icon
giftClose
profile

PAE MODEL ห้องเรียนภาษาไทยที่นักเรียนเป็นเจ้าของ

16866

คงจะดีไม่น้อยถ้ามีห้องเรียนที่นักเรียนสามารถเลือกเอง ทำเอง และประเมินตนเองได้


ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019 ทำให้การจัดการเรียนรู้เปลี่ยนไปจากเดิมที่นักเรียนเรียนและทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งไม่ได้อยู่ในบรรยากาศและความพร้อมในการเรียนรู้ที่น้อยกว่าในชั้นเรียนครูจึงต้องหาเทคนิคและวิธีการในการดึงดูดผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยสถานการณ์นี้ครูจึงมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนและทดลองการสอนด้วยเทคนิคใหม่ๆ ซึ่งถือว่าเป็นโอการทองในการที่ครูจะได้ทดลองการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆที่ยังไม่เคยได้ทำมาก่อน

ด้วยเหตุผลต่างๆเหล่านี้จึงอยากทดลองให้นักเรียนเป็นผู้กำหนดเลือกชิ้นงาน และประเมินตนเอง เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นและความเป็นไปได้ในการนำไปปรับใช้กับการเรียนในหน่วยการเรียน และห้องเรียนอื่นๆต่อไป จึงได้แนวทางและผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆที่ผู้เขียนได้ทดลองมาประติดประต่อในขั้นการเรียนรู้ต่างๆที่นักเรียนเป็นเจ้าของ ดังนี้


ขั้นเตรียมพร้อมการเรียนรู้ (P: Preparing)

ขั้นเตรียมพร้อมการเรียนรู้ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ครูควรวางแผนให้ดี เนื่องด้วยเป็นเหมือนประตูด่านแรกในการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจการเรียนรู้ จึงใช้วิธีการสร้างคำถามเพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น หรือกิจกรรมเกม กิจกรรมทายใจ เพื่อให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์และกล้าแสดงความคิดเห็น ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนเป็นผู้เครียมกิจกรรมมากระตุ้นเพื่อนๆในชั้นเรียนได้

ตัวอย่างการเตรียมพร้อมการเรียนรู้

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ (A: Active Learning)

เป็นการจักกิจกรรมโดยเน้นให้นักเรียนได้ค้นหาคำตอบจากคำถามที่ครูใช้ ใช้ความรู้จากรอบตัวในการประยุกต์ใช้

-การเลือกทำชิ้นงาน

การเลือกทำชิ้นงานนั้นครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความรู้ของนักเรียนที่ได้รับจากการทำกิจกรรมด้วยรูปแบบและวิธีการที่นักเรียนถนัด อาจจะเป็นการนำเสนอด้วยคลิปวีดีโอ Tik Tok โปสเตอร์ โดยให้นักเรียนได้นำความรู้มาผนวกเข้ากับสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็นในปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์ ละคร ซีรี่ย์ เพลง หนังสือวรรณกรรมร่วมสมัยเพื่อเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งที่นักเรียนพบเจอในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ครูควรชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินให้กับนักเรียนทราบเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างชิ้นงาน

ในส่วนการสร้างผลงานนั้นนักเรียนมักจะขอคำปรึกษาครูในการสร้างครูจึงเป็นผู้ให้คำแนะนำและเสริมแรงจูงใจให้นักเรียนได้สร้างผลงานของตนเองให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ



ขั้นการประเมินผล (E: Evaluation)

-การให้คะแนน

สำหรับในส่วนของการให้คะแนนนั้นนอกจากครูจะเป็นผู้ประเมินแล้วนั้น ห้องเรียนนี้นักเรียนยังสามารถให้คะแนนตัวเองได้โดยส่งผลงานพร้อมให้นักเรียนได้เขียนคะแนนตัวเองพร้อมเหตุผลประกอบที่นักเรียนให้คะแนนตนเองในระดับนั้น นักเรียนสามารถระบุสิ่งที่นักเรียนควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้งานนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นได้ ทั้งนี้ครูและนักเรียนต้องมีการตกลงเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินก่อนเสมอ

ส่วนการให้คะแนนของนักเรียนนั้นนอกจาหนักเรียนจะให้คะแนนตัวเองแล้ว ครูอาจสร้างพื้นที่ให้นักเรียนได้เผยแพร่และนำเสนอผลงานของตัวเอง ทั้งนี้ครูอาจจัดกิจกรรมพิเศษรางวัล Popular Vote เสริมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้พัฒนาผลงานของตนเอง และยังรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้อีกด้วย

ตัวอย่างการให้คะแนนของนักเรียน


ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกกรมการเรียนรู้

-นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ใกล้ตัวสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และมีประสบการณ์ร่วมจึงทำให้นักเรียนและครูสามารถพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในชั้นเรียน

-นักเรียนสามารถสร้างผลงานด้วยตนเองได้เนื่องจากใช้วีธีการที่ถนัดและทำในสิ่งที่นักเรียนสนใจ

-นักเรียนส่งงานมากขึ้นและกระตือรือร้นในการให้ครูช่วยดูและให้คำแนะนำผลงาน

โดยรวมของขั้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นเจ้าของนั้น เกิดจากการที่ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากกิจกรรมในคาบเรียนต่างๆ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจอาจนำไปเลือกใช้ในบางขั้นของบางคาบเรียนได้ตามความ้หมาะสม

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(3)