ในยุคที่เรียกกันว่า ก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคที่พื้นที่เขตแดนยังไม่เกิด ความเป็นรัฐชาติยังไม่มี แผนที่ประเทศยังไม่ปรากฎ ผู้คนในดินแดนแถบนี้ ต่างเดินทางไปมาหาสู่ ค้าขาย กันอย่างอิสระ ปลูกข้าว ทำไร่ไถนา ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีความเชื่อและความกลัวในอำนาจที่เหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น เช่น ฝนตก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว ต่างเกิดจากอำนาจที่สูงส่ง เพื่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็น ผลผลิตทางการเกษตรเก็บเกี่ยวได้ผลงดงาม จึงต้องบูชาและกราบไหว้
ไล่เรื่อยมาตั้งแต่วัฒนธรรมลุ่มน้ำอิรวดี วัฒนธรรมลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำมูลจนถึงลุ่มน้ำโขง ต่างเป็นการรวมตัวของ "ชนเผ่า" ที่สร้างสังคมและชุมชนเล็กๆ ที่ยังไม่ขยายตัวเป็นอาณาจักรหรือนครรัฐ ที่ดำรงชีวิตภายใต้อำนาจที่เหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมที่สืบทอดมาจนเป็นวัฒนธรรมแห่งความเชื่อ
หากจะกล่าวง่ายๆ คือ ศาสนาผีนั้นชุมชนชาวอุษาคเณย์ได้นับถือมาเนิ่นนานแล้วจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ซึมลึกในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เกิดจนตายหรือแม้แต่หลังความตาย
ผี คือ สถานะคู่ตรงข้ามกับมนุษย์ ตรงข้ามกับสถานะการมีอยู่ของชีวิต คือสิ่งที่มีอยู่ในโลกหลังความตาย
ศาสนาผี ต่างจากศาสนาอื่น ที่มีระบบความเชื่อเรื่อง "ขวัญ" ขวัญแตกต่างจากวิญญาณที่ออกจากร่างแล้วกลายเป็นผี ส่วนขวัญนั้นต่างออกไป ขวัญไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน แต่อยู่ประจำตัวตนมาตั้งแต่เกิด ขวัญที่สำคัญที่สุดอยู่กลางกระหม่อม หรือที่เรียกว่า "จอมขวัญ" คนโบราณเชื่อว่า คนตายเพราะขวัญหาย จึงทำพิธีเรียกขวัญ เดี๋ยวขวัญก็กลับมาคืนร่างเจ้าของ จึงนำศพไปฝังดินไว้ หากไม่กลับมาคืนร่างจริงๆแล้ว จึงทำพิธีส่งขวัญให้ไปอยู่กับแถนบนฟ้า แล้วจึงนำศพที่เปื่อยเหลือแต่กระดูกนั้นไปล้างน้ำ ทำความสะอาด นำมาบรรจุลงภาชนะดินเผา แล้วนำมาทำพิธีฝังอีกครั้ง เรียกว่าประเพณีฝังศพครั้งที่สอง (Secondary Burial )
รูปภาพตรงกลางของกลองมโหระทึกที่ทำจากสำริดที่มีอายุราวพันปี สอดคล้องกับพิธีเรียกขวัญ สันนิษฐานได้ว่า นั้นคือรูปร่างของ "ขวัญ"
คำว่า "ผี" เป็นภาษาตระกูลไท-ไต มีความหมายเดียวกัน กับคำว่า "เทวดา" หรือ "เดวะ" ในภาษาสันสกฤต
ผี แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ผีดี และ ผีที่ไม่ดี
คนหรือมนุษย์ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้กระทำคุณงามความดีและเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน เช่น ผีบรรพชน ผีปู่ตา ผีปู่ย่า ผีเสื้อเมือง ผีเจ้านาย เป็นต้น
ผีประเภทนี้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
คนที่ตายไม่ดี ตอนที่มีชีวิตอยุ่ทำผิดผีหรือของเข้าตนเอง เมื่อตายไปกลายเป็นผีไม่ดี เช่น ผีปอบ ผีห่า ผีกะ(ผีทางภาคเหนือ) เกิดจากผิดของต้องห้ามทางสังคม ผีตายโหง เป็นต้น เป็นผีที่ให้โทษในทางร้ายต่อมนุษย์ อาศัยอยู่ทั่วไป ไม่มีที่สถิตเป็นหลักแหล่งชัดเจน จึงต้องทำการป้องกันภัยอันตรายนั้น เช่น ผูกด้ายสายสิญ ฝังหลักบือ(สะดือ)บ้าน ฝังหลักกลางบ้าน ปักเฉลวไว้ตามบ้าน
ขอยกตัวอย่างหลักๆ เพียง 5 พิธีกรรมหลัก หากแต่ในสังคมพื้นที่ต่างๆก็อาจมีพิธีที่แยกย่อยหรือแตกต่างออกไป
พิธีบายศรีสู่ขวัญ บ้างก็ว่าเป็นพิธีของพุทธก็มี เป็นพิธีของพราหมณ์ก็มี ถึงอย่างไรพิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของศาสนาผีมาแต่โบราณนับพันปี
ศาสนาผี ในดินแดนอุษาคเณย์มีประวัติศาสตร์ที่มายาวนานราว 2,500-3,000 ปีก่อน ในปัจจุบันนี้ยังหลงเหลือเค้าเดิมและได้ผสมผสานกับศาสนาใหม่อย่างศาสนาพุทธและพราหมณ์อย่างแยกกันไม่ออก จนมีนักวิชาการรุ่นหลังให้คำนิยามว่าเป็น "ศาสนาไทย"
ประวัติศาสตร์ที่เรียนกันมาในโรงเรียนได้ตัดทิ้งสิ่่งเหล่านี้ไปอย่างน่าเศร้าใจ และลดระดับให้เป็นความเชื่อกระเเสรองหรือความเชื่อท้องถิ่น พื้นบ้านพื้นเมือง และยกระดับศาสนาพุทธให้เป็นใหญ่แทน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย