4 คำถามสำคัญ (Four Essential Questions)
Arthur Eisenkraft ได้เสนอ 4 คำถามสำคัญ (Four Essential Questions) ในงานประชุมวิชาการของสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยที่ 4 คำถามสำคัญ มีดังนี้
1. มันหมายถึงอะไร (What does it mean?)
2. เรารู้ได้อย่างไร (How do we know?)
3. ทำไมเราจึงเชื่อ (Why do we believe?)
4. ทำไมเราต้องสนใจ (Why should we care?)
โดยแต่ละคำถามสำคัญครูสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. มันหมายถึงอะไร (What does it mean?)
มันหมายถึงอะไร เป็นคำถามที่ใช้เพื่อล้วงความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่ของนักเรียน และใช้ในการตรวจสอบความรู้และความเข้าใจของนักเรียน
ตัวอย่างคำถามเช่น
2. เรารู้ได้อย่างไร (How do we know?)
เรารู้ได้อย่างไร เป็นคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบหรือการทดลอง เพื่อจะได้ข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับการสร้างคำอธิบาย มักมีลำดับคำถามโดยเริ่มต้นจาก มันหมายถึงอะไร (What does it mean?) เพื่อใช้ล้วงความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่ของนักเรียน หลังจากนั้นใช้คำถาม เรารู้ได้อย่างไร (How do we know?) เพื่อช่วยให้เรารู้ที่มาข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์ หรือเหตุผลที่ทำให้เราเข้าใจในมโนทัศน์ (concept)
ตัวอย่างคำถามเช่น
3. ทำไมเราจึงเชื่อ (Why do we believe?)
เมื่อพิจารณาคำถามต่อไปนี้ ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวหรือไม่ หลักฐานจากการทดลองทำให้เกิดการตีความตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวหรือไม่ และหลักฐานจากการทดลองสามารถถูกตีความได้ทางเดียวเท่านั้นหรือไม่ อย่างไร จะเห็นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากหนังสือหรือจากการทดลองอาจแตกต่างกันได้ ตลอดจนหลักฐานจากการทดลองสามารถถูกตีความได้หลายแนวทาง
ครูจึงควรทำให้นักเรียนเชื่อในองค์ความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้หรือสมเหตุสมผล และความรู้ที่นำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ดังนั้นคำถาม ทำไมเราจึงเชื่อ จึงเป็นการยืนยันถึงความเป็นเหตุผลของวิทยาศาสตร์ และเชื่อมโยงองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง
ตัวอย่างคำถามเช่น
4. ทำไมเราต้องสนใจ (Why should we care?)
ทำไมเราต้องสนใจ เป็นคำถามที่นำพาให้นักเรียนคำนึงถึงประโยชน์ของความรู้ที่เรียนต่อการดำรงชีวิต เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญ ตระหนัก และซาบซึ้งในวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างคำถามเช่น
ตัวอย่างการใช้คำถาม 4 คำถามสำคัญในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการใช้คำถาม 4 คำถามสำคัญในการเรียนการสอนเรื่อง กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
1. มันหมายถึงอะไร (What does it mean?) : กฎข้อที่สองของนิวตันระบุว่าความเร่งและมวลเป็นสัดส่วนผกผันหมายความว่าอย่างไร
2. เรารู้ได้อย่างไร (How do we know?) : อะไรบ้างในการสำรวจตรวจสอบที่ทำให้คุณเชื่อมั่นว่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความเร่งที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
3. ทำไมเราจึงเชื่อ (Why do we believe?) : ทำไมคุณจึงเชื่อว่าถ้าคุณผลักรถบรรทุกแล้วรถบรรทุกอาจมีความเร่งเล็กน้อย
4. ทำไมเราต้องสนใจ (Why should we care?) : หากคุณระบุความเร่งของบุคคลหรือวัตถุในกีฬา คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับแรงที่ก่อให้เกิดการเร่งความเร็วนั้นได้ในขณะที่คุณส่งเสียงเชียร์กีฬาอย่างท้าทายเพื่อเชื่อมโยงให้นักเรียนตระหนักว่า ทำไมเราต้องสนใจฟิสิกส์ในกีฬา
แหล่งข้อมูล
Eisenkraft, A. (2010). Millikan Lecture 2009: Physics for all: From special needs to Olympiads. Am. J. Phys, 78.
Eisenkraft, A. (2014). Better Assessment Through Four Essential Questions. umb.edu/cosmic/nsta_and_narst_2012
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์.
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!