การเรียนรู้ผ่านออนไลน์นั้นย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ในเมื่อเราจำเป็นที่จะต้องอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid-19 แล้วนั้น เราก็จะเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปในสถานการณ์แบบนี้ให้ได้
การเรียนรู้ที่ดีคือการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฎิบัติ นั้นหมายความว่า การเรียนรู้ผ่านออนไลน์ นักเรียนก็จำเป็นที่จะได้ลงมือปฏิบัติด้วยเช่นกัน แต่ข้อจำกัดก็คือว่า ถ้างานที่นักเรียนจะต้องทำงานกลุ่ม แลัวนักเรียนจะสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ นั้นเป็นคำถามที่ผมตั้งขึ้นเอง และพยายามที่จะหาวิธีการให้นักเรียนทำงานร่วมกันได้ นอกจากการทำงานร่วมกันแล้ว สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการทำงานคือ การที่นักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองกับคนอื่นๆ ฝึกฟังจับประเด็น แล้วช่วยกันคิดและออกแบบงานตามเงื่อนไขที่กำหนดให้
ในส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนวันนี้ เราพูดถึงการสร้างนวัตกรรรมที่จะเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาของ User (ผู้ใช้งาน) ซึ่งนวัตกรรมที่นักเรียนได้คิดขึ้นมีทั้งที่เป็น ชิ้นงาน บริการ และกระบวนการ และเมื่อนักเรียนได้ร่างไอเดียของนวัตกรรมในกระดาษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะทำอย่างไรเพื่อให้ User นั้นเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงฟังก์ชันการทำงานของนวัตกรรมที่จะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ ครูจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ ผ่านการสร้างงาน 3D โดยมีกระบวนการเรียนรู้ดังนี้
แล้วถ้าเราไม่สามารถทำ prototype ที่จับต้องได้ (เนื่องจากมาร่วมกลุ่มกันไม่ได้) จะต้องทำอย่างไร #ก็เปลี่ยนเป็นการทำงานออนไลน์สิ ด้วยการสร้างงาน 3D ผ่าน tinkercad
ขอบคุณพื้นที่สำหรับแบ่งปันไอเดีย
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!