ด้วยเจตนาข้างต้น ทำให้สถานศึกษามีการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนออกแบบให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของพื้นที่ และบริบทต่าง ๆ ของสถานศึกษา โดยที่โรงเรียนบ้านจอหอได้พิจารณาพัฒนารูปแบบการสอนแบบ On-Hand คือ การเรียนรู้ที่บ้านโดยครูจัดทำเอกสาร หรือใบงานให้กับนักเรียน ซึ่งอาจเป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป โดยมีครูออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นครูคอยช่วยเหลือ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการการน้อมนำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” อันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้พิจารณาถึงกระบวนการดำเนินงานที่มีคุณภาพตามวงจร PDCA คือ กระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ของศาสตราจารย์เดมมิ่ง (Deming's cycle) วงจรคุณภาพนี้เป็นวงจรที่ต่อเนื่องของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อมุ่งสู่อนาคต โดยต้องมีการถ่ายทอดทักษะจากนักศึกษารุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งจะทำให้นักศึกษารุ่นใหม่ๆ ไม่ต้องเสียโอกาสและเสียเวลาในการเรียนรู้ฝึกทักษะเดิมที่ผ่านมา แต่สามารถทำงานต่อยอดจากทักษะในอดีตและพัฒนาเป็นทักษะใหม่ที่ดีกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้ครูยุทธเดช อันทอง โรงเรียนบ้านจอหอจึงได้ศึกษาเอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อได้นำมาสังเคราะห์เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ โดยใช้
ประกอบไปด้วยวงจรกระบวนการ ๔ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ยุทธเดช อันทอง , ๒๕๖๔)
๑) G = Goal
หมายถึง การร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการจัดการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการประชุมคณะครู และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา จุดเน้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เกิดความสอดคล้องกันในการปฏิบัติงาน นำไปสู่การร่วมกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้และวางแผนในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ภายใต้แนวคิด “ ร่วมกำหนดหลักชัย ”
๒) O = Organization
หมายถึง การร่วมกันดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามแผนที่ได้กำหนดไว้เป้าหมาย โดยการแบ่งหน้าที่การในการปฏิบัติชัดเจนและถูกต้อง เน้นการมีส่วนร่วม ทำตามลำดับขั้นตอน เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อน และให้คำปรึกษาแก่ ผู้ปกครองและผู้เรียน และกำกับติดตาม ร่วมถึงให้กำลังใจในการทำงาน โดยการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างร่าเริง รื่นเริง กระฉับกระเฉง มีพลัง รวมถึงให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ภายใต้แนวคิด “ กลไกเป็นระบบ ”
๓) O = Obviousness
หมายถึง การติดตามดูแลกระบวนการเรียนการสอนให้มีความชัดเจน ตรวจสอบได้ โดยการนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ที่ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ ด้วยการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการติดตามดูแลที่มีประสิทธิภาพครบตามมาตรฐานอย่างชัดเจน และตรวจสอบได้ ภายใต้แนวคิด“ ครบเกณฑ์มาตรฐาน ”
๔) D = Development
หมายถึง ร่วมสรุปผลการพัฒนา และสะท้อนบทเรียนที่ได้รับจากการพัฒนาร่วมกัน นำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาอื่น ๆ ภายใต้แนวคิด “ พัฒนาการต่อยอด ”
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย