เริ่มต้นถามคำถามกับนักเรียนว่า "นักเรียนเคยปากแตกไหม ตอนหน้าหนาว" ทำเสียงขึงขังเรียกความสนใจ คำตอบของนักเรียนอาจจะแตกต่างกันไป จากนั้นครูก็สรุปเข้าเรื่องสารละลาย ไอโซโทนิกส์ ไฮเปอร์โทนิกส์ และไฮโปโทนิกส์ดังภาพ
เฉลยว่าในหน้าหนาว เซลล์เหมือนเจอกับสารละลายไฮเปอร์เซลล์เลยเหี่ยว
*ร่างกายต้องมีการรักษาดุลยภาพ การรักษาดุลยภาพต้องเริ่มจากองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต คือ “เซลล์” วันนี้จึงต้องเรียนเรื่องการรักษาดุลยภาพของเซลล์ซึ่งเริ่มจากกระบวนการขนส่งสารเข้าและออกจากเซลล์ เช่น การลำเลียงกลูโคสซึ่งเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการเมทาบอลึซึม*
อธิบายและสรุปความรู้เกี่ยวกับ Passive และ Active Transport
Passive ได้แก่ การแพร่ Diffusion มี 2 แบบ คือ แพร่ธรรมดาและมีตัวพา
กรณี 1 เเพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เงื่อนไข
กรณี 2 เเพร่ผ่านโปรตีนเเชลแนล เงื่อนไข
กรณี 3 เเพร่ผ่านโปรตีนแครี่เออร์ เงื่อนไข
2 และ 3 ต่างกันที่ ถ้าเปรียบการขนส่งสารเป็นการลงจากตึก กรณี 2 จะเป็นการโดดลงพร้อม ๆ กัน แต่ 3 เป็นการลงลิฟท์
*สรุป* กรณี 1 และกรณี 2 จัดเป็นการแพร่แบบธรรมดา
กรณี 3 จัดเป็นการแพร่แบบมีตัวพา (Facilitated)
Active ได้แก่ ลำเลียงสารผ่านโปรตีนแครี่เออร์ เงื่อนไข/หลักการ
จากนั้นชวนคุยโดยใช้คำถามว่า "สังเกตหรือเปล่าว่าการเเพร่ทั้งสองประเภทมีอะไรเหมือนกัน" คำตอบ เป็นการลำเลียงสารขนาดเล็ก
คำถามต่อ "แล้วการลำเลียงสารที่มีขนาดใหญ่ทำได้อย่างไร"
การลำเลียงสารขนาดใหญ่ใช้ทิศทางการลำเลียงในการจำแนก
เอนโดไซโทซิส (endocytosis)
เอกโซไซโทซิส (exocytosis)
ทั้งหมดเป็นการขนส่งสาร แต่เซลล์ก็มีการรักษาดุลยภาพของน้ำนั่นคือ การออสโมซิส ให้นักเรียนเข้าใจคำว่า เข้มข้นมากน้ำน้อยและความเข้มข้นน้อยน้ำมาก
กาแฟเข้มมาก ใส่น้ำน้อย กาแฟเข้มน้อย ใส่น้ำมาก
การออสโมซิส จากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย(น้ำมาก)ไปความเข้มข้นมาก(น้ำน้อย)
การแพร่ จากบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก(น้ำน้อย)ไปความเข้มข้นน้อย(น้ำมาก)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!