icon
giftClose
profile

วัฒนธรรมลื่นไหล - แพลตฟอร์มที่เป็นมือขวาตัวช่วยครู

29007
ภาพประกอบไอเดีย วัฒนธรรมลื่นไหล - แพลตฟอร์มที่เป็นมือขวาตัวช่วยครู

ตัวช่วยสำหรับครูผู้สอนอย่างเราๆ ง่ายขึ้นเยอะเมื่อมี Platform MIRO (real-time brainstorming) แพลตฟอร์มช่วยระดมความคิดแบบเรียลไทม์ เหมือนแปะโพสอิสบนกระดาน ที่จะทำให้การสอนออนไลน์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เด็กๆ หลายคนอาจจะเขินอายเมื่อจะต้องเปิดเสียง/เปิดกล้อง ฉะนั้นตัวช่วยนี้ จะทำให้ได้เห็นความคิดของเด็กๆ

วันนี้มาใน ธีม_วัฒนธรรมลื่นไหล

ที่มาพร้อมกับตัวช่วยสำหรับครูผู้สอนอย่างเราๆ ง่ายขึ้นเยอะเมื่อมี Platform MIRO จึงทำให้ไปหาแพลตฟอร์ม ที่เป็นตัวช่วยสำหรับเรา นั่นคือ Miro (real-time brainstorming)  แพลตฟอร์มช่วยระดมความคิดแบบเรียลไทม์ ที่จะทำให้การสอนออนไลน์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เหมือนแปะโพสอิสบนกระดาน เด็กๆ หลายคนอาจจะเขินอายเมื่อจะต้องเปิดเสียง/เปิดกล้อง ฉะนั้นตัวช่วยนี้ จะทำให้ได้เห็นความคิดของนักเรียน เป็นภาพรวม ผ่านประเด็น ‘วัฒนธรรมลื่นไหล’ 


👉🏽ปิ๊งไอเดีย

ความหลากหลายของนักเรียนในห้อง เมื่อต้องเข้าเรียนออนไลน์…ครูคะ…ครูขาาา..ที่ไม่ว่าคาบเช้า หรือ คาบบ่าย….เจอเหตุการณ์แบบนี้กันไหมล่ะคะ?฿&@

…บ้างบอก พึ่งตื่น

…บ้างบอก ง่วงนอน

…บ้างบอก หน้าสด

…บ้างก็บอก ทานข้าว

…บ้างก็บอก หนูอาย



ครูเองต้องทำความเข้าใจ แม้จะบวกคะแนนให้ พวกเขาก็ไม่ยอมเปิดกล้องจ้าา (ลองแล้ว555) ฉันล่ะหมดแพรสชั่น😅


จึงทำให้ไปหาแพลตฟอร์ม ที่เป็นตัวช่วยสำหรับเรา นั่นคือ Miro (real-time brainstorming)  แพลตฟอร์มช่วยระดมความคิดแบบเรียลไทม์ >>ว่าซั่น!! เริ่มเลย


แพลตฟอร์มนี้สามารถให้เรา.....

✍🏻สร้าง Whiteboard ออนไลน์ …ว่าปายย

🚫มีส่วนร่วมได้แบบ Real-time

⭕️ แบ่งกลุ่มทำงานกลุ่มร่วมกันก็ทำได้

▶️ รู้เลยว่าสมาชิกคนใดในทีมเข้ามาแล้วบ้าง

🖊 มีไวท์บอร์ด และ กระดานวาดรูป

👍🏻 Template >> Agile Workflows / Ideation & Brainstorming / Mapping & Diagramming / Meetings & Workshops / Research & Design / Strategy & Planning

🗣สำคัญ ใช้ฟรี!!!😅😂


สรุปข้อเด่นของ Miro สำหรับการระดมสมองแบบเรียลไทม์ (Real-time brainstorming) 

  • สร้างบอร์ดแชร์ไอเดีย สามารถเปิดดูและแก้ไขบอร์ดเสนอไอเดียได้แบบ Realtime
  • จัดเรียง ปรับโครงสร้าง แชร์ไอเดียกับเพื่อนในทีมได้ จะเห็นการเคลื่อนไหวของเพื่อนในทีมตลอดเวลาเพราะตรง mouse cursor ของแต่ละคนจะมีชื่อแปะไว้อย่างชัดเจนทันทีที่เข้าเว็บไซต์
  • แปะกระดาษไอเดีย แนบรูป เอกสารต่าง ๆ ลงบอร์ดได้อย่างอิสระ
  • สามารถ import ข้อมูลเข้ามาได้ หรือเมื่อระดมไอเดียเสร็จแล้ว ก็สามารถ export ออกไปเป็นรูปภาพหรือ PDF แล้วส่งไปที่ email หรือช่องทางอื่น ๆ ได้ด้วย สามารถเลือกแชร์ไอเดียแบบสาธารณะหรือแบบส่วนตัวก็ได้
  • พร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ อื่น ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย


ซึ่งครูสามารถช่วยแนะนำประเด็นเพิ่มเติมให้ feedback นักเรียนได้ทันที ร่วมแสดงความคิดเห็นไปพร้อมๆ กับนักเรียนด้วยด้วย



✍🏻>>เข้าเรื่องประเด็นในธีมสอนบ้างล่ะกัน 5555


👉🏽’ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว’

▶️ขั้นนำ 

1.เรามาทดลองหาของรอบบ้านแล้วเช็คลิสต์กันเถอะ... กระตุ้นด้วยคำถาม

  • เคยสังเกตไหมว่าของใช้รอบตัวเรา มีความเกี่ยวข้องกับ ‘วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย’
  • สิ่งของนั้น มันกระซิบเล่าเรื่องอะไรให้ฟังบ้าง ?


👉🏽’ประวัติศาสตร์เล่าเรื่อง’ 

▶️ขั้นกิจกรรม

2.ให้นักเรียนแชร์ เล่าความรู้สึกที่ผูกพันสิ่งของ/ความทรงจำในอดีต  และครูกระตุ้นด้วยคำถามอีกครั้งกวนๆ กระแสให้ตอบและคิดตาม…การศึกษา ‘วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย’ ทำให้เรามองเห็นอะไรบ้าง? (ภายใต้ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง) จะช่วยเราค้นหาคำตอบที่มาที่ไปของวัตถุรอบกาย


👉🏽’ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย’

▶️ขั้นสรุป

3.ครูและนักเรียนร่วมกันแชร์/ระดมความคิด/สรุปองค์ความรู้  เช่น…

>ยกตัวอย่าง

…สมมติเป็น ‘ครก’ 

• ลองเดาสิบ้านเรามีครกเอาไว้ทำอะไร 

• ทำไมครกถึงทำจากหินแล้วหินมาจากที่ใด 

• ครกที่บ้านเราต่างจากของบ้านเพื่อนไหม หรือลองเข้าอินเทอร์เน็ตดูว่าประเทศอื่นเขาใช้ครกกันหรือเปล่า

• แต่ตอนนี้มีเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้ว แล้วครกเอาไว้ทำอะไร (หรือเอาไว้ทับกระดาษ)      

 

…สมมติเป็น ‘กระต่ายขูดมะพร้าว

• ลองเดาสิบ้านเรามี ‘กระต่ายขูดมะพร้าว’ เอาไว้ทำอะไร 

• ทำไม ‘กระต่ายขูดมะพร้าว’ ถึงทำจากไม้ แล้วมีพัฒนาการโดยใช้สิ่งอื่นอีกไหม

•  ‘กระต่ายขูดมะพร้าว’ ที่บ้านเราต่างจากของบ้านเพื่อนไหม หรือลองเข้าอินเทอร์เน็ตดูว่าประเทศอื่นเขาใช้ ‘กระต่ายขูดมะพร้าว’ กันหรือไม่

• แต่ตอนนี้ยังใช้อยู่หรือเปล่า หรือ ใช้กะทิกล่องแทน



>>>ยางงงง ยางงงง ไหน แพลตฟอร์ม MIRO ล่ะ

ไม่ถึงสักที …ใกล้ล่ะๆๆ


4.ชวนนักเรียนตั้งคำถาม/ข้อสงสัย เกี่ยวกับ “เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาไทย” เช่น 

ครูกระตุ้นด้วยคำถาม…

  • นักเรียนคิดว่า....มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยใดบ้าง ที่นักเรียนอยากรักษาไว้ ???
  • มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยใดบ้าง ที่คิดว่าควรเปลี่ยนแปลง หรือ คงไว้ ??


5.ครูใช้วิธีตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามโดยคิดอย่างหลากหลายประเด็นและมีเหตุผลในการแสดงความคิดเห็น และพูดคุยแลกเปลี่ยนในแง่ประเด็นต่างๆ


📲ผ่านแพลตฟอร์ม miro 📲 นี่ไง🤩

🗣topic เกี่ยวกับ ‘วัฒนธรรมลื่นไหล’ 

เช่น

💢’ติ่งเกาหลี’ คิดยังไงกับคำนี้

💢ลิเกเป็นของไทยจริงไหม?

💢โขนเป็นของใครกันแน่?

💢คิดยังไงกับ คำว่า ‘นางวันทองสองใจ’

ภายใต้ประเด็นร้อนแรง หลังจากนั้นนำมา discuse กันในห้อง แลกเปลี่ยนแชร์กัน

_ซึ่งไม่บอกใครถูก ใครผิด หรือ ชี้นำเด็ดขาด  



6.หลังจากนั้นให้นักเรียนสร้าง Infographic “เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน”...โดยยกตัวอย่าง วัตถุหลากหลายชนิด (รูปภาพ) ที่บอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของผู้คน ในแง่ประเด็นต่างๆ 


อ้อออ…คิดขึ้นได้ !! ยืดหยุ่นหน่อย รวบรัดตัดตอน ไม่สร้างภาระงาน ….เอางี้ ดีกว่า ขอไปหาแพลตฟอร์มมาช่วยให้ครูตรวจงานง่ายๆดีกว่า ลดภาะระงาน กระชับเนื้อหา ให้เข้าใจง่าย


>>ติดตาม Ep. ต่อไป


#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(13)
เก็บไว้อ่าน
(17)