inskru
gift-close

ล้วงลับจับหิน!

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ล้วงลับจับหิน!

เปลี่ยนเรื่องหินของเด็ก ๆ ป.1 ให้อินกว่าเก่า สนุกกว่าเดิม เพิ่มเติมความฟิน ให้เรื่องที่ยากเหมือนหิน ไม่หินอีกต่อไป มาล้วงลับจับหินไปด้วยกันได้เลย!


ล้วงลับจับหิน เกิดจากการเตรียมการสอนเรื่องหินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ด้วยตัวชี้วัดที่ว่า

“อธิบายลักษณะภายนอกของหิน จากลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกตได้”

แล้วอะไรคือลักษณะเฉพาะตัวของหินที่เด็ก ๆ ต้องรู้ล่ะ?

สี รูปร่าง เนื้อหิน

เราเลยออกแบบกิจกรรมโดยอิงลักษณะ 3 สิ่งนี้

เราพาเด็ก ๆ ออกไปสำรวจภายในโรงเรียน โดยให้นักเรียนจับคู่กัน มีทั้งหมดสี่คู่ โดยแต่ละคู่ต้องออกไปสำรวจหินภายในโรงเรียน แล้วเก็บกลับมา

คู่แรกพาเราไปที่หลังห้องน้อง ๆ อนุบาล ได้หินสีเทา ๆ ผิวเรียบกับสาก รูปร่างเป็นเหลี่ยมกลับมา

คู่ที่สองพาเราไปห้องครัว ได้หินลับมีดมา รูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวสากมากก ส่วนเรื่องสี มีเด็กคนนึงบอกว่ามันเป็นสีดำแล้วก็ระยิบระยับด้วย (ดีใจที่เด็กสังเกตถึงขั้นนั้น)

คู่ที่สามพาเราไปที่น้ำตกในโรงเรียน ได้หินที่ใช้ประดับน้ำตกกลับมา เป็นหินสีน้ำตาล ผิวเรียบกับสาก รูปร่างเป็นเหลี่ยม เป็นแผ่น ๆ

คู่สุดท้ายพาเราไปไม่ไกล เด็กบอกว่าในห้องเราก็มีหิน มันเป็นหินรูปร่างกลม ผิวเรียบ สีน้ำตาล เด็กบอกว่าเคยเห็นเราเอาไว้ใช้ทับกระดาษค่ะ

ระหว่างที่เด็กแต่ละคู่ไปสำรวจหิน เราให้เด็กบันทึกลักษณะของหินใส่กระดาษที่เราเตรียมให้ไว้ด้วย เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่อไป

ดู ๆ ไปก็เหมือนการสำรวจข้างต้นก็พอจะตอบโจทย์ตัวชี้วัดได้แล้ว

แต่สำหรับเรา เรารู้สึกว่า มันยังได้อีก มันยังได้อี๊กกกกกกก

ถ้าเราบอกแค่ลักษณะภายนอกของหินล่ะ เด็ก ๆ จะตอบได้ไหมว่ามันคือหินก้อนไหน

เราเลยออกแบบกิจกรรมล้วงลับจับหินขึ้นมา

เราเอาหินทั้งสี่ก้อนมาใส่กล่อง และก็เอากระดาษที่เด็กใช้บันทึกลักษณะของหินมาพับเป็นฉลาก

กิจกรรมเราง่ายมาก แค่ให้เด็กจับฉลาก แล้วฟังครูว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง แล้วก็ล้วงหินในกล่องให้ตรงกับลักษณะในฉลากที่เขาจับได้

ฟังเผิน ๆ ก็เหมือนไม่มีอะไร แต่พอเริ่มเล่นเท่านั้นแหละ มวลความสุข ความสนุก มันก็ไหลหลั่งเข้ามาไม่รู้จบ

เด็ก ๆ สนุกกับการล้วงหินขึ้นมาตามลักษณะที่ครูบอก ถูกบ้าง ผิดบ้าง ปน ๆ กันไป

โดยรวมเด็ก ๆ ทุกคนก็ล้วงหินถูกเกือบทุกคน เด็กคนนึงที่หยิบไม่ถูก เราก็ให้โอกาสเขาได้หยิบใหม่อีกครั้ง จนสำเร็จ เป็นการสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้เขาอีกหนึ่งทาง

กิจกรรมดำเนินมาถึงขั้นนี้ ในใจเราตอนนั้นคือดีใจที่เด็ก ๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ได้

แต่มันยังไม่จบแค่นั้น

กิจกรรมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงช่วงสุดท้าย คือช่วงสะท้อนผล

เราถามเด็ก ๆ ว่า หินที่พวกเขาเก็บมา ถูกเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

”เอาไว้ลับมีดค่ะ”

”เอาไว้เทบนถนนค่ะ”

”ครูเอาไว้ทับกระดาษครับ”

”วางประดับไว้ที่น้ำตกค่ะ”

ฟังคำตอบที่ได้ ผู้อ่านก็คงคิดว่า เขาตอบได้เพราะเขาไปเก็บมาเอง หรือไม่เขาก็รู้เพราะว่าเขาเคยเห็นคนอื่นใช้ คำตอบที่ได้มันอาจจะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากกิจกรรมเราก็ได้

แต่สำหรับเรา สิ่งเหล่านี้มันวิเศษมาก กิจกรรมของเราอาจจะไม่ได้สร้างความรู้ให้เขา เพราะเขาอาจรู้อยู่แล้ว

แต่สิ่งที่เราเห็นคือทักษะการสังเกตที่มีอยู่ในตัวเขาต่างหาก

ทักษะการสังเกต เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในวิชาวิทยาศาสตร์

เราดีใจที่เรามีส่วนปลุกทักษะนี้ในตัวพวกเขาขึ้นมา

การเรียนที่ปลูกฝังทักษะทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้นักเรียนในตอนนี้

เมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาจะได้รักวิชาวิทยาศาสตร์….

เหมือนที่เราก็รักวิชาวิทยาศาสตร์เช่นกัน

ครูโบ้

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทยาศาสตร์เกมและกิจกรรมทบทวนบทเรียนการจัดการชั้นเรียนเทคนิคการสอนประถมวิทย์ยายุทธScienceLearningDesigner

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูโบ้
    ครูตัวใหญ่ที่มีความใฝ่ฝันยิ่งใหญ่กว่าตัว ที่มุ่งและมั่น ฝึกและฝน พากและเพียร เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่สนุก นำไปใช้ได้จริง และไม่ว่าใครหน้าไหนก็เรียนรู้ไปกับเราได้!

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ