inskru
gift-close

พันธะเคมีกับเด็กที่ไม่ชอบเคมี_แจกไฟล์ใบงาน(>///<")

4
0

การที่จะอธิบายความเข้าใจด้านเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจินตนาการด้วยแล้วกับสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาอย่างคำว่า อะตอมคืออะไร สารประกอบโคเวเลนต์เกิดได้อย่างไร การเขียนปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นมีที่มาอย่างไร อันนี้เป็นเพียงไอเดียหนึ่งที่เราเคยใช้สอนเอามาปรับใหม่ให้ทันยุคมากขึ้นนะคะ ^ ^

ไอเดียในการสอน "พันธะเคมี" เหมือนจะง่ายแต่เชื่อมโยงหลายเรื่อง

เรานำเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุในตารางธาตุมาใช้ในการอธิบาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานเคมีเรื่องสำคัญ


จริง ๆ อันนี้เราเคยใช้สอนนักเรียนสายศิลป์และนักเรียนที่ไม่ค่อยชอบเคมี เห็นเป็นเรื่องยากเข้าใจยาก ก็เลยพยายามทำออกมาให้เป็นรูปธรรมผ่านรูปภาพประกอบในใบงาน รวมทั้งแปลงข้อความที่เขียนในหนังสืออกมาเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนรวมในชั้นเรียน


ครั้งนี้เลยขอแบ่งเรื่องราวเป็น 2 ตอน คือ

  1. การสอนในรูปแบบ On-Site หรือห้องเรียนปกติ (ข้อมูลนี้เราใช้สอนเมื่อปี 2018)
  2. การสอนในรูปแบบOnline หรือสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (จะมีวิดีโอการสอนให้ดู เผื่อเป็นไอเดียในการนำไปปรับสอนได้คะ)


การสอนในรูปแบบ On-Site หรือห้องเรียนปกติ (ข้อมูลนี้เราใช้สอนเมื่อปี 2018)

เรื่องมีอยู่ว่าวันนั้นได้สอนแทนเป็นนักเรียนสายศิลป์ ซึ่งก็รู้ๆๆกันอยู่ว่าวิทย์/เคมีนี่คือตัดทิ้ง ถือว่าสิ่งเรานี้คือหน้าที่ของครูที่ต้องอธิบายให้นักเรียน แม้แต่นักเรียนที่ไม่ชอบเคมี อย่างนักเรียนสายศิลป์ และสายอื่น ๆ คิดว่าเคมีไม่สำคัญ



จุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้

  • เพื่อให้ห้องเรียนมีบรรยากาศสนุกแต่ยังคงมีแก่นเนื้อหาที่สามารถต่อยอดความรู้ได้
  • เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการจัดเรียงอิเล็กตรอนเบื้องต้น (อธิบายหลักการในการจัดของธาตุกลุ่ม A)


สอนเคมีเรื่องธาตุและสารประกอบ (แบบจำลองอะตอมและการจัดเรียงอิเล็กตรอน) หลักสูตรเก่า**


อุปกรณ์การสอน

1) ปากกาชอร์คน้ำ 1 แท่ง

2) กระดานดำ(ที่เป็นแม่เหล็ก)

3) แม่เหล็กทับกระดาษ

4) หนังสือเรียนสสวท. “สารและสมบัติของสาร”


เนื้อหาที่สอนการจัดเรียงอิเล็กตรอน (อธิบายหลักการในการจัดของธาตุกลุ่ม A)


ขั้นตอนทำกิจกรรมในห้องเรียนปกติ (ที่ทุกคนอาจจะคิดถึงในตอนนี้)

1) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และจับฉลาก

2) จับคู่เขียนจัดเรียงอิเล็กตรอน โดยมีเลขอะตอมใกล้เคียงกัน

3) ให้นักเรียนจัดเรียงอิเล็กตรอนโดยใช้แม่เหล็กทับกระดาษติดบนกระดาน เพื่ออธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนของที่นักเรียนในกลุ่มร่วมกันคิด


4) ร่วมกันคิดครูกับนักเรียน วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนและเช็คที่นักเรียนจัดว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร

5) ขั้นสรุปกิจกรรม

==> การอธิบายความหมายของการจัดเรียงอิเล็กตรอนมีความสัมพันธ์กับตารางธาตุว่าเป็นตัวบอกหมู่ และคาบ

==> ให้นักเรียนทำความเข้าใจของตนเองและเพื่อนๆด้วยการทำแบบฝึกหัด โดยใช้ธาตุที่แทนด้วยตัวอักษรเพื่อทดสอบความเข้าใจ


สิ่งที่ได้รับจากการจัดชั้นเรียน และได้เรียนรู้จากนักเรียนที่สอน

1) นักเรียนมีความสนใจในเคมีมากขึ้นและเป็นการสร้างความสนใจในเรื่องที่จะเรียนต่อไป

2) ครูสอนไม่มาก ให้เวลากับนักเรียนได้คิดและทบทวนความเข้าใจร่วมกัน พูดคุย ร่วมอธิบายความเข้าใจให้เพื่อนฟัง(เพื่อนสอนเพื่อน)

3) นักเรียนมีความสนุกและมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น สังเกตได้จากปฏิกิริยาของผู้เรียนและเสียงที่พูดออกมาระหว่างเรียน


เวลาที่ใช้ในการสอน 70-80 นาที (นักเรียน 30-40 คน)


การสอนในรูปแบบOnline หรือสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (จะมีวิดีโอการสอนให้ดู เผื่อเป็นไอเดียในการนำไปปรับสอนได้คะ)

จากกิจกรรมวันนั้น เราได้นำมาใช้ในการสอนนักเรียนที่ไม่เก่งเคมี หรือว่าไม่รู้จะเรียนเคมีไปทำไม โดยการปรับปรุงกิจกรรมนี้มาจนเป็นรูปแบบปี 2021 ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ


จุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ (รายวิชาเพิ่มเติมเคมี เล่ม 1)

  • เพื่อให้ห้องเรียนมีบรรยากาศสนุกแต่ยังคงมีแก่นเนื้อหาที่สามารถต่อยอดความรู้ได้
  • เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการจัดเรียงอิเล็กตรอนเบื้องต้น (อธิบายหลักการในการจัดของธาตุกลุ่ม A)
  • เพื่อให้นักเรียนเข้าใจที่มาของการเกิดพันธะเคมี (พันธะไอออนิก/พันธะโคเวเลนต์/พันธะไออนิก)


เนื้อหา/รูปแบบกิจกรรม

  1. ครูบอกเรื่องที่เราจะเรียนว่ามีเรื่องอะไรบ้าง พันธะไอออนิกคืออะไร พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะคืออะไร
  2. ครูนำนักเรียนเข้าสู่กิจกรรม "พันธะเคมีเกิดขึ้นได้อย่างไร" โดยนำเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุหมู่ A ที่เป็นไปตามกฎของออกเตตมาทำกิจกรรม
  3. ครูนำเรื่องที่สอนในกิจกรรมมาสรุปสาระสำคัญของพันธะเคมีแต่ละอัน และให้ข้อสังเกต และการนำไปใช้เรื่องต่อ ๆ ไปที่จะเจอในวิชาเคมี


อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม

  • แม่เหล็ก หรือของชิ้นเล็กๆๆ นำมาใช้แทนอิเล็กตรอน หากไม่มีใช้กระดาษฉีกเป็นชิ้นเล็กได้คะ

  • ใบงานที่เขียนวงกลมสำหรับใช้ในการจัดเรียงอิเล็กตรอน รูปแบบใบงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการให้นักเรียนฝึกเขียนทุกธาตุอาจจะต้องใช้พื้นที่เขียนมากกว่า 1 แผ่น(แล้วแต่ครูที่นำไปใช้ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้เลยคะ)


ตัวอย่างใบงานที่ใช้สอน (หากคุณครูท่านใดต้องการใช้ไฟล์นี้ สามารถดูที่ไฟล์เอกสารแนบได้คะ)

เอกสารนี้อนุญาตให้ใช้สอนทั่วไปเท่านั้น ห้ามใช้เชิงพานิชย์

****หากมีการนำไปใช้ในเชิงผลงานวิชาการ กรุณาปรับเปลี่ยนรูปแบบ ห้ามก็อปปี้งาน****



รูปแบบการสอน 

ครูพูดคุยผ่านวิดีโอ ถ่ายวิดิโอขณะทำกิจกรรม


อธิบายการสอนผ่านวิดีโอการสอนพันธะเคมีคะ

คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยค่าาา (ความยาว 13.38 นาที)


Facebook : fb.watch/6GQWNpH0sk


YouTube : https://youtu.be/NWxK-SLVcLA



อ้างอิงเนื้อหาจาก

1. หนังสือเรียนเคมี ม.ปลาย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) 改訂新編『化学基礎』東京書籍

https://ten.tokyo-shoseki.co.jp/text/hs_current/science/book005/

2. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม เคมี ม.ปลาย เล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

https://www.scimath.org/e-books/8292/flippingbook/12/



ลองนำไปใช้ดูนะคะ

หากใช้แล้วเป็นอย่างไรเขียนรีวิว/หรือคอมเมนท์ได้นะคะ


ปกติเราจะเขียนเกี่ยวกับไอเดียการสอน

  • คณิตศาสตร์ ระดับประถม
  • วิทย์ทั่วไป ระดับมัธยมต้น
  • เคมี ระดับมัธยมปลาย


ฝากติดตามด้วยนะคะ

หากสนใจเรื่องราวการสอนเคมีเพิ่มเติม ติดตามได้ที่ FB : Jirat(อ.จ๊อบ)



ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะคะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างต่อคุณครูและนักเรียนนะคะ



มาสร้างการเรียนรู้สนุกๆ ให้เด็กๆ กันคะ


> //// <


Original Link: พันธะเคมีกับการจัดเรียงอิเล็กตรอน(เคมี) - YouTube

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทย์ยายุทธเคมีวิทยาศาสตร์มัธยมปลายใบงานคลิปสอนวิทย์ยายุทธScienceMediaDesignerพันธะเคมี

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    4
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Jirat Nuntaphort
    ชอบสอนโดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย เช่น การใช้สื่อวิดีโอ PowerPoint กระดานอิเล็กทรอนิกส์ ไอแพด โทรศัพท์ และมีกิจกรรมด้านไอทีเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ