฉลามหัวค้อน

ที่มา moodle2.rockyview.ab.ca/mod/book/tool/print/index.php?id=57255&chapterid=31773


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)