icon
giftClose
profile

ฟิสิกส์...ไม่ควรจบแค่สูตรหรือสมการ

11781
ภาพประกอบไอเดีย ฟิสิกส์...ไม่ควรจบแค่สูตรหรือสมการ

วันนี้มาแบ่งปันไอเดียการสอนหัวข้อ "กฎของโอห์มและตัวต้านทาน" สำหรับ ม.ปลาย ครับ ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าการสอนที่จะมีประสิทธิภาพไม่ควรอยู่แค่ใช้สูตรแก้โจทย์ในตำราได้ แต่การเชื่อมโยงความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้นักเรียนได้คิดและต่อยอดครับ

เราเรียนเรื่องกฎของโอห์มไปทำไม?

สวัสดีครับ....วันนี้จะมาแบ่งปันวิธีการสอนในหัวข้อ "กฎของโอห์มและตัวต้านทาน" สำหรับนักเรียน ม.ปลาย จริงๆ แล้วสมการหลักๆ มีเพียง

  • v = iR (กฎของโอห์ม)
  • R = (ρl)/A = l/(σA) (ความต้านทานทางไฟฟ้าของวัสดุตัวนำ)
  • R = Ro[1+α∆T] (ความต้านทานของวัสดุตัวนำที่ขึ้นกับอุณหภูมิ)

หน้าที่ระหว่างครูและนักเรียนคือการเชื่อมโยงสมการข้างต้นให้เห็นภาพในชีวิตจริง

ต้องบอกก่อนว่าเนื้อหาในส่วนนี้เป็นหลักสูตรเฉพาะของทาง รร. นะครับ ไม่ได้ตามตำราเรียนหรือหลักสูตรแกนกลางทั้งหมด แต่โดยรวมยังคงครอบคลุม

ก่อนอื่นต้องชี้แจงก่อนว่าส่วนตัวผมมีเวลาในการสอนเรื่องนี้ 180 นาที แต่เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รวมถึงไม่อยากสร้างภาระให้เด็กๆ ที่จะต้องมาเรียนสดตลอด เลยแบ่งเป็น


  • self & assignment 120 นาที สำหรับการเรียนเนื้อหาจากคลิป 2 คลิป ความยาวรวม 33 นาที ดังนั้นเวลาที่เหลือ ผมจะสร้างฟอร์มไว้ให้สำหรับเขาได้ลองทำโจทย์ ไล่ตั้งแต่ง่ายๆ ไปถึงระดับเกือบยาก ซึ่งตรงนี้ไม่บังคับ ไม่มีคะแนนถูกผิด เน้นให้เขาเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตัวเอง (กรณีที่นักเรียนติดขัดใดๆ สามารถ inbox หาครูได้ตลอดครับ)
  • live discussion 60 นาที ตรงนี้ไม่ใช่การทวนเนื้อหาแต่เป็นการร่วมกันอภิปรายด้วยตัวอย่างหรือบริบทอื่น ดังที่ผมจะแนบแผนการสอน 60 นาที นี้ไว้ให้นะครับ หลักๆ คือนักเรียนเรียนจากคลิปก็จะเข้าใจเพียงเนื้อหา จำสูตร ฝึกทำโจทย์ ดังนั้นเมื่อมาเจอกันสดๆ ต้องทำให้แตกต่างและเขารู้สึกคุ้มค่าที่มานั่งเรียนครับ

สำคัญที่สุดของคาบนี้คือ ทำให้นักเรียนเชื่อมโยงคำเหล่านี้ผ่านอะไรสักอย่างให้ได้ ได้แก่ สภาพต้านทานทางไฟฟ้า (ρ) สภาพนำทางไฟฟ้า (σ) ความต้านทาน (R) ความยาววัสดุ (l) พื้นที่หน้าตัดวัสดุ (A) อุณหภูมิ (T) ความต่างของอุณหภูมิ (∆T) สัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิของวัสดุ (α) กระแสไฟฟ้า (i) และความต่างศักย์ (v) ซึ่งสิ่งที่นักเรียนน่าจะคุ้นเคยที่สุดก็คือ หลอดไฟแบบหลอดไส้ หรือ เตารีด (ขดลวดความร้อน)


ท้ายที่สุดนี้ผมเข้าใจดีว่าบริบทของนักเรียนที่ต่างๆ ก็มีความต่างกันออกไป...คุณครูทุกท่านที่เข้ามาอ่านก็ลองนำไปปรับใช้หรือใช้เป็นแนวทางดูนะครับ ถ้าเราละทิ้งลำดับเนื้อหาตามตำราแล้วไปโฟกัสที่ตัวชี้วัดจริงๆ บริบทการเรียนการสอนของครูก็ย่อมเปลี่ยนตาม...เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: แผนการสอน - กฎของโอห์มและตัวต้านทาน - insKru.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 37 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(2)