เราสามารถเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาสะเทินได้ง่ายๆ คือ : กรด + เบส --> เกลือ + น้ำ
ตัวอย่างเช่น HCl (aq) + NaOH (aq) --> NaCl (s) + H2O (l)
ในการบ่งบอกความเป็นกรด-เบสของสารละลาย เราจะพิจารณาที่ "เกลือ" (Salt) โดยมีหลักการง่ายๆว่า ในสมการเคมี สารใดเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ สารนั้นจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติกรดเบส
ตัวอย่างเช่น สมการ NaOH (aq) + CH3COOH (aq) --> CH3COONa (s) + H2O (l) จากสมการจะเห็นว่า NaOH เป็นเบสแก่ ส่วน CH3COOH เป็นกรดอ่อน จากที่เราเรียนรู้ว่า สารใดเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ สารนั้นจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติกรดเบส ดังนั้น สารละลายที่เกิดขึ้นจะมีคุณสมบัติเป็นเบส ตาม NaOH ที่เป็นเบสแก่
ข้อสรุปของปฏิกิริยาเคมีกรดเบส
กรดแก่ + เบสแก่ = เกลือกลาง , pH = 7 , กระดาษลิตมัสไม่เปลี่ยนสี
กรดแก่ + เบสอ่อน = เกลือกรด , pH < 7 , กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสี น้ำเงิน เป็น แดง
กรดอ่อน + เบสแก่ = เกลือเบส , pH > 7 , กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสี แดง เป็น น้ำเงิน
(หลักการจริงที่ใช้อธิบายคือ การ Hydrolysis ของสมการ แต่เราจะเปลี่ยนจากเคมียากๆให้เป็นเคมีง่ายๆกันภายใน 15 นาที)
ศึกษาเพิ่มเติมดังไฟล์ที่แนบไว้ให้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!