การใช้คำถามตาม Bloom's Taxonomy
ในปี 1956 Bloom และคณะ ได้เสนอ Bloom's Taxonomy ซึ่งเป็นการจัดจำแนกพฤติกรรมด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) ต่อมาในปี 2001 Anderson และคณะ ได้ปรับปรุงใหม่เป็น The Revised Bloom's Taxonomy ซึ่งแบ่งพฤติกรรมด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
1. จำ (Remembering) เป็นการจดจำข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ
2. เข้าใจ (Understanding) เป็นการให้ความหมายจากข้อความโดยการบรรยาย เขียน วาดภาพเพื่อสื่อสาร
3. ประยุกต์ (Applying) เป็นการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น
4. วิเคราะห์ (Analyzing) เป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นองค์ประกอบย่อย และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ
5. ประเมิน (Evaluating) เป็นการตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์หรือมาตรฐาน
6. สร้างสรรค์ (Creating) เป็นการสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบใหม่หรือโครงสร้างใหม่
รูปที่ 1 Bloom's Taxonomy (ที่มา: celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/asessment2018 )
จากพฤติกรรมด้านสติปัญญา ดังรูปที่ 1 สามารถนำไปตั้งคำถามเป็น 6 ประเภท ตามระดับขั้นของ Bloom's Taxonomy โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. คำถามประเภทความจำ มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
1.1 ถามความรู้ ความจำ เช่น ถามข้อเท็จจริง กฎ ทฤษฎี หลักการ
1.2 ใช้คำถามจำพวก ใคร (Who) อะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไหร่ (When)
1.3 ถามให้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการตอบได้เลยโดยไม่ต้องประมวลความคิด
ตัวอย่างเช่น
2. คำถามประเภทความเข้าใจ มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
2.1 ถามให้ผู้ตอบใช้ความรู้ ความจำ มาอฺธิบายในแบบที่ตนเองเข้าใจเป็นคำพูดของตนเอง
2.2 คำถามที่ให้ผู้ตอบขยายความ เป็นคำถามจำพวกทำไม (Why) อย่างไร (How)
2.3 ถามให้ยกตัวอย่าง
ตัวอย่างเช่น
3. คำถามประเภทการประยุกต์หรือการนำไปใช้ มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
3.1 คำถามที่ใช้ความรู้ในอีกบริบทหนึ่ง ไม่ใช่การใช้ประโยชน์ของสิ่งต่าง ๆ
3.2 ถามให้แก้ปัญหาโดยนำความรู้เดิมไปใช้ในสถานการณ์ปัญหาใหม่
ตัวอย่างเช่น
ข้อควรระวัง คำถามประเภทการนำไปใช้ มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคำถามที่ถามเกี่ยวกับใช้งานหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งจัดเป็นคำถามประเภทความจำ หรือความเข้าใจ ไม่ใช่ คำถามประเภทการประยุกต์หรือการนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น
4. คำถามประเภทการวิเคราะห์ มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
4.1 คำถามที่ให้เปรียบเทียบ
4.2 คำถามที่ให้เรียงลำดับ
4.3 คำถามที่ให้จำแนก แยกแยะ จัดกลุ่ม
4.4 ถามหาสาเหตุ เป็นคำถามจำพวกทำไม เพราะเหตุใด เพราะอะไร
ตัวอย่างเช่น
5. คำถามประเภทการประเมิน มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
5.1 คำถามที่ให้ตัดสินใจ
5.2 คำถามที่ให้แสดงความคิดเห็นในการประเมินค่า
ตัวอย่างเช่น
6. คำถามประเภทการสร้างสรรค์ มีวิธีตั้งคำถามดังนี้
6.1 คำถามที่ให้คิดสิ่งใหม่ หรือออกแบบ
6.2 คำถามจำพวกถ้าเกิดว่า... (What if …)
ตัวอย่างเช่น
การตั้งคำถามตามการจัดจำแนกพฤติกรรมด้านสติปัญญาของบลูม (Bloom's Taxonomy) ทั้ง 6 ประเภท นี้ครูสามารถนำไปตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน หรือกระตุ้นการคิดให้กับนักเรียนในระหว่างการเรียนการสอน หรือใช้ประเมินระดับขั้นทางสติปัญญาของนักเรียนหลังการเรียนรู้เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย