inskru

Coding กับ นักเรียนประถมดาราวิทยาลัย

12
0
ภาพประกอบไอเดีย Coding กับ นักเรียนประถมดาราวิทยาลัย

การสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง Coding ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ถ้าไม่คิดที่จะสอน ยากกว่า

ย้อนไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ถ้าพูดเรื่องคอมพิวเตอร์กับนักเรียน ส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่เรื่องเกม ดูหนัง ฟังเพลง ดูการ์ตูน และพอถึงชั่วโมงคอมพิวเตอร์นักเรียนจะรีบวิ่งมาห้องคอม เพื่อรอเรียน และอยากจะเล่นเกม แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเปลี่ยนหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อวิชาจากคอมพิวเตอร์เป็น วิทยาการคำนวณ ทำให้เด็กหลายคนเกิดคำถาม และมี ง หลายตัวอยู่ในหัว (งง งง งง ....) ว่า วิชานี้มันคืออะไร ต้องเรียนยังงัย แล้วคอมพิวเตอร์หายไปไหน ไม่ได้เรียนแล้วเหรอ ก็เลยบอกเด็กไปว่า คอมพิวเตอร์ไม่ได้หายไปไหน แต่มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิชานี้ และจะไม่ใช่ว่า มานั่งใช่คอมพิวเตอร์อย่างเดียว แต่มันจะกลายเป็นวิชาที่ เมื่อเจอปัญหาที่เกิดขึ้นเราจะทำอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร ปัญหาที่เราเจอจะมีขั้นตอนหรือวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง จะออกแบบหรือวางแผนอัลกอริทึมอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจง่ายที่สุด อัลกอริทึมที่ออกแบบไว้จะสามารถนำไป coding หรือเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาได้จริงไหม เมื่อพูดถึงตรงนี้ เด็กๆ ยิ่งตกใจ หาอะไรนะ coding เขียนโปรแกรม เหรอ ยิ่งอ้าปากค้างกันใหญ่ เราก็คิดในใจว่า เด็กสมัยนี้ต้องมาเรียน coding จริงเหรอนี่....

       หลายๆ คน เคยถามว่า coding มันคืออะไร มันมีหน้าตาเป็นยังงัย มันต้องใช้คอมพิวเตอร์อย่างเดียวเหรอ ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่ ครับ เพราะ coding มันคือ การแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง แต่เป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน คิดเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา และเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม ซึ่งการสอน coding ให้กับเด็กประถม เราอยากจะเน้นให้นักเรียนคิดเป็นระบบ เป็นขั้นตอน แก้ปัญหาได้ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการคิด เขียนโปรแกรมอย่างง่ายๆ สามารถหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

       “ก่อนที่เราจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เราก็ต้องลองเป็นคอมพิวเตอร์ คิดแบบคอมพิวเตอร์ ทำงานแบบคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มันไม่สามารถทำงานด้วยตัวมันเองได้ ต้องมีคนสั่งหรือโปรแกรมมันไว้ และสั่งอย่างไรมันก็จะทำอย่างนั้น สั่งให้ไปซ้ายก็ไปซ้าย สั่งให้ไปขวาก็ไปขวา”

       ในการสอน coding มันต้องใช้ทั้งความรู้และความอดทน รวมถึงทักษะหลายๆ อย่าง ยอมรับว่า ท้อ ที่จะสอนมากในตอนแรก ไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไรให้เด็กเข้าใจ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะปีแรก ที่นำวิชานี้มาสอน ยังไม่มีหนังสือ ตัวอย่าง สื่อ ที่แพร่หลายให้ศึกษามากนัก แต่ในฐานะเด็กคอม อย่างเรา สบายอยู่แล้ว เลยหาวิธีการสอนง่ายๆ มาสอนก่อนแต่ก็ต้องให้อิงในตัวชี้วัดของหลักสูตรด้วย ก็เลยเริ่มต้นง่ายๆ

       กิจกรรม Unplugged ไม่ต้องใช้คอม แต่ฝึกให้เด็กรู้จักวิธีการแก้ปัญหา ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาให้เป็น เลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา วางแผนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เช่น การเรียงลำดับขั้นตอนกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แยกสิ่งของต่างๆ ออกจากกัน หาเส้นทางที่ทีและสั้นที่สุด ในการเดินทาง ใช้บัตรคำสั่งในการสั่งงาน เกมการแก้ปัญหาพาของข้ามฝั่ง เป็นต้น



หลังจากนั้น ก็ให้นักเรียนรู้จักกับหลักการการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบต่อ Block คล้าย Jigsaw ผ่านเว็บ code.org หรือ codingthailand.com โดยจะต้องนำ block คำสั่งมาต่อกันเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จในแต่ละด่าน 



เมื่อนักเรียนเริ่มเข้าใจ coding ก็จะเข้าสู่การเขียนโปรแกรม โดยใช้ Scratch เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีการเขียนแบบ block คำสั่งมาต่อกันเพื่อให้ตัวละครทำงาน นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำสั่ง การเลือกตัวละคร การเลือกฉาก วางแผนและออกแบบสร้างนิทานหรือการ์ตูนสั้นผ่านการเขียนโปรแกรม วาดรูปเรขาคณิตและรูปต่างๆ เขียนโปรแกรมรับค่าเพื่อการคำนวณหรือการตัดสินใจ และสุดท้ายคือ สามารถสร้างหรือ เขียนเกมง่ายๆ ตามความคิดของตนเองได้ และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นนักเรียนก็ต้องรู้จักวิธีแก้ปัญหานั้น 



“การ coding เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราสามารถฝึกการ coding ได้ เพราะ มันอยู่รอบตัวเราเสมอ”


นายภาคภูมิ สุภาพันธ์

ครูผู้สอนวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5 ก.พ. 2564

คอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

12
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Ajkengs
ครูยุค IT ต้องมีของดี รอบด้าน

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ