icon
giftClose
profile

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 (ว่ากันตามหลักฐาน)

718612
ภาพประกอบไอเดีย การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 (ว่ากันตามหลักฐาน)

การถกเถียงว่าด้วยความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผ่านบริบท และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากมุมมองที่หลากหลาย

วิกฤติการณ์ทางการเมืองวนมาครั้งใด ผู้คนมักย้อนกลับไปถกเถียงเกี่ยวกับความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เหมาะสมกับยุคสมัยหรือไม่ อย่างไร

  • อนุรักษ์นิยม ที่เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ "ชิงสุกก่อนห่าม" ก็มักจะเชื่อว่าพระราชอำนาจควรคืนกลับไปที่กษัตริย์ ทุกครั้งที่การเมืองถึงทางตัน
  • เสรีนิยม ที่เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีความชอบธรรม แต่ยังไม่สำเร็จ ก็มักจะ "สานต่อภารกิจของคณะราษฎร"

คาบเรียนประวัติศาสตรืไทยจึงเป็นโอกาสที่ดี เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ถกเถียงเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ในบ้านเมืองที่ไม่สามารถถกเถียงทุกเรื่องได้อย่างเท่าเทียม การเลือกใช้หลักฐานเป็นตัวนำบทสนทนาจึงมีประโยชน์ไม่เพียงแต่ให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่ แต่ยังป้องกันการเสนอความเห็นของผู้สอนที่เต็มไปด้วยอคติ (และการชี้นำทางการเมือง) ของตนเองให้ผู้เรียน


ข้อเขียนชิ้นนี้ จึงอยากมาแบ่งปัน หลักฐาน คำถามสำคัญ และกระบวนการที่ใช้ใน 1 คาบ


เป้าหมายบทเรียน

  • วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากบริบทและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้
  • เสนอข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ผ่านบริบท และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีดได้
  • วิเคราะห์บทบาทและมุมมองของสถาบันกษัตริย์ที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงของราษฎร


ขั้นนำ

หลักฐานที่ใช้

  • ชุดภาพว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตั้งแต่ วันก่อการจนถึง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

คำถามสำคัญ

  • การมีความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอดีตที่แตกต่างกัน มีความสำคัญ หรือส่งผลต่อปัจจุบันอย่างไร

วิธีการ

  • ผู้สอนเล่าเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างคร่าว ผ่านภาพ ให้ผู้เรียนทราบว่าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น
  • ผู้สอนประมวลข้อถกเถียงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และผลของข้อถกเถียงที่มีต่อปัจจุบัน


ขั้นสอน จำแนก เป็น 3 ช่วง ผ่าน 3 มุมมอง ได้แก่

ช่วงที่ 1 ปัญหาของสยาม และทางออก ผ่านมุมมองของคณะราษฎร

หลักฐานที่ใช้

  • ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1

คำถามสำคัญ

  • นักเรียนเห็น "ปัญหา" เรื่องใดบ้าง จากมุมมองของคณะราษฎร
  • คณะราษฎรต้องการอะไร

วิธีการ

  • แบ่งหลักฐานเป็นย่อหน้า ผู้สอนและผู้เรียนอ่านหลักฐานพร้อมกัน แล้วอภิปรายทีละประเด็น



ช่วงที่ 2 ความเคลื่อนไหวสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อน พ.ศ. 2475 ผ่านมุมมองของนักประวัติศาสตร์ไทย

หลักฐานที่ใช้

  • คำกราบบังคมทูล ฯ กลุ่มข้าราชการ ร.ศ. 103 (นักเรียนอ่านมาก่อนตอนเรียนเรื่อง ร.5 แล้ว)
  • ข้อเขียนของเทียนวรรณ "ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ" (นักเรียนอ่านมาก่อนตอนเรียนเรื่อง ร.5 แล้ว)
  • หลักฐานชั้นรองอื่น ๆ เช่น ตำราเรียน ซึ่งให้บริบทเกี่ยวกับปัญหา และแรงผลักดันสู่ความต้องการเปลี่ยนแปลง

คำถามสำคัญ

  • คณะราษฎร คือ คนกลุ่มแรกหรือไม่ที่มีข้อเรียกร้อง (รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง เสรีภาพ ความเท่าเทียม) ต่อกษัตริย์
  • เพระเหตุใด ประชาชน (ตั้งแต่ ร.5-7) จึงต้องการ ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

วิธีการ

  • ให้ผู้เรียนสังเกตความคล้ายคลึงของข้อเรียกร้อง จากหลักฐานของคนแต่ละกลุ่ม
  • ผู้สอนบรรยายบริบท และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบ




ช่วงที่ 3 มุมมองและบทบาทของกษัตริย์ต่อความต้องการเปลี่ยนแปลงของราษฎร

หลักฐานที่ใช้

  • พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคี (ร.5)
  • ถ้อยคำของ ร.5 ที่กล่าวอ้างว่าเตรียมให้ "ลูก" พระราชทานรัฐสภาพ และรัฐธรรมนูญ
  • "ความเป็นชาติโดยแท้จริง" พระราชนิพนธ์บางเรื่องใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ปัญหาของสยาม พระราชหัตถเลขา ร.7 พระยากัลยาณมิตร
  • ร่างรัฐธรรมนูญของ ร.7

คำถามสำคัญ

  • กษัตริย์มีท่าที "สนับสนุน" หรือ "ต่อต้าน" การเปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด
  • กษัติรย์มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยอย่างไร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็น "ประชาธิปไตย" หรือไม่

วิธีการ

  • ผู้สอนอ่านข้อเขียนของกษัตริย์ ผู้เรียนอภิปรายจากหลักฐานเพื่อตอบคำถามสำคัญ



ขั้นสรุป- จากหลักฐานและบริบททั้งหมด เปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอมุมมองที่มีต่อ 2475 ผ่านหลักฐานที่มี และอภิปรายคำตอบของผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

  • นักเรียนควรถูกฝึกให้ตั้งคำถาม และอ่านหลักฐานมาก่อน
  • หลักฐานบางชิ้นที่มีความคาบเกี่ยวกับ ร.5 ควรได้อ่านมาก่อน
  • หลักฐาน คือ "ความจริง" เพียงมุมเดียว อย่ารีบด่วนติดสินก่อนรับมุมมองที่หลากหลาย
  • ตระหนักเสมอว่าหลักฐานไม่ได้บอกว่าผู้สร้าง "คิดอะไร" หลักฐาน คือ การประกอบสร้างเชิงความหมาย ให้ผู้อ่านเข้าใจว่า "เขาคิดอะไร"
  • มุมมองที่เสนอในคาบนี้ ไม่ใช่มุมมองที่ถูกหรือผิด สาระสำคัญ คือ ความสามารถในการโต้แย้งผ่านหลักฐานและข้อมูลที่มี หากผู้เรียนค้นหาข้อมูลเพิ่ม และเกิดมุมมองอื่น ไม่ควรด้อยค่า
  • ระมัดระวังถ้อยคำ การเปรียบเทียบ และการตีความเกินเลยจากหลักฐาน

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: บทเรียนที่ 11 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 142 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(14)
เก็บไว้อ่าน
(11)