icon
giftClose
profile

ผ่าทฤษฎี ‘คนไทยมาจากไหน ?? >> CRITICAL THINKING

43096
ภาพประกอบไอเดีย ผ่าทฤษฎี ‘คนไทยมาจากไหน ?? >> CRITICAL THINKING

เป็นกระบวนการ ค้นหาคำตอบ ผ่านการตั้งสมมติฐานจากการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ในการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ของประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นคือ หัวข้อ “คนไทยมาจากไหน ??“ ภายใต้….คำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ ฝึกการวิเคราะห์เชิงอธิบายข้อมูลในประเด็นต่างๆ ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ซึ่งเป็นกระบวนการ ค้นหาคำตอบ…

• เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสมมติฐานนี้เป็นจริง 

• เราจะมีวิธีการพิสูจน์สมมติฐานของเราอย่างไรได้บ้าง

• วิธีการหาคำตอบแบบใด น่าเชื่อถือมากที่สุด  

• เคยมีการพิสูจน์สมมติฐานที่คล้ายคลึงกับของเราหรือไม่  

หากมี คำตอบที่ได้เป็นอย่างไร

เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ พิจารณา วิพากษ์ ประมาณและตัดสินใจข้อมูลภายใต้กระบวนการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นเหตุเป็นผล


▶️โจทย์>>

1.ให้นักเรียนแสดงแนวคิดในมุมมองของนักเรียนผ่านวิธีการณ์ทางประวัติศาสตร์ พร้อมอธิบายเชื่อมโยงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนอย่างมีเหตุผล

***โดยแสดงแนวคิดของตัวเอง มา 1 ทฤษฎี/แนวคิด

👉🏽 พร้อมตอบคำถามว่าเพราะ??

👉🏽 อ้างอิง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

👉🏽 วิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยศึกษาจากนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์

2.ให้นักเรียนเข้าไปศึกษาใน classroom ห้องเรียน หัวข้อ ‘คนไทยมาจากไหน??’ (คลิป/สไลด์)

3.ให้นักเรียนตอบคำถามใน padlet



4.ประเด็นที่นักเรียนเลือกมากที่สุดพูดคุยในห้องเรียน

โดยการเปิด poll เพื่อให้นักเรียนโหวตที่สนับสนุนแนวคิดนั้นมากที่สุดของห้องเรียน หัวข้อ “คนไทยมาจากไหน??” 



5.หลังจากนั้น ช่วยกันวิเคราะห์ประเด็นร่วมกัน



ภายใต้….คำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้  ฝึกการวิเคราะห์เชิงอธิบายข้อมูลในประเด็นต่างๆ ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือ ศึกษาจากนักวิชาการ นักวิจัย นักประวัติศาสตร์ เป็นการฝึกฝนนักเรียนให้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต วิทยานิพนธ์ งานวิจัย หนังสือ ตำราต่างๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์

👉🏽สนับสนุนแนวคิดใด

👉🏽แนวคิดนี้เกิดจากอะไร / ทำไมจึงคิดเช่นนั้น / เพราะอะไร

👉🏽 มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อะไรบ้างที่สนับสนุนแนวคิดนี้ 

👉🏽แนวคิดนี้ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน??



#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(17)
เก็บไว้อ่าน
(10)