จากการที่ได้สอนนักเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สิ่งที่สำคัญคือการสื่อเรื่องราวผ่านรูปภาพหรือผ่านกิจกรรมจะทำให้นักเรียนเห็นภาพและจินตนาการเนื้อหาได้ชัดเจน และเข้าใจสิ่งที่เราสอนมากขึ้น
เราสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้น ม.3 ตอนนี้สอนเรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ความรู้ที่ได้จากการประเมินนักเรียนมาเขียนแบ่งปันไอเดียให้กับเพื่อนครูทุกท่านคะ
เราจะเน้นความเรียบง่าย พยายามพูดพร้อมกับการทำหรือเขียนเพื่อให้นักเรียนสามารถคิดตามไปพร้อมกัน เพราะว่าบางทีเราสอนออนไลนืก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า นักเรียนทำแบบฝึกหัดเวลาไม่เข้าใจแล้วก็อาจจะเบื่อ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลหรือการสืบค้นข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ทำได้ คือการพยายามทำไปพร้อมนักเรียน สอบถามความเข้าใจระหว่างเรียนและการทำสื่อการสอนที่คิดว่าจะเป็นตัวช่วยได้บ้าง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นทางหลัก แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำหน้าที่ครูผู้สอนที่ได้รับมอบหมายและถือว่าเป็นหน้าที่หลักเลยที่เราต้องใส่ใจ และพยายามเข้าใจนักเรียน
จากการศึกษาและพยายามพัฒนาการสอนให้เป็นตัวเอง และพยายามใจเย็นและมองนักเรียนในหลายๆมุม
จึงได้ไอเดียนี้มาจากกิจกรรมในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3 สำนักพิมพ์อักษร และสสวท. โดยรูปแบบการสอนจะเป็นการถ่ายให้เห็นการทำกิจกรรม นักเรียน/ครูสามารถทำไปพร้อมวิดีโอที่นำเสนอนี้ได้คะ
ในภาชนะใบที่ 1 ใส่ลูกปัดสีแดง 5 ลูก ลูกปัดสีดำ 5 ลูก
ในภาชนะใบที่ 2 ใส่ลูกปัดสีแดง 5 ลูก ลูกปัดสีดำ 5 ลูก
หมายเหตุ หากหาอุปกรณ์ตามภาพไม่ได้ สามารถใช้ลูกอมที่ต่างกับ 2 ชนิด หรือสิ่งที่ใช้เล่นหมากเก็บ(> <") กลัวสื่อไม่เข้าใจก็เลยใช้คำนี้ 555 เราเคยเล่นหมากเก็บกันมา หรือสิ่งอื่น ๆ ที่หาได้ มาอย่างละ 10 ชิ้นคะ
(แดง-แดง แดง-ดำ และ ดำ-ดำ)* หัวข้อแบบในการจับคู่สามารถเปลี่ยนแปลงตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มได้คะ
เมื่อสอนเสร็จเราก็มาทำแบบฝึกหัดทบทวนเกี่ยวกับการผสมลักษณะทางพันธุกรรมเพิ่มเติมได้เลยคะ เพื่อเช็คความเข้าใจที่ได้จากการทำกิจกรรมข้างต้นอีกทีคะ
หากใช้แล้วเป็นอย่างไรเขียนรีวิว/หรือคอมเมนท์ได้นะคะ
ปกติเราจะเขียนเกี่ยวกับไอเดียการสอน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!