ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้การจัดการเรียนการสอนทางออนไลน์คงจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับทุกคน ยิ่งการทำงานกลุ่มของนักเรียนด้วยแล้วคงเป็นไปได้ยากกว่าจัดกิจกรรมในห้อง ดังนั้น วันนี้จะขอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ PBL เบาๆ ที่เน้นกระบวนการกลุ่มนะคะ
กิจกรรมการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองอุบลราชธานี
เนื้อหาที่เชื่อมโยง : วิชาภาษาญี่ปุ่น ม.5 อิงเนื้อหาหนังสือ Akiko to tomodachi บทที่ 11 เรื่องการเดินทาง
ในบทนี้นักเรียนจะได้เรียนเรื่องการขึ้น-ลงยานพาหนะ ในสถานที่ต่าง ๆ
เตรียมความพร้อมด้านคำศัพท์
ให้นักเรียนเลือกถ่ายวิดีโอคำศัพท์การขึ้น-ลง ยานพาหนะ คนละ 1 คลิป จากนั้นแลกเปลี่ยนกันดูในห้องตามความสนใจ
ตัวอย่างวิดีโอ
เพิ่มเติม : https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1bRNCitnSld0LiejFmUdvQmaRyCT__FIP
เตรียมความพร้อมด้านไวยากรณ์
ก่อนอื่นให้นักเรียนลองคิดรูปแบบการเดินทางจากห้างสรรพสินค้ากลับบ้านตัวเอง โดยครูมีแพตเทิร์นให้ ให้นักเรียนลองแต่งประโยคแล้ววาดรูปประกอบ
(ตัวอย่างรูปภาพการบ้าน)
ครูกำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนคิด
ถ้าหากต้องเป็นไกด์แนะนำคนญี่ปุ่นเที่ยวในจังหวัดอุบลฯ ด้วยบริการขนส่งสาธารณะ นักเรียนอยากจะนำเสนอสถานที่ใด 3 ที่โดยให้นักเรียนคิดเองคนเดียวก่อน จากนั้นครูจับกลุ่มคละนักเรียนเก่ง-อ่อน (Think-Pair-Share และเพื่อนช่วยเพื่อน)นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันในกลุ่ม จากนั้นตกลงสถานที่และวิธีการเดินทางที่จะไป แล้วทำสไลด์นำเสนอโดยผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่าง และข้อมูลรถสาธารณะของจังหวัดไว้พร้อมสนับสนุนนักเรียนด้วย
(ตัวอย่าง google slide นร.)
จากนั้นครูและนักเรียนทุกคนช่วยกันออกความคิดเห็นว่า สิ่งที่เพื่อนนำเสนอสามารถทำได้จริงหรือไม่ หลังจากได้รับคำแนะนำ ให้แต่ละกลุ่มปรับเพื่อความสมจริงสามารถนำไปใช้ได้
เตรียมนำเสนอ
ครูยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนจะต้องทำ และมอบแบบฟอร์มการนำเสนอให้ จากนั้นตรวจสอบกับนักเรียนว่ารูปประโยคนี้มีความหมายว่าอย่างไร ใช้ตอนไหน (นักเรียนไม่จำเป็นต้องใช้แพตเทิร์นนี้ทั้งหมด หยิบเลือกใช้ตามสะดวก)
ครูให้นักเรียนเตรียมงานนำเสนอใน google slide เป็นกลุ่ม ตรวจดูความคืบหน้าและกระตุ้นให้นักเรียนทำงานในคาบเรียนให้เสร็จ
ครูให้นักเรียนกำหนดบทบาทคนนำเสนอให้ชัดเจน และครูกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
นำเสนอผลงาน
ครูแชร์หน้าจอ google slide ที่นักเรียนทำแผนภาพการเดินทาง แล้วให้แต่ละคนนำเสนอโดยใช้สคริปต์จากที่เขียนขึ้นเมื่อวันก่อน เมื่อนักเรียนนำเสนอเสร็จแล้ว ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอด้วยภาษาญี่ปุ่นอย่างง่าย
สะท้อนผล
ครูให้นักเรียนสะท้อนผลกันและกันถึงจุดที่นักเรียนมักจะผิด จากนั้นครูให้นักเรียนตรวจสอบแก้ไข Slide sheet ของกลุ่มตนเองอีกครั้ง
เพิ่มเติม : https://docs.google.com/presentation/d/1-hKydTF009pYPF6fLlKfBsQY8ibm3kYRC4le5dOiBWs/edit?usp=sharing
ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ลองนำไปปรับใช้กับกิจกรรมของตัวเองดูนะคะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!