inskru
gift-close

ระบบไหลเวียนเลือดกับหัวใจคนในบ้าน

1
0
ภาพประกอบไอเดีย ระบบไหลเวียนเลือดกับหัวใจคนในบ้าน

ไอเดียการสอนเรื่องระบบไหลเวียนเลือดที่เด็กๆได้มากกว่าชื่อหลอดเลือดที่ต้องท่องจำ ได้มากกว่าจับมีดผ่าตัดมาทำเเล็บ เเต่ในไอเดียการสอนนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้ตั้งเเต่ชื่อหลอดเลือด กายวิภาคศาสตร์ของหัวใจ ไปจนถึงโรคในระบบไหลเวียนเลือดยอดฮิตของคนในชุมชน ไปติดตามการเรียนรู้ของเด็กๆ เเละเคียบูได้เลยครับ


"ระบบไหลเวียนเลือด Circulatory System" ระบบร่างกายที่มีชื่อหลอดเลือดมากมาย เรียนยังไงให้มีความหมาย เรียนยังไงให้ได้คุณค่า จึงต้องลงมือผ่า เจาะ เซาะ เฉือน ให้เห็นด้วยสายตา เเล้วเอาตำราไปไว้นอกห้องเรียน ลงสืบค้นข้อมูลของคนในชุมชน ปู่ ย่า ตายาย ลุงป้า น้า อา ท่านใดป่วยเป็นโรคในระบบไหลเวียนเลือด สืบหาสาเหตุ อาการ การรักษา เเละตัวยา เเล้วหยิบประเด็นมาจับเข่าคุยในห้องเรียน เกิดเป็นองค์ความรู้ ที่ครูไม่ได้สอน เพราะการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นผู้สอนนักเรียนเอง


ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งคุณค่า ได้คุยกับปู่กับย่า ให้วิทยาศาสตร์ทำงานด้วยตัวมันเอง


กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง...ระบบไหลเวียนเลือดกับหัวใจคนในบ้าน

วิชา ชีววิทยา/วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย

ระยะเวลา 6 ชั่วโมง (นักเรียนลงพื้นที่นอกเวลาเรียน)


เป้าหมาย

1.บอกคำศัพท์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ

2.ศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของหัวใจแล้วสามารถอธิบายหน้าที่การทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ

3.ศึกษาและอธิบายสาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจของคนภายในชุมชนของนักเรียน


จากเป้าหมายที่ครูเบียร์กำหนดไว้ ครูเบียร์จะขอเล่าให้ทุกท่านเข้าใจง่ายๆโดยเเบ่งออกเป็น 3 Part ด้วยกัน ไปดูกันเลยครับ

Part 1. เรียนรู้คำศัพท์ในระบบไหลเวียนเลือด (2 ชั่วโมง)

ขั้นนี้ครูเบียร์ใช้วิธีการเปิดวิดีโอเกี่ยวกับโครงสร้างกล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบการบรรยายเเละชวนเด็กๆ ทำ Lecture สรุปสั้นๆ ง่าย ๆ เพื่อเตรียมความรู้ก่อนลงมือทำเเล็บ ขั้นนี้ครูเบียร์ไม่ได้คาดหวังให้จำคำศัพท์ให้ได้หรือต้องเข้าใจทุกอย่าง เพราะท่องไปก็ไร้ความหมายสุดท้ายก็ลืมอยู่ดี เเต่ครูเบียร์คาดหวัง Lecture ที่เเสดงออกถึงความเข้าใจของเด็กๆ มากกว่าครับ


Part 2. เรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ของหัวใจ (2 ชั่วโมง)

ขั้นนี้สำคัญมาก เพราะเด็กๆจะได้เรียนรู้จากการลงมือจริง จับอุปกรณ์จริง เอาคำศัพท์ที่เรียนมาใช้จริง ครูเบียร์ออกเเบบให้เด็กๆลงมือทำเเล็บไปทีละขั้นตอนพร้อมกับครูเบียร์ พร้อมทั้งอธิบายโครงสร้างเเละหน้าที่ไปพร้อมกับเด็กๆ ไปดูภาพบรรยากาศกันครับ

ครูเบียร์ใช้วิธีพานักเรียนทำไปทีละขั้น พร้อมกับการอธิบาย ซึ่งเด็กๆได้เรียนรู้จากการ Lecture มาเเล้ว


ครูพาทำทีละกลุ่มย่อยเพื่อเช็คความเข้าใจของทุกคน เอาให้เข้าใจกันทุกชื่อ ทุกเส้น ทุกกล้ามเนื้อเลยครับ


เด็กๆตั้งใจมาก ตื่นเต้นเเละตื่นตัวมาก สำหรับบางโรงเรียนอาจะเป็นเรื่องปกติเเต่โรงเรียนที่ไม่มีอุปกรณ์คือเรื่องน่าตื่นเต้นครับ


ครูเช็คความเข้าใจด้วยการถามคำถามในเเต่ละศัพท์ที่เด็กๆ ติด Taq ลงไป เด็กๆ ช่วยกันตอบน่ารักมากครับ


เช็คความเข้าใจของเด็กๆด้วยการให้ในเเต่ละกลุ่มย่อยช่วยกันติด Taq คำศัพท์ต่างๆ ทั้งห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดให้ถูกต้อง


บางคนกลัวเลือดนะ เเต่ใจก็สู้มาก เพราะได้ลงมือทำจริงๆซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับการเรียนชีววิทยา


จากการสังเกตเเละตรวจสอบ นักเรียนระบุคำศัพท์ได้ถูกต้องเเม่นยำมาก ส่วนปัญหาที่เจอคือบางกลุ่มทำเเล็บช้าเพราะตื่นเต้น 555


อุปกรณ์ดี ๆ ห้องเเล็บดีๆ ไม่มีหรอกครับ มีดเหลาดินสอเเทนมีดผ่าตัด ถุงขยะดำเเทนถาดพาราฟิน อะไรคว้าได้คว้าไว้ก่อนครับ 55555


Part 3 ลงชุมชนค้นคำตอบ (2 ชั่วโมง ไม่รวมการลงพื้นที่ในชุมชน)

ขั้นสุดท้ายที่จะสร้างความหมายของการเรียนเรื่องนี้ จริงๆ ครูเบียร์ออกแบบมาให้เด็กๆได้ลงพื้นที่ทั่วชุมชน เเต่เกิดการระบาดของโควิดอีกรอบเลยปรับให้เด็กๆลงพื้นที่กับคนในครอบครัวในบ้านก็พอ ซึ่งโชคดีที่ได้ข้อมูลความรู้ที่เเน่นมากครับ


จุดสำคัญของขั้นนี้ คือ เด็กๆได้สำรวจปัญหา สาเหตุ การรักษา ตัวยา วิธีการดูเเลตนเอง ของผู้ป่วยในโรคระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคความดัน ไขมันในหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เเล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพูดคุยกันในห้อง จนได้คำตอบที่ซ้ำๆกัน ว่าสาเหตุ การรักษา ตัวยา วิธีการดูเเลตนเอง ของผู้ป่วย คืออะไรบ้าง เป็นการเรียน เเละ รู้ ด้วยตัวเองอย่างเเท้จริง


ไปชมภาพบรรยากาศกันครับ


เด็กๆลงสืบค้น สอบถาม สำรวจข้อมูลคนในครอบครัวของตนเองที่ป่วยเป็นโรคในระบบไหลเวียนเลือด พร้อมบันทึกข้อมูล







ได้ชื่อเคมียาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน




ปล. ภาพประกอบเยอะมากขอยกตัวอย่างมาบางส่วนนะครับ


หลังจากการลงพื้นที่ชุมชนเเล้ว เด็กๆ นำความรู้มาเเบ่งกลุ่ม โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ครูเบียร์แบ่งกลุ่มจากโรคในระบบไหลเวียนเลือดที่พบในชุมชนของนักเรียนในห้องเรียนได้ทั้งหมด 4 โรค คือ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันต่ำ เเละโรคความดันสูง


ไปดูภาพบรรยากาศการทำกิจกรรมกันครับ












สะท้อนคิดจากการทำกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ครูเบียร์สามารถบูรณาการเนื้อหาของระบบไหลเวียนเลือดที่สำคัญทั้งหมด ให้จบได้ภายใน 2 สัปดาห์ (6 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นการสอนเเบบบูรณาการที่เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เเละจากการสังเกต สอบถาม สะท้อนคิดในห้องเรียนร่วมกับนักเรียนพบว่า

  1. นักเรียนเข้าใจเเละเห็นความหมายเเละคุณค่าของเรื่องที่เรียนมากกว่าการท่องจำ
  2. นักเรียนได้มีโอกาสพูดคุยเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในครอบครัว สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัว
  3. นักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจในการทำกิจกรรมตั้งเเต่ขั้นเเรกจนถึงขั้นสรุป
  4. การค้นหาคำตอบ เเล้วเกิดความรู้ด้วยตนเอง จะทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นคงทน
  5. ครูผู้สอนรู้สึกภาคภูมิใจที่ทำให้ห้องเรียนเป็นแหล่งสร้างสรรค์ เเละเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางสติปัญญาของนักเรียน


อุปสรรค์

สถานการณ์โรคระบาดอาจทำให้การดำเนินกิจกรรมมีข้อจำกัดบางประการ ในโรงเรียนที่ไม่สามารถเปิดเรียนเเบบ Onsite ได้ ครูอาจปรับเปลี่ยนเป็นการนำเสนอแบบออนไลน์ สำรวจข้อมูลคนในครอบครัว เเล้วชวนนักเรียนสรุปในห้องเรียนออนไลน์แทนการลงพื้นที่จริง

.

ขอบคุณ Inskru สำหรับพื้นที่เเบ่งปันไอเดียการสอนครับ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทย์ยายุทธชีววิทยา

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    1
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Biobeer
    ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้ที่มีความหมาย ภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชุมชน บนความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ