icon
giftClose
profile

🤩ทำ PA ยังไงให้เกิด passion และ impact

49401
ภาพประกอบไอเดีย 🤩ทำ PA ยังไงให้เกิด passion และ impact

เพราะ “PA เริ่มตั้งต้นคิดที่เด็ก แต่เริ่มทำที่ครู” ครูจะเลือก “ประเด็นท้าทาย” แล้วมาจับกับการสอนยังไง ให้เด็กๆ ได้พัฒนาจริงๆ และคุณครูก็ได้พัฒนาด้วย ผอ.เช็คได้ มาดูความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไปด้วยกันเลย!

🌟PA (Performance Agreement) ที่ออกมาใหม่นี้

เราเห็นถึงความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงระบบ

ให้ครูออกแบบวางแผนข้อตกลงร่วมกับผอ.ได้ง่ายขึ้น

โดยที่ทุกคนมีเป้าหมายตรงกันว่าอยากพัฒนาผู้เรียน

และน่าจะเป็นวัฒนธรรมการประเมินแบบใหม่ที่ช่วยเบางานครูได้

แต่ตอนปฎิบัติจริง ครูต้องออกแบบข้อตกลงอย่างไร

ให้ครู focus งานไม่กี่งานแต่ตอบโจทย์การพัฒนาผู้เรียนได้นะ?


insKru สรุปไอเดียจากคุณครูที่มาร่วม Live

ที่เชื่อว่า “PA สามารถทำได้ในงานที่ครูทำอยู่แล้ว”

ผ่านการออกแบบสิ่งที่ครูต้องทำอยู่แล้ว อย่างการสอน ฯลฯ

ให้ตอบจุดประสงค์ตัวชี้วัดหลายๆ ตัวได้ในงานชิ้นเดียว

ครูจะได้ทำงานง่ายขึ้น (และสนุกขึ้น) ตามความตั้งใจของ PA ใหม่นี้



🌟จากที่คุณครูได้เห็นเส้นทาง PA กันไปแล้วใน

สรุปแบบชวนคิดข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ฉบับทดลอง:

👉https://inskru.com/idea/-Mk1L94ME9Ekhs5rOtb5?fbclid=IwAR2PPHgqvzHKNSFk5PXlHCA_4D55ic4nMFaUWtt7aLPq8djelo4BI9X12yw

.

🤩เรามาดูความเป็นไปได้ในการออกแบบ PA กัน

เริ่มจากอะไรได้บ้าง คิดไอเดียยังไงให้ตอบโจทย์ตัวชี้วัด

และได้เด็กๆ ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่ตั้งใจด้วย!



1. เลือกปัญหามาตั้งเป็น “ประเด็นท้าทาย”

(ซึ่งเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อ “ผู้เรียน” ด้วยนะ)

.

🌟ลองเขียนปัญหาและประเด็นท้าทายมาหลายๆ ประเด็น

เท่าที่ครูนึกออก เป็นการ brainstorm กันก่อน

เขียนมาหลายๆ ประเด็นได้เลย แล้วมาเลือกกัน

ตัวอย่างเช่น “นักเรียนอ่านตีความไม่แตก” 



2. ลองหาสาเหตุของปัญหานั้นด้วย Why Why Diagram

โดยการเพิ่มคำว่า “ทำไม” ไปหน้าปัญหาที่ครูเลือกมา

.

👉 “ทำไม” นักเรียนถึงอ่านตีความไม่แตก?

จากนั้น brainstorm คำตอบหาสาเหตุ 

เขียนมาก่อนเลย อะไรก็ได้ที่ครูนึกออก

เช่น เด็กขาดทักษะการจับประเด็นและอ่านวิเคราะห์

, นักเรียนไม่เคยได้ฝึกการวิเคราะห์เจตนาของผู้เขียน, 

, เด็กขาดกระบวนการการฝึกตีความ ฯลฯ

.

ลองหยิบมา 1 ประเด็น เช่น

👉เด็กขาดกระบวนการการฝึกตีความ 



3. ขุดสาเหตุต่อไปอีก

ด้วยการถามว่าทำไมต่อไปเรื่อยๆ

.

👉“ทำไม” เด็กขาดกระบวนการการฝึกตีความ?

จากนั้น brainstorm อีกรอบให้เห็นสาเหตุที่ชัดเจน

เลือกมา 1 สาเหตุเพื่นำไปคิดต่อกันเช่น 

👉เพราะที่ผ่านมาการเรียนสอนแบบให้เด็ก ฟัง จำ เชื่อ เป็นต้น

.

🌈ยังมีเหตุผลและหัวข้อน่าสนใจอีกมากที่คุณครูใน live 

ช่วยกันระดมมา เช่น ครูอาจไม่เคยได้เรียนเรื่องการจับประเด็นมาเช่นกัน เด็กไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมการอ่านเพราะหนังสือเข้าถึงยาก ราคาแพง ฯลฯ

ย้อนดูเต็มๆ ได้ที่: 👉https://www.facebook.com/InskruThailand/videos/1294823977644362



4. เลือกสาเหตุปัญหาที่สนใจมาคิดต่อว่า

“แล้วครูต้องทำยังไงเพื่อเปลี่ยน(สาเหตุ)นั้น”

.

เช่น สาเหตุคือ

👉เพราะที่ผ่านมาการเรียนสอนแบบให้เด็ก ฟัง จำ เชื่อ

🤔ครูต้องทำยังไงให้เด็กๆ ได้เรียนแบบคิดวิเคราะห์

ก่อนจะเชื่อ (แทนการฟัง จำ เชื่อ กันนะ)

.

👉สร้างกิจกรรมให้เด็กฝึกอ่าน

แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดกันบ่อยๆ 

👉ครูหมั่นโยนคำถามที่ท้าทายความคิดความเชื่อเด็ก

👉ให้เด็กฝึกอ่านตีความและสรุปสั้นๆ

👉ชวนเพื่อนครูในโรงเรียนมาทำ PLC เรื่องนี้กัน

👉ครูเองก็ต้องฝึกอ่านและจับประเด็น ตีความด้วย

เพราะจะเป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์ให้เด็ก

👉ให้เด็กฝึกสรุปจากการอ่านที่เขาสนใจ 

👉ครูไม่ตัดสินเวลาเด็กอธิบาย

ฯลฯ

.

🌈ครูสามารถเอาสิ่งเหล่านี้ไปออกแบบเป็นชิ้นงานใน PA ได้แล้ว



5. แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าสำเร็จ?

มาหา “ผลลัพธ์” ที่อยากให้เกิดกับนักเรียนกัน

.

💡ผลลัพธ์: เด็กอ่านแล้วตีความ สรุปเรื่องให้เพื่อนฟังได้

🤔ครูจะรู้ได้ยังไง?(ตัวชี้วัด)

👉80% ของเพื่อนที่ฟัง เข้าใจที่นักเรียนสรุปตีความ

อาจจะทำแบบแบบฟอร์มคำถามเช็คความเข้าใจ ฯลฯ

.

เท่านี้คุณครูก็จะได้ผลลัพธ์และตัวชี้วัดมาเขียนใน PA แล้ว!



6. สุดท้ายลองเอามาเทียบกับ “ตัวชี้วัด” ดู

ยังตอบตัวชี้วัดไหนไม่ครบ มาลองคิดเพิ่มกัน

.

อาจร่วมกันรีวิวกับเพื่อนครู ถามความเห็นเด็กๆ ก็ได้

(นอกจากนี้ยังอาจเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยชั้นเรียนได้ด้วย!)

แล้วผอ.จะสามารถประเมินการพัฒนาการสอนของเรา

ได้จากจุดไหนบ้างนะ



🎉PA สำเร็จ!

วางแผนออกแบบให้งานที่ตอบโจทย์ได้ครบ

.

🌟เรามี template powerpoint ช่วยครูคิด PA 

ให้ครูดาวน์โหลดกันด้วยนะ

👉https://inskru.com/idea/-Mlj-rKLS9ci1mTHvRUj

.

**ในที่นี้ครูกั๊กฝากมาว่า เราอาจจะต้องดูตัวชี้วัดย่อยของครูแต่ละข้อเพิ่มด้วยน้า



🤔Q&A 

ในทางปฏิบัติจะลดเอกสารจริงไหม?

โรงเรียนใหญ่ ครูเยอะ ผอ.จะติดตามงานยังไง? 

.

🙋🏻ครูกั๊ก: เสนอว่า ผอ. ,ผู้ประเมินควร และครูในหมวด

ควรมา set มาตรฐานการประเมิน

รวมถึงแนวทางร่วมกันให้ชัดเจนก่อน

ว่าอยากวัดผลแบบนี้ จะเช็คจากอะไร 

เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นภาพร่วมกัน

หาแนวทางวิธีการประเมินที่ครูได้ทำงานของตัวเองปกติ 

และผอ. เองก็ประเมินได้ไม่เหนื่อยมาก 

.

🙋‍♀️ครูโบ: ครูและผอ. ส่งเสียงร่วมกัน 

ครูและผอ.ควรอยู่ในระนาบเดียวกัน

แล้วส่งเสียงถึงระดับบริหาร 

เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานที่ตอบโจทย์ใหญ่สุด

คือการพัฒนาผู้เรียนไปด้วยกันได้

.

🙋‍♀️ครูแนน: ทำอย่างไรจึงจะ “ลดการตรวจตา” 

อาจจะ จับคู่สอนได้ หรือปรับโครงสร้างการศึกษา

ให้ครูบัดดี้ support ช่วยกันออกแบบ ครูได้คุยกัน 

ประเมินคู่ ลดการตรวจตา แบบนี้แทนดีไหม

กระจายอำนาจให้ครูช่วยดูงานกันและกัน

ทุกส่วนควร “ไว้ใจกันและกัน” ในเรื่องการทำงาน



✊PA เป็นโอกาสของครูร่วมกันส่งเสียงว่า 

“เราจะไม่ประเมินด้วยเอกสารแล้ว”

.

🙋‍♀️ครูแนน & 🙋🏻ครูกุ๊กกั๊ก:

“ระบบเริ่มเปลี่ยนจากครูได้”

.

ทั้งนี้ระบบจะเปลี่ยนได้

ต้องมาจากเอกภาพของครูภายในที่ร่วมมือกัน 

สร้างชุดวาทกรรมแบบใหม่ว่า "ครูออกแบบเองได้" 

ไม่จำเป็นเราไม่จำเป็นต้องวิ่งตาม model อย่างเดียว

ครูสามารถทำหรือออกแบบอะไรก็ได้ 

เพราะนี่เป็นคาบเรียนของครู 

ให้ครูได้เป็น ได้ทำ ในแบบที่เขาได้เป็น 

แล้วการศึกษาจะมีความหลากหลาย 

เปิดความเป็นไปได้อีกมาก

.

“โรงเรียนควรสนับสนุนความหลากหลายของครูและวิธีการออกแบบห้องเรียน ให้เหมือนกับที่อยากให้ครูสนับสนุนความหลากหลายของผู้เรียน”

.

🙋‍♀️ครูแนน: 

เราควรปรับระบบไปพร้อมๆ กับ “นิเวศทางการศึกษา” 

ที่การประเมินเป็นแบบ top-down (ประเมินจากคนข้างบนลงมา) 

เราเสนอว่า เราต้องลดการจับผิดตรวจสอบบนลงล่าง 

และเปลี่ยนเป็นล่างขึ้นบนแทน 

ผู้ที่จะประเมิณผอ. ควรเป็นครู ผู้ปกครอง ชุมชน 

ว่าเขาทำงานและอำนวยให้ครูสอนได้อย่างเต็มที่หรือยัง 

คนที่ควรได้ประเมินครู คือ เพื่อนครูด้วยกันเอง 

เพราะครูเห็นการทำงานกันชัดที่สุด 

เด็กก็ควรมีสิทธิประเมินเรา 

และผลที่เด็กประเมินเราก็ควรเอามาใช้ประกอบด้วย

.

เราต้องเปลี่ยน mindset ของทั้งกระบวนการว่า

“เราไม่ได้ทำสิ่งนี้เพื่อจับผิดครู 

แต่เราทำเพื่อซัพพอร์ตให้ครูพัฒนาตัวเองและห้องเรียน” 

กระบวนการประเมินก็จะต้องถูกเปลี่ยน

ซึ่งครูร่วมด้วยช่วยกันส่งเสียงและเปลี่ยนตรงนี้ได้นะ :--)

.

เวลาครูตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ได้จำเป็นต้องสำเร็จตลอด 

แต่เรามาพัฒนาไปด้วยกันได้ เป็นกำลังใจให้คุณครูนะคะ

.

.

#PA

#insKru

#เพราะทุกการสอนเป็นไปได้

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: PA (1).pptx

ดาวน์โหลดแล้ว 82 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(4)