icon
giftClose
profile
frame

การสอนสะท้อนคิดให้ห้องเรียนมีชีวิตอย่างวิทยาศาสตร์

11531
ภาพประกอบไอเดีย การสอนสะท้อนคิดให้ห้องเรียนมีชีวิตอย่างวิทยาศาสตร์

เทคนิคการสอนที่สามารถปรับใช้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาต่างๆ เพื่อทำให้ห้องเรียนเกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

#เทคนิคการสอนสะท้อนคิดให้ห้องเรียนมีชีวิตอย่างวิทยาศาสตร์


1. Randomize สุ่มอย่างไรให้ได้ตอบ การสุ่มตัวแทนนำเสนอ การสุ่มลำดับนำเสนอ ให้นักเรียนแต่ละคนเขียน ชื่อตัวเองบนไม้ไอศกรีม หรือกระดาษชิ้นเล็ก แล้วใส่ลงไปในแก้ว ในขณะที่มีการสอนแบบบรรยาย ครูสามารถสุ่มถาม คำถามเพื่อให้นักเรียนได้จดจ่ออยู่กับเนื้อหา การสุ่มตอบคำถามอีกแบบที่ได้ผลและนักเรียนตื่นเต้นมาก คือการเปิดหนังสือ แล้วนำหมายเลขหน้านั้นเป็นตัวกำหนดเลขที่และชื่อผู้ที่จะได้ตอบคำถาม เช่น 86 ครูอาจ บอกว่า 8+6 = 14 เลขที่ 14 ตอบคำถาม หรือ 8-6 = 2 เลขที่ 2 ตอบคำถาม หรือครูสุ่มชื่อนักเรียน 3 คนในห้องแล้ว ถามนักเรียนว่า เลข 1 ถึง 9 แต่ละคนชอบเลขอะไร เด็กสามคน บอก 1 4 6 นำตัวเลขมา operation กันได้ทุกวิธีเป็นการสุ่มถาม การสุ่มเลือกคำถาม ครูจัดเตรียมคำถาม อาจจะใช้หมายเลขข้อในกรณีที่นักเรียนได้รับเอกสารแบบฝึกหัดหรือเตรียมคำถามสำหรับทุกคน หรืออาจจะตัดกระดาษคำถามเป็นชิ้นใส่ลงในกล่องให้สุ่มหยิบขึ้นมาตอบก็ได้ เทคนิคนี้ใช้แก้ปัญหานักเรียนที่ไม่กล้าที่จะตอบคำถาม หรือลดเวลาในช่วงกิจกรรมที่ต้องขอตัวแทน หรือขาดอาสาสมัครเพื่อสาธิตการทดลอง นำเสนอผลงาน เป็นต้น

2. Snow balls ลูกบอลหิมะ เทคนิคนี้ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ หรือเป็นการสรุปคำ ศัพท์ที่สำคัญใน แต่ละหัวข้อ วิธีการคือให้นักเรียนเขียนคำศัพท์1 คำ ลงบนกระดาษโดยเป็นคำศัพท์ที่ตนเองเขียนได้ สะกดได้และรู้ความหมาย และขยำกระดาษเป็นก้อนกลม จากนั้นให้นักเรียนเข้าแถวเป็นวงกลม ครู เปิดเพลงจังหวะสนุกสนานเร้าใจ และให้นักเรียนเดิน หรือ ขยับไปตามจังหวะหมุนเป็นวงกลมไปรอบๆ ครูกดหยุดเพลง นักเรียนแต่ละคนขว้างลูกบอลไปหาเพื่อนที่อยู่ตรงข้าม จากนั้นให้แต่ละคนวิ่งไป เก็บลูกบอลของเพื่อน แล้วคลี่กระดาษเปิดอ่านคำศัพท์นั้น และจดจำว่าตนเองได้คำแรกคือคำใด ความหมาย คืออะไร ทำไปเรื่อยๆ 7-10 รอบ นักเรียนก็จะได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้น จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคน เขียนคำศัพท์ลงบนกระดาษ และตามหาเพื่อนที่ได้คำศัพท์เหมือนกับตนเองมากที่สุด เทคนิคนี้ใช้แก้ปัญหานักเรียนที่ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้น และเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเข้าจังหวะโดยใช้ดนตรีที่เหมาะสมในการร่วมกิจกรรม

3. Word Connect Word หนึ่งพยางค์สร้างความรู้ เทคนิคนี้ใช้ทดสอบความสามารถในการจดจำ การให้ความสนใจ ความเอาใจใส่ ใน จดจ่ออยู่กับเนื้อหาในขณะที่ครูกำลังสอน และสะท้อนความคิดความเข้าใจออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ใช้เมื่อสรุปองค์ความรู้ท้ายคาบ หรือความรู้ในเนื้อหา ที่ได้สอนไปแล้ว ครูควรมีไมค์ลอย เพื่อสะดวกต่อการเดินและยื่นไมค์ให้นักเรียนได้พูดคนละ 1 พยางค์ โดยเป็นเรื่องหรือเนื้อหาที่เรียนเท่านั้น ครูจะเห็นการเชื่อมโยง ไหวพริบ ความรวดเร็ว การสรุป การ แต่งประโยค การใช้คำเชื่อมเช่น...วัน....นี้...ฉัน...ได้...เรียน...รู้.....เกี่ยว...กับ...การ...สัง..... เคราะห์...ด้วย....แสง.....เด็กนักเรียนแต่ละคนจะตื่นเต้น ว่าจะเตรียมพยางค์ใด หรือคำใด เพื่อจะต่อเป็นประโยค และทำให้ประโยคของเพื่อนนั้นสมบูรณ์สื่อความหมายได้เกี่ยวเนื้อหาที่เรียน

4. Show Board Show Answer (SBSA) โชว์ป้ายได้คะแนน เทคนิคนี้ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแข่งขัน ต้องการความตื่นเต้น และการทำงานเป็นทีม ครูควรเตรียมกระดานไวท์บอร์ดขนาดเล็ก ปากกาไวท์บอร์ด แปรงลบกระดาน กริ่งสัญญาณ และตารางบันทึกคะแนน ข้อสอบ แต่ละข้อควรให้เวลาที่แตกต่างกัน ข้อสอบคำนวณอาจให้เวลา 1-2 นาที ข้อสอบความรู้ความจำ 30 วินาที ถึง 1 นาที การถามอาจถามปากเปล่า โดยการอ่านคำถาม หรืออาจใช้ PowerPoint นำเสนอข้อคำถาม การให้สัญญาณ กดกริ่งยาวหมายถึง ให้เวลาในการคิดคำตอบ กดกริ่งสั้น 2 ครั้ง หมายถึง ให้ยกคำตอบขึ้น กลุ่มใดยกช้าตัดสิทธิ์เพื่อฝึกความรวดเร็ว ความแม่นยำ และความซื่อสัตย์ครูสังเกตพฤติกรรม ดูปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนแต่ละกลุ่ม นักเรียนจะสนุกสนานมากครูอาจจะแกล้ง เฉลยผิดบ้างเพื่อให้นักเรียนได้เสนอแนวคิด debate หรือออกข้อสอบ ที่ทำให้นักเรียน ได้คิดได้เปรียบเทียบคำตอบ และแสดงคำตอบให้นักเรียนกลุ่มอื่นได้รู้จักวิธีการคิดด้วย

5. Word Explain Word Technique

คำอธิบายคำ เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสรุปองค์องค์ความรู้ในรูปแบบของโมเดลคำศัพท์ การจดจำ คำศัพท์โดยวิธีนี้มีข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถจดจำตัวสะกดได้อย่างแม่นยำ ผู้เรียนรู้จักรากศัพท์ นิยาม ความหมาย ที่มาและสามารถนำตัวอักษรทุกตัวในคำศัพท์นั้น ใช้เป็นอักษรตัวแรกของคำศัพท์อื่น ในบริบทเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ นักเรียนจะมีโอกาสทบทวน และเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะทุกคำและแต่ ละคนจะสร้างสรรค์โมเดล WEWT ของตัวเอง แล้วแต่ละคนจะนำมาประกวด และอธิบายให้เพื่อนๆ ฟัง ว่ารูปแบบของใครที่สามารถสรุป เชื่อมโยง ยกตัวอย่าง เล่นคำได้ครบและมากที่สุด สามารถ จัดเป็นนิทรรศการในแต่หัวข้อ แต่ละบทได้

6. Opinion Tree ต้นไม้แห่งแนวคิด เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสะท้อนผลการเรียนรู้(reflection) โดยใช้กิ่งไม้แห้งที่มี กิ่งแขนงย่อยจำนวนมาก มาตัดแต่ง ทาสีดำหรือสีน้ำตาล จากนั้น ให้นักเรียนตัดกระดาษเป็นรูปหัวใจ หรือรูปผลแอปเปิ้ล เขียนบรรยายความรู้สึก แนวคิดสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความประทับใจ ติดรูปและเขียนชื่อตัวเองลงไป จากนั้นนำไปเคลือบแผ่นใส เจาะรูด้านบนใช้เชือก ร้อยผูกแล้วนำไปแขวนตามกิ่งไม้ให้นักเรียน แต่ละคนได้ผลัดเปลี่ยนกันอ่านแนวคิดของเพื่อน เป็นการ แลกเปลี่ยนวิธีการที่แปลกใหม่ เมื่อผ่านไปประมาณ 1 เดือน หรือจบหน่วยการเรียนรู้ บทเรียน จะเรียกว่า ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ครูก็สามารถเก็บชิ้นงานนั้นไว้เป็นห้อง เป็นแฟ้มประวัติของนักเรียนแต่ละห้องได้

7. Role play การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นเทคนิคที่ให้นักเรียนได้มีโอกาสจำลองบทบาทและน าเสนอ เรื่องราวต่างๆ ในรูปการแสดง เหมือนละครสั้นๆ ให้เห็นการเคลื่อนไหว การพูด การออกเสียง การ สรุปแนวคิด เหมือนนักเรียนเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เป็นดารา ครูสังเกตพฤติกรรม ความสามัคคีความ กล้าแสดงออก ครูควรออกแบบการประเมินผล ในลักษณะการมีกรรมการหลายๆ ท่านมาวิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ให้คะแนน แนะน าวิธีการเพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุง โดยบูรการเชื่อมโยงความรู้ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ด้วย

8. Brain booster by 24 times week technique ฝึกสมองลองสมาธิ เทคนิคนี้ใช้ก่อนนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการฝึกสมาธิผู้เรียนให้มีความพร้อม ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการนั่งตัวตรงและมีขั้นตอนตามวิธี 24 times a week นักเรียนทุกคน หลับตา จากนั้นครูเปิดเพลง โดยเลือกใช้ดนตรีที่เน้นเพลงที่มีการบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย คีตภาวนาประกอบดนตรี บทสวดฝึกสมาธิ เสียงน้ำไหล เสียงนกในธรรมชาติ จากนั้นครูเล่าถึงการประพฤติตนที่ดี การมีสมาธิการตั้งใจเรียน การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ การมองหาอนาคตของตัวเอง ครูใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล และสอดแทรกความรู้และคุณธรรม ใช้เวลา ประมาณ 5 -7 นาที

9. Hear and clear ฟังให้ดีมีคะแนน เป็นเทคนิคที่ครูใช้ทดสอบประสิทธิภาพของการฟัง การสรุปใจความสำคัญ การฝึก สมาธิในการฟัง อ่านบทความ เนื้อเรื่องสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอน ในลักษณะ คลิปเสียง หรือครูอาจอ่านให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง เทคนิคนี้สามารถ ใช้ในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ และออกข้อสอบที่หลากหลาย ตามสภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

10. Teaching record ตอนนั้นฉันสอน เป็นเทคนิคที่ใช้ในการฝึกความสามารถในการนำเสนอ หรือ ให้นักเรียน สมมติบทบาทเป็นครู แต่ละคนต้องเตรียมบทพูด แสดงการสอน อธิบาย เนื้อหาที่ตนเข้าใจมีการสอดแทรกเทคนิคการเรียนรู้ส่วนบุคคลของผู้เรียน แล้วอัดคลิปวิดีโอสอนเหมือนติวเตอร์อาจแต่งตัวให้สมบทบาท เรียกเสียงหัวเราะ แต่มีพื้นฐานขององค์ความรู้ในแต่ละวิชา ถ้านักเรียนสามารถพูดได้อธิบายได้สอนได้แสดงว่าเขา ได้เตรียมตัว และทำซ้ำกลับไปกลับมา ปรับปรุงจนได้เป็นคลิปที่สมบูรณ์พร้อมจะส่งผลงานที่ดีที่สุดให้ครูได้


#เขียนโดย

นายปฤษฎางค์ เกี้ยงเก่า

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม จังหวัดยโสธร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร

ครูต้นแบบห้องเรียนคุณภาพระดับชาติ สพฐ.

กระทรวงศึกษาธิการ


(23ตุลาคม2564)

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(4)