inskru
gift-close

ออกแบบห้องเรียนเด็กมีสมาธิจดจ่อด้วย Flow State🌈

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ออกแบบห้องเรียนเด็กมีสมาธิจดจ่อด้วย Flow State🌈

🤩สอนออนไลน์ยังไงให้ลื่นไหล เด็กๆ มีสมาธิได้! . 🌟ชวนครูพาเด็กๆ เข้า "สภาวะลื่นไหลในการเรียนรู้" (Flow State) ภาวะที่เด็กๆ จะมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนรู้ได้ คุณครูจะออกแบบห้องเรียนยังไง ให้เด็กๆ เข้าสู่ Flow State สภาพแวดล้อมต้องเป็นยังไง ครูช่วยยังไงได้บ้าง insKru มีขั้นตอนมาแล้วในโพสต์นี้เลย


🌈สภาวะลื่นไหลทางการเรียนรู้ (Flow State)

คือ ตอนที่เด็กๆ มีสมาธิทำอะไรสักอย่างมาก ๆ 

จนลืมเวลา อย่างลื่นไหล และทำออกมาได้ดีด้วย

เหมือนตอน วาดรูปจนเพลิน หันมาดูเวลาอีกที

ก็ผ่านไปสองชั่วโมงซะแล้ว!

.

ถ้าตอนเรียนเด็กๆ ได้เข้าสู่สภาวะแบบนี้

จะเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะเด็กๆ มีสมาธิอยู่กับเรื่องที่อยู่ตรงหน้า



🌈Flow State นั้นต้อง

เป็นสิ่งที่เด็กสนใจ อยากทำจากใจ 

ตรงกับความสามารถที่เขามี

ครูอาจใช้จุดนี้มาออกแบบการเรียนรู้ได้

เช่น ให้แค่หัวข้อ แต่ให้เด็กๆ 

เลือกวิธีที่เขาจะนำเสนอความรู้ในแบบที่ตัวเองสนใจ 

ถนัดทำกลุ่มก็ได้ ทำเดี่ยวก็เริ่ด!

เมื่อเด็กๆ มีอิสระในการเลือกวิธีเรียนรู้เอง

เขาก็อาจสนุกและมีสมาธิกับมันมากขึ้น


🌈ทำให้เด็กรู้ว่า flow state คืออะไร

เรียนแบบครูเป็นผู้นำการเรียนรู้

แต่ให้เด็กๆ คิดต่อเอง หาคำตอบเอง

.

โดยครูอาจลองถามกระตุ้นนำ ให้เด็กถามต่อเอง

หาคำตอบเอง ครูอาจช่วยในการหาเครื่องมือ

แนะนำตัวช่วยค้นหาความรู้

.

เช่น การสอนเรื่อง adjective ในภาษาอังกฤษ

ครูอาจลองให้เขาคิดไปพร้อมๆ กับภาษาไทย

ว่าคำคุณศัพท์ใช้ตอนไหน มีลักษณะอย่างไร

โดยให้เด็กๆ สังเกตลักษณะทางภาษาทั้งสองภาษาเอง

แล้วหาข้อสรุปจากการสังเกตนั้น มาเปรียบเทียบกัน



🌈ให้ข้อเสนอแนะแบบทันที

แต่ไม่รบกวนเด็กๆ ตอนคิด

.

ระหว่างที่เด็กๆ เรียนรู้ แล้วเกิดมีข้อสงสัย

คุณครูสามารถใช้คำถามสะกิดหรือนำให้เขาคิดต่อ

ให้ข้อเสนอแนะแบบสั้นๆทันที แต่ไม่อธิบายยาวเกินไป

จนรบกวนกระบวนการคิดของเด็กๆ 

แค่ไกด์ก็พอ ให้เด็กๆ คิดต่อเองเลย

.

หรืออาจให้เด็กๆ จับคู่กัน ให้ข้อเสนอแนะกันใน 1 นาทีก็ได้

นอกจากจะฝึกให้ feedback กันแล้ว

เด็กๆ ยังได้ฝึกวิเคราะห์กระบวนการของเพื่อนด้วย

ว่าดีตรงไหน ปรับตรงไหนได้ 

แล้วนำมาปรับกับกระบวนการของตัวเองได้



🌈ปรับความท้าทายให้เข้ากับเด็ก

ไม่ง่ายไปจนเด็กหลุด ท้าทายแต่ก็ทำได้

.

การปรับระดับความยากง่าย ส่งผลกับแรงผลักดัน

ถ้าง่ายไป เด็กๆ อาจหมดความสนใจในเวลาไม่นาน

หรือทำได้แต่ไม่ภูมิใจ ไม่ได้พัฒนา

เลือกความยากที่ท้าทายในระดับที่เด็กๆ ไม่รู้ในตอนแรก

แต่ไม่ยากเกินในการหาคำตอบ

หรือสุดท้ายแล้ว ถ้า "ยัง" ทำไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย

ลองใช้เวลากับมันเพิ่มอีกนิด ติดตรงไหนครูเข้าไปช่วยได้นะ



🌈ตัดสิ่งรบกวนสมาธิ ให้เด็กๆ ได้อยู่กับตัวเอง

.

การเรียนรู้ที่ active ไม่จำเป็นต้องเกิดในห้องเรียนที่ active ตลอดเวลาก็ได้ 

ปิดเครื่องมือสื่อสาร หรือ กริ่งเตือนสักพัก

แต่ใครอยากฟังเพลงเพื่อให้ความคิดไหลลื่นก็ได้นะ

ขอแค่ไม่รบกวนสไตล์การเรียนของเพื่อนๆ ก็พอ


🌷การทำให้เด็กๆ เข้าสู้ภาวะนี้อาจท้าทาย

แต่ครูทำได้ผ่านการ "ออกแบบสภาพแวดล้อมห้องเรีนน"

ที่เอื้อให้เด็กๆ เข้าสู่ flow state ได้นะ สู้ๆ ค่าคุณครู 😊

.

🤔ใครมีเทคนิคอื่นๆ ในการพาเด็กๆ เรียนอย่างมีสมาธิ

มาแชร์กันได้ที่: inskru.com/create 

.

.

#flowstate

#สอนออนไลน์ก็ลื่นไหลได้

#insKru

#พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน


Graphic by Leng

Graphic proof by NANPED

ตัวช่วยครูเทคนิคการสอนการจัดการชั้นเรียนทักษะการตระหนักรู้ในตนเองทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการคิดวิเคราะห์insKruidea

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ