ออร์บิทัล คือ บริเวณที่มีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน
โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะศึกษาออร์บิทัลเพียง 4 ชนิดเท่านั้น
คือ ออร์บิทัล s p d และ f
โดย ออร์บิทัล s บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุดไม่เกิน 2 อิเล็กตรอน
ออร์บิทัล p บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุดไม่เกิน 6 อิเล็กตรอน
ออร์บิทัล d บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุดไม่เกิน 10 อิเล็กตรอน
ออร์บิทัล f บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุดไม่เกิน 14 อิเล็กตรอน
และแต่ละระดับชั้นพลังงานของอะตอมจะมีออร์บิทัลอยู่แตกต่างกันไปแต่ละชนิดออร์บิทัล
เช่น ระดับชั้นพลังงานที่ 1 มี ได้แค่ ออร์บิทัล s ออร์บิทัลเดียว นั่นหมายความว่ามีอิเล็กตรอนได้สูงสุด แค่ 2 อิเล็กตรอน และอิเล็กตรอน 2 อิเล็กตรอนนั้นแตกต่างกัน คือ ตัวหนึ่งเป็น spin up และอีกตัวเป็น spin down
…… หากอธิบายแบบนี้นักเรียนอาจจะทำความเข้าใจยากและอาจเกิดการงงได้…
…ผู้สอนจึงเกิดไอเดียในการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดย
…ให้แทนระดับชั้นพลังงานของอะตอมเปรียบเสมือนลานจอดรถ โดยระดับชั้นพลังงานของอะตอมแต่ละชั้นเปรียบเสมือนลานจอดรถแต่ละชั้น เช่น ระดับพลังงาน n=1 เปรียบเสมือน ลานจอดรถชั้นที่ 1
…ให้แทนชนิดของออร์บิทัลด้วยยี่ห้อของรถยนต์ ซึ่งครูผู้สอนอาจจะให้นักเรียนเป็นคนช่วยกันคิดยี่ห้อรถยนต์มา 4 ยี่ห้อ แทน ออร์บิทัล 4 ชนิด เช่น
รถ audi แทน ออร์บิทัล s
รถ benz แทน ออร์บิทัล p
รถ aston แทน ออร์บิทัล d
รถ volvo แทน ออร์บิทัล f
จากนั้นกำหนดจำนวนผู้โดยสารที่สามารถนั่งได้ในรถแต่ละยี่ห้อ เปรียบเสมือนจำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้ในแต่ละออร์บิทัล เช่น
รถ audi ผู้โดยสารนั่งได้ ไม่เกิน 2 ที่นั่ง (หากจะพูดชนิด spin ของอิเล็กตรอนให้แทนด้วย ผู้โดยสาร ชาย และ หญิง)
รถ benz ผู้โดยสารนั่งได้ไม่เกิน 6 ที่นั่ง
รถ aston ผู้โดยสารนั่งได้ไม่เกิน 10 ที่นั่ง
รถ volvo ผู้โดยสารนั่งได้ไม่เกิน 14 ที่นั่ง
….จากนั้นบรรจุออร์บิทัลลงไปในแต่ละระดับพลังงานของอะตอม โดย
อธิบายว่า ลานจอดรถชั้นที่ 1 (n=1) จอดได้เพียงรถ audi แค่ 1 คัน แล้วผู้สอนถามนักเรียนว่า ลานจอดรถชั้นนี้จะมีผู้โดยสารไม่เกินกี่คน (คำตอบคือ 2 คน)
….ความหมายคือ ในระดับชั้นพลังงานที่ 1 หรือ n=1 มีออร์บิทัลได้เพียงชนิดเดียว คือ s ซึ่ง s บรรจุอิเล็กตรอนสูงสุดไม่เกิน 2 อิเล็กตรอน
อีกตัวอย่าง ลานจอดรถชั้น 2 จอดได้แค่รถ audi และ benz แล้วผู้สอนถามนักเรียนว่า ในลานจอดรถชั้นนี้จะมีผู้โดยสารทั้งหมดไม่เกินกี่คน มาจากรถ audi กี่คน benz กี่คน
…ความหมายคือ ในระดับชั้นพลังงานที่ 2 n=2 มีออร์บิทัล 2 ชนิด คือ s กับ p สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้ 8 อิเล็กตรอน มาจากออร์บิทัล s 2 อิเล็กตรอน ออร์บิทัล p 6 อิเล็กตรอน
….ซึ่งการเปรียบเทียบแบบนี้จะทำให้นักเรียนเข้าใจ Concept เนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสนุกกับการเรียนมากขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!