ที่กำลังติดเทรนด์ล่าสุดจาก Netflix
มีหลายฉาก หลายจุดในเนื้อเรื่อง ในภาพ
ที่เอามาเป็นประเด็นเรียนรู้ ชวนถกเถียงได้
แฝงความหมายอะไรเกี่ยวกับสังคมบ้าง?
.
สัญลักษณ์และลำดับชั้นของอำนาจในเจ้าหน้าที่เกม
แบ่งเป็นสัญลักษณะสามระดับ ได้แก่ วงกลม สามเหลี่ยม
และสี่เหลี่ยม สื่อถึงอะไรได้บ้างนะ?
สัญลักษณ์ ชื่อ และตำแหน่งมาจากแหล่งอ้างอิงไหนบ้าง?
.
ซึ่งมีการกดขี่หรือใช้อำนาจต่อกันเป็นทอดๆ ลงมา
สะท้อนภาพอำนาจและการปกครองในสังคมเราอย่างไรบ้าง?
จากผู้ที่มีอำนาจมากกว่าตกมาเป็นทอดเหมือนกันบ้าง?
อย่างเกมมาสเตอร์ นายทุน และแขก VIP
คนพวกนี้มีบทบาทอย่างไรกับการปกครองบ้าง?
.
.
และถูกแทนด้วยหมายเลข?
การไม่มีชื่อส่งผลกับการที่ตัวละครแต่ละตัวถูกปฏิบัติหรือไม่อย่างไร?
หรือแม้กระทั่งชุดนักเรียนหรือไม่ อย่างไร ชวนเด็กๆ มาคุยกัน!
.
ผู้เล่นจะถูกเจ้าหน้าที่เกม (ระบบ) เรียกด้วยหมายเลขเท่านั้น
อาจสื่อความถึงมนุษย์ในระบบทุนนิยมที่ถูกลดทอนตัวตนลง
ให้เป็นเพียงแรงงานที่เป็นหมายเลขที่ถูกแทนที่ได้
เหมือนแรงงานในปัจจุบันที่เป็นเพียงผู้ทำตามกระบวนการเดิม
ทำงานแบบแยกส่วน ไม่ได้เป็นแรงงานฝีมือเฉพาะที่ทำทั้งกระบวนการ
.
เพื่อ “สร้างความเป็นหนึ่งเดียว” หรือไม่?
มองและปฏิบัติกับมนุษย์ในฐานะแรงงานอย่างไรบ้าง?
หรือ “กำหนด” บทบาทหน้าที่ให้เราทำตาม?
.
ชุดโทนแดงของเจ้าหน้าที่เกมตัดกับคู่สีตรงข้าม
กับชุดสีเขียวของผู้เล่น
มีผลต่อความรู้สึกหรือกระตุ้นความรู้สึกผู้ชมอย่างไร?
ขัดแย้ง? ต่อต้าน?
ให้สื่ออารมณ์และเจตนาได้มากที่สุดนะ?
.
สีเขียวเป็นคู่สีตรงข้ามกับสีแดง หรือสีเลือด
ทำให้ภาพเลือดที่ออกมาดูโดด รบกวนใจ
เพื่อขับให้จุดเด่นของฉากที่ต้องการสื่อ
(เลือด=ความรุนแรง, โหดร้าย) ชัดเจนขึ้น
.
โทนสีร้อน-โทนเย็น ยังให้ความรู้สึกต่างกัน
ชุดสีร้อนผู้คุม ดูมีอิทธิพลมากกว่าชุดสีโทนเย็นของผู้เล่น
อาจสื่อความรู้สึกว่าผู้คุมมีอำนาจมากกว่า รุนแรง ฯลฯ
การเลือกใช้โทนสี มีผลต่อภาพและการสื่อความอย่างไรบ้าง?
.
ถึงได้เลือกใช้สีสดใส เด็กเล่น ดูสนุกสนาน?
เพราะอยากให้ความรู้สึกขัดแย้งกัน
ระหว่างโลกแฟนตาซีและความจริงที่โหดร้ายหรือเปล่า?
หรืออยากสื่อว่าสำหรับชนชั้น VIP แล้ว
การนั่งดู พนันความเป็นความตายของผู้เล่น
เป็นแค่เรื่องเด็กเล่น สนุกๆ?
.
ส่งผลต่อความรู้สึก หรือช่วยสนับสนุนการสื่อใจความของหนังอย่างไร?
.
การเซ็ตฉากที่ดูก้ำกึ่งระหว่างความจริงหรือปลอม (made-up)
มีความเป็นความตายอยู่ในที่เดียวกัน
ด้วยฉากระแวกบ้าน เพื่อนสมัยเด็ก พระอาทิตย์ตก
สีโทนร้อน ดูอบอุ่น ปลอดภัย น่าเชื่อใจ
แต่กลับใช้เป็นฉากที่ตัวละครต้องหักหลังกันเอง
ยิ่งทำให้ความขัดแย้งของเรื่องและฉากชัดเจนขึ้น รบกวนใจขึ้น
.
การจัดวางองค์ประกอบให้ทุกอย่างดูเป๊ะ เท่ากัน
เหมือนกันไปหมด มีเพียงแค่ของที่จำเป็น ไร้การตกแต่งเพิ่ม
อาจสื่อถึงความเป็นระบบอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตของแมส
เตียงนอนผู้เล่น หรือห้องนอนของผู้คุมเกม ที่เรียบง่าย
ไร้ซึ่งอิสระในการมีอัตลักษณ์ของแต่ละคน
อาจสื่อถึงระบบที่ต้องการควบคุมคนด้วยการทำให้คน
ปฏิบัติและอยู่ภายใต้กฎแบบเดียวกันหรือเปล่านะ?
แรงเยอะ(อย่างเดียว) ใช่ว่าจะชนะ
.
พลิกโผเอาชนะฝั่งที่มีแรงมากกว่าได้กันนะ?
.
.
และตั้งคำถามถึงอคติที่สังคมมีกับผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเด็ก
วิทยาศาสตร์ที่มักใช้อธิบายลักษณะทางชีวะของมนุษย์นั้น
ตายตัวทุกกรณีหรือไม่? แล้วถ้าไม่ เราจะอ้างอิงวิทยศาสตร์อย่างไร ให้ตระหนักและคำนึงถึงความเป็นไปได้
โดยไม่เผลอเหมารวมได้บ้างนะ
ฝากคุณครูวิทย์ ครูพละ ครูสังคม มาลองออกแบบคาบเรียนกัน
คุณสมบัติวัสดุ-ความน่าจะเป็น
.
ว่ากระจกบานไหนเป็นกระจกนิรภัย
เพียงแค่ดูการหักเหแสงและฟังเสียงกระจก?
แล้ววัสดุอื่นๆ ล่ะ มีวิธีจำแนกอย่างไร?
.
โดยที่ไม่มีคนตายได้ไหม?
และช่วยให้ผู้เล่นเดินผ่านไปได้มากที่สุด?
.
.
ชวนเด็กๆ คุยและถกเถียงกันถึงสิทธิแรงงานข้ามขาติกัน
.
ถ้าเราเป็นคนออกกฎหมาย จะช่วยคุ้มครองอาลียังไง?
(หรือโกง) ค่าจ้าง อาลีสามารถไปหาหน่วยงานไหนได้
เขาควรได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง?
ที่กำหนดสิทธิแรงงานข้ามชาติอย่างไรที่ยุติธรรม
ในการควบคุมให้ผู้จ้างงานแรงงานต่างชาติ?
จะส่งผลอย่างไร
.
กับการเติบโตประชากรของประเทศนั้น เพราะอะไร
.
ฟังดูเผิญๆ อาลี อับดุล อาจเป็นชื่อที่พบได้ทั่วไป
มีคนนี้ใช้ชื่อนี้เป็นจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ
นี่อาจเป็นสิ่งที่หนังพยายามสะท้อนถึง “ตัวตน”
ของแรงงานข้ามชาติ ในสายตาสังคม
ที่ไม่ได้มองเขาเป็นปัจเจกชน แต่อาจเป็นอาลี อับดุล
คนไหนก็ได้ ถูกแทนที่ได้หรือเปล่านะ?
เอ คุณครูคิดว่ายังไงกันบ้างคะ แล้วเด็กๆ ล่ะ คิดว่ายังไงกัน
.
Resources อ่านเพิ่ม: แรงงานกัมพูชาในเกาหลี
กับความเป็นอยู่ที่รัฐ(ไม่)ได้คุ้มครองอย่างครบถ้วน
https://www.npr.org/.../as-workforce-ages-south-korea...
https://thediplomat.com/.../migrant-workers-face-dire.../
https://www.bbc.com/news/av/world-asia-55922070
จริงหรือ?
.
ไม่เคย “บังคับ” ให้ใครเล่นเกมนี้
เกมนี้เป็นระบอบประชาธิปไตย
หากผู้เล่นเกินครึ่งไม่อยากเล่นก็จะหยุดเกมทันที
แต่มันจริงหรือ? เด็กๆ เห็นด้วยไหม เพราะอะไร?
.
แต่การที่พวกเขากลับมาเพราะสภาพเศรษฐกิจในชีวิต
บังคับให้ “ต้องเลือก” เพื่ออยู่รอด (อย่างที่ตัวละคร
มักกล่าวบ่อยๆ เชิงว่า “ยอมเสี่ยงตายเล่นเกมนี้
ยังดีกว่าต้องออกไปใช้ชีิวิตอย่างกับเศษคน”)
แบบนี้จะเรียกว่าเขา “เต็มใจ” หรือว่าเป็น
“สิ่งที่เลือกเอง” ได้หรือไม่?
.
เจ้าของเกมเองก็รู้ดีว่าผู้เล่นทุกคน ถูกบีบสภาพเศรษฐกิจบีบบังคับ
(เห็นได้จากการที่เจ้าของเกม “เลือก” ส่งการ์ดให้ผู้เล่นที่ขัดสนเท่านั้น ทั้งยังจงใจให้อาหารผู้เล่นน้อยๆ เพื่อให้ผู้เล่นฆ่ากันเอง)
.
เกมจะหยุดตามระบอบ “ประชาธิปไตย” ก็เช่นกัน
ในเมื่อผู้เล่นคือผู้ที่ถูกสังคมและระบบทอดทิ้ง
ไร้ซึ่งสวัสดิการพื้นฐานในการดำรงชีวิตและไม่มีสิทธิคุ้มครอง
(เช่น กีฮุนที่ติดหนี้นอกระบบ แซบยอกที่เป็นผู้อพยพ
อาลีที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ)
แม้จะบอกว่ามีสิทธิโหวตยกเลิกได้ แต่หนทางในชีวิตอื่นๆ
กลับไม่เปิดโอกาสให้ “การเลิกเล่นเพื่อชิงเงินรางวัลมาต่อชีวิต” เป็นไปได้เลย
ประชาธิปไตย ได้จริงหรือไม่ อย่างไร?