icon
giftClose
profile

พับๆ ฉีกๆ

779812
ภาพประกอบไอเดีย พับๆ ฉีกๆ

เริ่มคลาสด้วยกิจกรรมที่เชื่อมโยงเนื้อหาและสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ ก่อนจะเริ่มเรียน ให้เรื่องราวในคลาสดูกลมกลืนมากขึ้น คลาสนี้ผมสอนเด็กๆ เกี่ยวกับการระบุปัญหา (problem identification) แน่นอนว่าเราต้องทำให้เด็กๆ อินก่อน นั่นคือการสร้างสถานการณ์ต้นคลาสให้เกิดปัญหานั่นเอง

นำเข้าสู่บทเรียนแห่งการระบุปัญหาด้วยการสร้างสถานการณ์ให้เป็นปัญหา

คลาสเรียนวันนี้ผมต้องสอนเด็กๆ เรื่อง การระบุปัญหา (problem identification) และเนื่องจากเป็นการสอนออนไลน์ ผมเองก็นั่งคิดอยู่ว่าจะนำเข้าสู่บทเรียนอย่างไรดีโดยเงื่อนไขในใจตัวงเองคือ

  1. อยากให้เด็กๆ เปิดกล้องมาเจอกัน ได้มีปฏิสัมพันธ์ วันนี้เป็นอย่างไร?
  2. ตัวเราเองจะได้รับรู้ด้วยว่าเด็กมีความเกี่ยวกับอุปกรณ์มากน้อยเพียงใด?
  3. อยากให้นักเรียนรู้สึกว่าทุกๆ กิจกรรมตั้งแต่ต้นคลาสยันท้ายกลมกลืนเกี่ยวเนื่องกัน

จึงนึกถึงกิจกรรมที่ตนเองเคยได้เข้าร่วมในตอนมหาวิทยาลัย ก็เลยหยิบกิจกรรมนั้นมาแล้วเปลี่ยนบริบทใหม่ให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาในคลาสมากขึ้น (พยายามสร้างสถานการณ์)

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนนี้ผมใช้เวลา 20 นาที ครับ แต่มีการแจ้งล่วงหน้ากับเด็กๆ ไว้ว่าให้เตรียมกระดาษรียูส 1 แผ่น (ส่วนใหญ่จะเตรียมไว้ บางส่วนหาเอาหน้างาน) การดำเนินกิจกรรมเริ่มด้วย

  1. ให้เด็กๆ เปิดกล้องและโชว์กระดาษ เพื่อตรวจสอบความพร้อม (จริงๆ ครูพยายามให้เด็กเปิดกล้อง 555+)
  2. อธิบายกติกาดังภาพให้เด็กๆ ด้วยเงื่อนไข "หลับตา ห้ามพูด ห้ามถาม"
  3. ครูแจ้งคำสั่งให้เด็กๆ ทำตามทีละข้อ
  4. หลังจากสิ้นสุดทั้ง 3 คำสั่งให้นักเรียนเปิดตา และคลี่กระดาษมาโชว์กัน
  5. ครูโยนประเด็นคำถามสั้นๆ ว่า "ทำไมกระดาษแต่ละคนออกมารูปร่างต่างกันล่ะ?" // ช่วงนี้เด็กๆ จะโจมตีเราพอสมควร 555+ ... "ก็ครูไม่ให้เปิดตาอ่ะ" "ครูพูดไม่เคลียร์" บลาๆๆ
  6. ครูโยนประเด็นต่อ "ถ้าอย่างนั้นลองระบุประเด็นสาเหตุชัดๆ ให้ครูได้ไหมว่า ทำไมถึงเกิดปัญหาลักษณะนี้?" // ช่วงนี้เด็กๆ จะเริ่มระบุลักษณะของปัญหา พร้อมแนวทางแก้ไขแล้วครับ
คำสั่ง 3 ข้อ ได้แก่ (1) พับครึ่งกระดาษหนึ่งครั้ง (2) พับครึ่งอีกหนึ่งครั้ง (3) ฉีกมุมล่างขวาของกระดาษออก // ตามนี้เลยนะครับห้ามแต่งเติม...เพราะกำลังสร้างสถานการณ์ ^^

คลาสที่ผมสอนเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.5 และเป็นวิชาเลือก ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกันไหม แต่นึกถึงตัวเองตอนอยู่มหาวิทยาลัยปี 2 ก็อินเช่นกันนะครับ Feedback จากเด็กๆ ดีมากเลยทีเดียว ดีถึงขนาดเด็กๆ เฝ้ารอว่าครั้งหน้าครูจะเอาอะไรมานำเข้าสู่บทเรียนอีก (อ้างอิงจากแบบประเมินท้ายคาบของ inskru นี่แหละครับ)...ลองมาแบ่งปันเฉยๆ ใครหยิบยกไอเดียนี้ไปปรับกับคลาสตนเองก็ยินดีครับ ^^

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(18)
เก็บไว้อ่าน
(13)