icon
giftClose
profile

เห็นผล...เมื่อ SWOT

28542
ภาพประกอบไอเดีย เห็นผล...เมื่อ SWOT

การเรียนการสอนแบบออนไลน์หนึ่งภาคเรียนที่หนึ่งเดินทางมาจุด "ประกาศผลการเรียน" ซึ่งเป็นช่วงที่ครูต้องชวนนักเรียนทำ SWOT ANALYSIS เพื่อให้รู้จุดแข็งตนเองเพื่อดูแลจุดอ่อน และพัฒนาหรือเพิ่มโอกาสให้ตนเอง ทั้งเข้าใจอุปสรรคที่ทำให้ตนเองเรียนรู้ได้น้อยลง หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ถือว่าเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่ง


"เห็นผล(การเรียน)...ผ่านSWOT"

อีกบทบาทของครูที่ปรึกษาในการดูแลนักเรียนคือ การชวนคิด ชวนตั้งคำถาม และชวนตั้งเป้าหมาย โดยใช้เทคนิคพื้นฐานในการทบทวนและตรวจสอบตนเอง ที่เรียกว่า "SWOT Analysis"

S : Strengths จุดแข็ง ของตนเอง

ครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษา อาจจะต้องใช้ทักษะการสังเกต หรือคำถามกระตุ้นให้นักเรียนสำรวจหรือค้นพบจุดแข็งของตนเอง หรือสิ่งที่นักเรียนทำได้ดี เมื่อทราบจุดแข็งก็ต้องส่งเสริม หรือสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงศํกยภาพในเรื่องนั้นทั้งในชั้นเรียน และนอกห้องเรียน

W : Weakness จุดอ่อนของตนเอง

ทักษะการสังเกตของครูจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสะท้อนให้นักเรียนได้ทบทวน หรือวิเคราะห์ว่าใช่จุดต้องที่ต้องพัฒนาหรือไม่ ทั้งนี้อาจเรียนรู้จากการทำงานของนักเรียน หรือการร่วมกิจกรรม หรือบทสนทนา โดยประสบการณ์ตนเองจะไม่สรุปว่านั่นคือจุดอ่อน แต่พยายามใช้คำถามสะท้อนให้นักเรียนได้วิเคราะห์ตนเองในหลายๆ แง่มุม ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา และสุดท้ายก็ต้องให้นักเรียนลงมือหรือปฏิบัติการแก้ไขจุดอ่อนของตนเอง

O : Opportunities :โอกาส

ปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยเสริมที่นักเรียนสามารถนำมาเสริมจุดแข็งของตนเอง หรือทำให้จุดอ่อนของตนเองลดลง การเยี่ยมบ้านของครู หรือการสนทนากับผู้ปกครอง อาจจะมีข้อมูลที่ทำให้ครูสามารถแนะนำนักเรียนให้ได้นำสิ่งเหล่านั้นมาช่วยในการพัฒนาตนเอง

T : Threats อุปสรรค

ครูต้องทำหน้าที่โค้ชที่ทำให้นักเรียนก้าวผ่านคำว่าอุปสรรคไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งนักเรียนแต่ละคนมีอุปสรรคต่างกันไป ซึ่งผู้ที่มีส่วนช่วยนักเรียนได้มากที่สุดในโรงเรียนคือ ครูที่ปรึกษา ทั้งอุปสรรคภายนอก และอุปสรรคภายในที่อาจจะกลายเป็นจุดอ่อนของนักเรียน

จากภาพกราฟแสดงผลการเรียนข้างต้น เป็นกรณีศึกษาที่พบว่า ตอนระดับม.4 นักเรียนจะมีอาการเหม่อลอยระหว่างนั่งเรียน หรือมีสมาธิไม่ต่อเนื่อง ครูจะได้สะท้อนสิ่งที่สังเกตเห็น และชวนนักเรียนวิเคราะห์ว่า จะปรับปรุงเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร โดยใช้จุดแข็งและโอกาสที่นักเรียนมี ผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนต่ำกว่าระดับห้องเรียน

ตอนระดับ ม.5 พบว่า นักเรียนมีสมาธิเพิ่มขึ้นแต่มีปัญหาการวูบหลับในขณะเรียน และเกิดขึ้นกับหลายช่วงเวลา และหลายๆวิชา ทำให้ผลการเรียนนภาคเรียนที่ 1 ติดลบในเชิงพัฒนาการ ครูจึงได้ตั้งคำถามว่า ถ้าเราจะปรับปรุงเรื่องนี้ดีหรือไม่ แล้วจะปรับได้อย่างไร ซึ่งครูต้องเสริมแรงและติดตามตลอดเวลา ทั้งมีการท้าทายแบบภาพรวมคือ ในภาคเรียนที่ 2 หากนักเรียนคนใดทำระดับผลการเรียนได้สูงกว่าภาคเรียนที่ 1 จะมีรางวัลเล็กๆน้อยๆ มอบให้ ซึ่งพบว่า นักเรียนได้รับรางวัลไปหลายคนรวมถึงนักเรียนรายที่เป็นกรณีศึกษาด้วย และผลการเรียนของนักเรียนมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

ปัจจุบันนักเรียนกำลังเรียนชั้น ม.6 :ซึ่งจากการเรียนออนไลน์พบว่านักเรียนส่วนใหญ่จะมีระดับผลการเรียนดีขึ้น แต่จุดน่าสนใจของนักเรียนคนดังกล่าวคือ มีระดับผลการเรียนสูงกว่าระดับห้องเรียน

ผลจากกรณีศึกษาของนักเรียนคนดังกล่าวทำให้ครูมั่นใจว่า การเสริมแรงเชิงบวกของครู และการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนของครู ร่วมกับการชวนนักเรียนทำการ SWOT แบบไม่เป็นทางการ ใช้คำถาม ใช้ทักษะการสังเกต และติดตาม ผลสุดท้ายคือ เราจะดีใจกับสิ่งที่เด็กๆทำสำเร็จค่ะ

"ครูยินดี" ด้วยค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(0)