บอร์ดเกมการศึกษา ประกอบการฝึกหรือทบทวนการผันคำกริยาภาษาญี่ปุ่น สามารถเล่นเป็นกลุ่มในห้องเรียน หรือเล่นเป็นรายบุคคลกลุ่มเล็กๆได้ เพื่อพัฒนาทักษะการคำกริยารูปต่างๆในภาษาญี่ปุ่น ครูสามารถเป็นผู้กำหนด ควบคุมเกม หรือหากนักเรียนผันกริยาคล่องแล้ว สามารถเล่นบอร์ดเกมนี้ในกลุ่มนักเรียนเองได้เช่นกัน
ชื่อเกม บอร์ดเกมผันคำกริยาภาษาญี่ปุ่น
จำนวนผู้เล่น 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนไม่เกิน 20 คน (สำหรับห้องแผนภาษาญี่ปุ่น) แบ่งกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 10 คน จำนวน 2 กลุ่ม
เวลาการเล่น 30 นาที อายุ 16-18 ปี
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนแผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น ที่กำลังเรียนเรื่องการผันคำกริยา หรือนักเรียนที่ต้องการทบทวนการผันคำกริยา
รูปแบบเกม เกมการศึกษา เนื้อหา การผันคำกริยา รูปพจนานุกรม(辞書形)และรูป te(て形)วิชา ภาษาญี่ปุ่น
จุดประสงค์
ด้าน K – ศึกษาการผันคำกริยารูปพจนานุกรมและการผันคำกริยารูป te
ด้าน P - ผันคำกริยารูปพจนานุกรมและการผันคำกริยารูป te ตามกฎการผันได้
ด้าน A - ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
ขั้นเตรียมการ
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 2กลุ่ม
2. แต่ละกลุ่มจะได้รับ
- การ์ดคำกริยากลุ่มละ 1 ชุด มีการ์ดทั้งหมด 40 ใบ
- หมุดสี ใช้ปักกระดาน เมื่อได้รับสิทธิในการขอสิทธิ์การผันกริยา
- กล่องใส่คำกริยาที่ผันแล้ว วางไว้ที่หน้าครู
ขั้นตอนการเล่น
เงื่อนไขของการผันคำกริยา คือ นักเรียนต้องผันคำกริยาจากการ์ดที่ครูกำหนดให้เป็นรูปพจนานุกรมและรูป te
โดยต้องผันให้ถูกทั้งสองรูปจึงจะได้แต้ม
1. ครูยกการ์ดคำกริยาภาษาไทย (การ์ดเงื่อนไข)
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันหาการ์ดคำกริยาที่ตรงกับการ์ดคำกริยาภาษาไทยที่ครูกำหนดให้ โดยการ์ดของนักเรียนจะเขียนคำกริยาด้วยภาษาญี่ปุ่นไว้ เป็นคำกริยารูปสุภาพ (ます形)
3. นักเรียนกลุ่มที่จะผัน ให้ยกมือ
4.ครูให้สิทธิในการผัน
5.นักเรียนกลุ่มที่จะผัน ผันคำกริยา
6.ครูตรวจสอบความถูกต้อง โดยถามทุกคนในชั้นเรียนว่ากลุ่มที่ผัน ผันคำกริยาถูกหรือไม่ โดยครูตรวจสอบเองอีกครั้ง
(ข้อดีคือ ทั้งครูและนักเรียนได้ตัดสินคำตอบช่วยกัน)
หากกลุ่มที่ผันผันถูก ให้นำหมุดสีไปปักไว้ที่กระดานฝั่งของกลุ่มตนเอง และนำการ์ดที่ผันได้ใส่ลงกล่องที่ครูจัดเตรียมไว้ หากผันผิดจะไม่ได้แต้มและไม่ได้ปักหมุด
**เล่นแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าการ์ดเงื่อนไขของครูจะหมด
การจบเกม
การ์ดเงื่อนไขของครูหมด และนักเรียนรวบรวมคะแนนจากการ์ดที่กลุ่มตนเองผันได้ รวมกับคะแนนหมุดสีบนกระดาน หมุดละ 1 แต้ม
เช่น นักเรียนรวบรวมคะแนนจากการ์ดที่กลุ่มตนเองผันได้ ซึ่งการ์ดแต่ละสีมีคะแนนแตกต่างกัน
การ์ดสีฟ้า 10 แต้ม
การ์ดสีม่วง 6 แต้ม
การ์ดสีชมพู 3 แต้ม
จากนั้นนำแต้มการ์ดมารวมกับแต้มหมุดสีบนกระดาน โดย
1 หมุดละ เท่ากับ 1 แต้ม
กลุ่มใดได้แต้มสูงสุดกลุ่มนั้นชนะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!