อภิปรายวาที เหมือนหรือต่างจากการโต้วาทีอย่างไร (มาจากการวิเคราะห์ของครูปิยะพงษ์เองนะครับ)
1. มีญัตติ/ประเด็นในการอภิปรายโต้แย้งเหมือนโต้วาที
2. ใช้การโต้แย้ง เสนอแนวคิด และหักล้างข้อมูลอีกฝ่ายเหมือนการโต้วาที
3. อภิปรายวาทีไม่แบ่งฝ่ายสนับสนุน หรือฝ่ายค้าน อย่างชัดเจน ใครมีความเห็นอย่างไรก็แสดงความคิดเห็นสนับสนุนในมุมมองของตนเองได้เลย
4. อภิปรายวาทีไม่จำกัดจำนวนคนที่จะร่วมอภิปรายดังนั้นทุกคน ทั้งห้องจึงมีสิทธิและมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น จนกว่าจะหมดคาบสอนหรือเวลาที่ครูกำหนดทำกิจกรรม จึงทำให้ นักเรียนมีส่วนร่วมมากกว่าการโต้วาที
5. อภิปรายวาที ไม่จำกัดว่าฝ่ายไหนจะพูดก่อนพูดหลัง หรือจำกัดเวลาพูด สามารถพูดสนับสนุนคนพูดก่อนหน้าได้แบบรัว ๆ ไม่ขาดตอน หากมีคนอยากแย้งหรือพูดต่อก็ยกมือจองคิวไว้ (ถ้าใช้ในห้องเรียนปกติ ครูอาจจะทำป้ายไว้ขอสนับสนุน หรือ ขอคัดค้าน ไว้ในห้อง 2-3 ป้าย เพื่อให้นักเรียนที่ต้องการแสดงความคิดเห็นได้เข้าคิวในการอภิปราย) ครูที่เป็นคนกำกับเวทีอภิปรายจะเปิดโอกาสให้แย้งต่อได้ทันทีที่คนนั้นพูดจบ
ตัวอย่างกิจกรรมอภิปรายวาที เรื่อง ผู้ใหญ่ในยุคดิจิทัล ตามไม่ทันกลลวงในโลกออนไลน์
ตัวอย่างกิจกรรมอภิปรายวาที เรื่อง อภิวัฒน์สยาม 2475 ประชาธิปไตยที่พร้อมเกิดขึ้นจริง หรือชิงสุกก่อนห่าม
ตัวอย่างกิจกรรมอภิปรายวาที เรื่อง การใช้โซเชียลออนไลน์แฝงภัยร้าย มากกว่าให้ประโยชน์
ตัวอย่างกิจกรรมอภิปรายวาที เรื่อง รักในวัยเรียนทำให้พากเพียรหรือเรียนไม่รู้เรื่อง
1.ครูให้หัวข้อและแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คลิปสั้น บทความสั้น อินโฟกราฟิก Podcast เป็นต้น ให้นักเรียนได้ศึกษา เตรียมความพร้อมไว้ก่อน
2.ครูปเปิดประเด็นการอภิปรายวาทีในห้องเรียนตามหัวข้อ บอกกติกาว่าใครจะแสดงความคิดเห็นในเชิงเห็นด้วยกับประเด็น เพราะอะไร ไม่เห็นด้วย เพราะอะไร มีตัวอย่างเพื่อเสริมน้ำหนักความคิดเห็นของเราอย่างไร มีเวลาการแสดงความเห็นตามเวลาที่ครูกำหนด ไม่จำกัดว่านักเรียนจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ได้
ดูตัวอย่างบางส่วนของการทำกิจกรรมได้ที่
facebook.com/krunut.satit/posts/2086949941443233
***ข้อควรระวัง
1. บางครั้ง นักเรียนแสดงความคิดเห็นยังน้อย ขาดตัวอย่างประกอบ หรือประเด็นนั้นไม่มีใครแย้งเลยหรือไม่มีใครต่อประเด็น ทำให้เกิดเดดแอร์หรือการเงียบระยะนาน ครูที่ดูแลการอภิปรายมีส่วนสำคัญจะกระตุ้น โดยตั้งประเด็นคำถามแย้งข้อมูล พูดในอีกมุมมอง เพื่อให้การอภิปรายหลากหลาย
และต่อเนื่อง อาจจะเหมือนร่วมวงแย้งกับนักเรียนได้ ก็สนุกดีนะครับ
2. นักเรียน อาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือยังอ่อนในทักษะการแสดงความคิดเห็น แก้โดยวางกรอบการพูดคร่าว ๆ ให้นักเรียนดังนี้ >>> นักเรียนเห็นด้วยกับญัตติหรือสิ่งที่เพื่อนพูดหรือไม่ เพราะอะไรจึงมีความเห็นแบบนั้น มีตัวอย่าง ยกมาประกอบเหตุผลนั้นอย่างไร
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!