icon
giftClose
profile

ออกแบบห้องเรียนจากโลกจริงด้วยแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

68150
ภาพประกอบไอเดีย ออกแบบห้องเรียนจากโลกจริงด้วยแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

การออกจากพื้นที่เดิมไปสู่โลกแห่งความจริง เป็นการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่เปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคม การมองหาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเข้าใจบางอย่าง จึงต้องสวมแว่นตาทางสังคม ลำน้ำเจียงคือต้นทุนชีวิตของคนในชุมชน แต่พบว่าต้นทุนนั้นมีราคาที่ลดลง การทำต้นทุนนั้นให้เพิ่มขึ้นจึงต้องกลับมามองที่คุณค่าของน้ำ

การเริ่มต้นสำรวจความสนใจของผู้เรียน นั่นคือ การวิเคราะห์ผู้เรียนไปในตัว 

การนำคำถามถึงความสนใจผู้เรียนเป็นตัวตั้งด้วยการสอบถามความพึงพอใจประจำวิชาหลังเรียนจบเทอมว่า อยากให้ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบไหนมากที่สุด ผลโหวตคือ “ผู้เรียนอยากให้ผู้สอนเน้นกิจกรรมให้ได้ปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม และเรียนรู้นอกสถานที่ เช่น บริเวณชุมชนรอบโรงเรียน” ซึ่งประตูแห่งนี้ถูกเปิดรับพร้อมกันด้วยความสมัครใจระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยมีเรื่องราวแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นบทเรียนแห่งความสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียนก่อให้เกิดความหมายต่อการเรียนรู้ (Meaningful Learning) 

แก่นสาระวิชากับ Concept สู่โลกความเป็นจริง

การสอนวิชาสังคมศึกษาที่มองเห็นถึงการเชื่อมโยงชีวิตกับความเป็นพลเมืองในตัว คือการตอบว่า มุมมองเหล่านั้นล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนเปลงสังคมปัจจุบันอย่างไร ผู้เรียนมีส่วนร่วมต่อการสร้างความเปลี่ยนในสังคมนั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร ผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลต่อคนในสังคมนั้นอย่างไร ซึ่งชี้นำให้เห็นการถึงปรัชญกาการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม

แหล่งเรียนรู้กับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระและมาตราฐานการเรียนรู้

เมื่อต้นทุนชุมชน คือ ลำน้ำเจียง แล้วมองคุณค่าของน้ำอย่างไร

การมองคุณค่าของน้ำจึงเริ่มต้นจากการสำรวจคุณค่าของน้ำจากภายในตนเอง (โลกทัศน์) โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential Learning) มีจุดเน้นเพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของตนเองอย่างลึกซึ้ง และการทำความเข้าใจมองเห็นคุณค่าของน้ำที่หลาหกลายมิติและกว้างยิ่งขึ้น (Panorama) เพื่อทำให้ผู้เรียนมองคุณค่าสิ่งต่างๆ ไม่เพียงผิวเพินด้านใดด้านหนึ่ง นั้นคือ “การบริโภค” ในแง่มุมที่หลากหลายนั้นน้ำมีคุณค่ามากกว่าที่เราคิด แม่น้ำแต่ละสายเป็นตัวก่อให้เกิดวิถีชีวิต ความเชื่อ การประกอบอาชีพที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของสังคม สะท้อนออกมาในรูปของชุมชนริมน้ำ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ การคมนาคม เป็นต้น

เป้าหมายการเรียนรู้

1) สามารถบอกคุณค่าของของน้ำที่หลาหลายมิติและกว้างยิ่งขึ้น (Panorama)

2) เห็นความสำคัญของของน้ำที่มีต่อตนเองและผู้อื่น

3) แสดงความรู้สึก ความคิดและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำของตนเอง

ขั้นที่ 1 Ask

1) ผู้เรียนนั่งล้อมกันเป็นวงกลม จากนั้นผู้สอนถามเพื่อสำรวจความคิดและมุมมองเรื่อง “น้ำ” เช่น เมื่อพูดถึงน้ำนึกถึง......” แล้วลองวาดรูปบรรยายความคิดของตน ปล่อยให้ผู้เรียนคิดไปให้ไกลที่สุดโดยไม่ตัดสินและจำกัดความคิด ซึ่งผู้สอนอาจให้ผู้เรียนลองสร้าง “ห่วงโซ่คำ” โดยเริ่มจากคำว่า “น้ำ” แล้วตั้งคำถามจากคำนี้ว่าคิดถึงคำอะไรต่อไปได้บ้าง?

               

2) ผู้เรียนอภิปรายในชั้นว่า “เพราะอะไรจึงนึกถึงคำนั้น” คิดเกี่ยวกับคำเหล่านั้นอย่างไรหรือรู้อะไรเกี่ยวกับคำเหล่านั้นบ้าง ทำให้ตัวผู้สอนรู้ว่าจำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อมูลใดบ้างก่อนเริ่มทำกิจกรรมต่อไป

สะท้อนผล : ขั้นตอนนี้ทำให้ผู้สอนเข้าใจคุณค่าของน้ำที่ผู้เรียนยึดถือ จากการสังเกตจากพบว่า ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกคนและสามารถระดมความคิดเห็น และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ระดับหนึ่ง  

ขั้นที่ 2 Plan

1) ผู้สอนเตรียมรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” มาให้ผู้เรียนสังเกตรวมกัน

2) ผู้สอนแจกแผ่นกระดาษ Post it ให้ผู้เรียนคนละ 3 แผ่น สำหรับเขียนความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นลงในกระดาษแต่ละแผ่น (แผ่นละ 1 ความคิด) จากนั้นให้ตัวแทนนำแผ่นกระดาษออกมาติดบนกระดานก่อน 5 คน แล้วจึงให้ผู้เรียนที่เหลือทยอยออกไปติดตามกลุ่มความคิดที่คิดว่าสอคคล้องกับกลุ่มเดียวกัน

3) ผู้สอนขีดเส้นเป็นวงรอบแผ่นกระดาษเพื่อจัดความคิดให้เป็นกลุ่ม แล้วให้ผู้เรียนอธิบายถึงสิ่งที่เหมือนกัน เพื่อหาความคิดรวบยอดในแต่ละกลุ่มความคิด จากนั้นเขียนความคิดรวบยอดที่ได้ลงบนกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง ติดไว้เหนือกลุ่มความคิดนั้น ครูผู้สอนอธิบายให้ผู้เรียนฟังว่าแต่ละกลุ่มบรรจุความคิดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร  

4) ผู้เรียนจับกลุ่มตามความสนใจและความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับคุณค่าน้ำที่มองเห็น(กระบวนการกลุ่ม) จากนั้นให้ระดมความคิดเห็นร่วมกันในกลุ่มที่สนใจและคิดเห็นตรงกัน เพื่อกำหนดแหล่งน้ำในชุมชนตามความสนใจ จากนั้นเกิดคุณค่าด้านใดบ้าง ส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นในชุมชนมากน้อยเพียงใด

สะท้อนผล : ผู้เรียนได้ขยายขอบเขตความคิดเกี่ยวกับคุณค่าของน้ำผ่านรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” ที่กำหนดให้ ทำให้เข้าใจว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อน้ำกับความสัมพันธ์รอบข้างหรือสิ่งเหล่านี้อย่างไร (มองเห็นได้มากขึ้นหรือเท่าเดิม) จากการสังเกตพบว่า ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกคน การเสนอความคิดเห็นยังไม่สามารถมองได้แตกต่างกันมาก คุณค่าที่ได้เห็นจึงกระชุกตัวอยู่ที่ 5 ประเด็น คือ รายได้ การละเล่นหรือกิจกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งท่องเที่ยว และความสวยงาม

ขั้นที่ 3 Action

ผู้สอนพาผู้เรียนลงพื้นที่ไปสำรวจแหล่งน้ำในชุมชนที่ตนเองกำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนสร้างเรื่องราวโดยใช้เครือข่ายความคิดทั้งหมดของตนเองหรือถ่ายทอดเรื่องราวออกมาผ่านแม่น้ำในชุมชน โดยผู้เรียนรู้วิเคราะห์เชื่อมโยงความคิดของแม่น้ำให้ได้หลากหลายมิติ และเชื่อมโยงต่อคุณค่าที่ตนเองยึดถือ

สะท้อนผล : ขั้นตอนนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับไปสู่แหล่งน้ำในชุมชน เมื่อสิ่งเหล่านี้กระทบกับตัวผู้เรียนแล้ว สามารถมองเห็นคุณค่าเหล่านี้ได้หลากหลายเพียงใดและไปในทิศทางใดบ้าง

ขั้นที่ 4 Present

ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานผ่านมุมมองความคิด ผู้สอนประเมินผู้เรียนจากการสะท้อนคิด 


วิดีโอออกแบบห้องเรียนจากโลกจริงด้วยแหล่งเรียนรู้ในชุมชน (Resource Learning Approach) เรื่อง มองคุณค่าของน้ำ youtube.com/watch?v=UZvQLEy_moI

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: รูปภาพที่ใช้ประกอบการสอน.docx

ดาวน์โหลดแล้ว 15 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(3)