icon
giftClose
profile

สิทธิในร่างกายและความหลากหลายทางเพศของเด็ก

28570
ภาพประกอบไอเดีย สิทธิในร่างกายและความหลากหลายทางเพศของเด็ก

การสอนเรื่องสิทธิในร่างกายของเด็กควรเริ่มอยากไรดี จะเริ่มพูดจากอะไร ออกแบบการสอนยังไงให้เด็กๆ เข้าใจและสื่อสารได้ ลองดูวิธีของครูมะปราง จิราเจตกันได้เลยค่า

“เพราะเด็กก็คือครูของเรา”

การสอนเรื่องสิทธิในร่างกาย 

ที่เริ่มจากให้เด็กเข้าใจความรู้สึกตัวเอง

เพราะ “สิทธิอยู่ในเนื้อในตัวของเด็ก”

.

เริ่มจากการ “สื่อสารความรู้สึก”

เพราะสิทธิอยู่ในเนื้อในตัวของเด็ก

.

การสอนเรื่องสิทธิแบบบรรยาย มันไกลตัวเด็ก

เราว่ามันต้องเริ่มจากให้เด็ก “เข้าใจความรู้สึกตัวเอง” ก่อน

ที่ฟินแลนด์ เขาจะมีกิจกรรมให้เด็กๆ ฝึกเข้าใจความรู้สึกตัวเอง

ที่เรียกว่า “Name it and you can own it” 

(ถ้ารู้จักความรู้สึก ก็จะจัดการมันได้)

เป็นวงล้อความรู้สึกต่างๆ แล้วให้เด็กหาสาเหตุของความรู้สึกนั้น 

เช่น รู้สึกโกรธเพราะมีคนละเมิดสิทธิเราหรือเปล่า 

รู้สึกผิด เพราะเราไปละเมิดสิทธิคนอื่นหรือเปล่า

จากนั้นเราค่อยให้เด็ก “สื่อสารอารมณ์” โดยใช้ภาษา

เวลาเพื่อนพูดอะไรที่ทำให้เขารู้สึกไม่ดี ครูตี ฯลฯ

ถามเขาว่า “รู้สึกยังไง” ชอบหรือไม่ชอบ

เด็กก็จะเริ่มรู้ว่า เขาไม่ควรรู้สึกเจ็บจากการโดนตีนะ

ถ้าเขาไม่ชอบ อยากให้หยุดทำ สนับสนุนให้เขาสื่อสาร

.

เราอยากให้เรื่องนี้มันเริ่มจาก “ในเนื้อในตัว” ของเขา

ถ้าเด็กกล้าฝึกพูดจากเรื่องเล็กๆ เช่น ไม่ชอบที่ครูยึดของเขาไป

ต่อไปเรื่องใหญ่ๆ อย่างเช่น การบริหารงานของรัฐบาล

เขาจะกล้าพูด กล้าส่งเสียง หรือกล้ายืนยันสิทธิของตัวเอง

.

ก่อนเริ่มสอน เราจะให้เด็กๆ ช่วยกันเขียนข้อตกลงห้องเรียนร่วมกัน

ว่า “เราอยากให้เพื่อนและคุณครูทำแบบไหน แบบไหนไม่โอเค” 

เราพยายามทำให้เด็กมีส่วนในการออกแบบข้อตกลง

ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยไปด้วยกัน เด็กๆ จะได้เห็นว่า

เขามีสิทธิในการสร้างกฎที่เขาต้องอยู่ร่วมกันได้

และความคิดเห็น ความรู้สึกของเขามีค่า 

.

ฝึกให้เด็กมี empathy (ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น) 

.

การที่เด็กไม่สามารถมี empathy หรือส่งต่อความรู้สึกดีๆ ได้ 

เพราะเขาเองก็ได้รับความรุนแรงจากการละเมิดสิทธิ

จากทั้งครอบครัว สังคมและห้องเรียนที่เขาเคยผ่านมา

(เช่น การเพิกเฉย การลดทอนคุณค่า การปฏิเสธ การบุลลี่ ล้อเลียน)

นี่คือสิ่งที่เราเห็นจากการสังเกตเด็กๆ 

เพราะจริง ๆ คุณครูของเราก็คือเด็กนั่นเอง

.

ห้องเรียนเราจึงต้องเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” 

ที่ทุกคนแสดงออกได้

ให้เขารู้สึกว่าการที่คนอื่นเคารพสิทธิเขา รู้สึกดียังไง

ถ้าเพื่อนหรือคนที่เขาแคร์ได้รับการเคารพสิทธิบ้าง

เขาก็คงรู้สึกดีเหมือนกัน

.

เราจะจำลองสถานการณ์ ให้เด็กเข้าไปอยู่ในความรู้สึก

อย่างที่เราสอนเรื่องความยินยอม เราใช้สถานการณ์การซื้อชา

เมื่อเขามีความอยาก ความต้องการอะไรสักอย่าง

อยากได้รับการตอบสนองไหม หรือรู้สึกยังไงหากถูกบังคับ

ให้เขาเรียนรู้จากความรู้สึกตัวเอง

เขาจะได้เห็นว่าเพื่อนๆ ก็เป็นมนุษย์เหมือนเขา

ก็น่าจะรู้สึกเหมือนกัน แล้วเขาจะเข้าใจคำว่าเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้น

.

ไอเดียการออกแบบการสอนเรื่องสิทธิของครูมะปราง

ภาษาสีรุ้ง:

เราเห็นปัญหาการที่เด็กบุลลี่เพื่อนที่เป็น LGBT ในห้องเรียน

เราเลยเกิดไอเดียการสอนสอนเรื่อง “ภาษาสีรุ้ง” ขึ้นมา

เป็นการให้เด็กๆ เรียนรู้สรรพนามที่ตัวเองใช้และสะท้อนความรู้สึก

ว่าสรรพนามที่ให้เขาต้องเลือกเป็น “ญ หรือ ช” ตามเพศสรีระ

ตีกรอบตัวตน หรือ อัตลักษณ์ทางเพศของเขาไหม?

เช่น พอเรียกตัวเองว่า “ผม” เขารู้สึกว่าเขาต้องเข็มแข็ง

หรือ ต้องมีการเป็น “ด.ญ./ ด.ช.” ต้องพูด “ค่ะ/ครับ”

แต่ในขณะที่เรายังจำเป็นต้องใช้ภาษานี้ในการสื่อสาร 

เราสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อสารตัวตนได้ เราเลือกได้

ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่ให้เขาเรียกตัวเองว่า “หนู”

แต่ถ้าหนูรู้สึกอยากเรียกตัวเองด้วยคำไหน หนูเลือกได้นะ

(อ่านเรื่องราวการออกแบบห้องเรียน “ภาษาสีรุ้ง” ได้ที่: 

https://inskru.com/idea/-MOaOxZQgc2iPgGV2gcl)

.

ความยินยอม (Consent) และการซื้อชาไข่มุก:

ปัญหาเรื่องความยินยอม (consent) และสิทธิในร่างกาย

บางกรณีมาจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน

เราเลยสอนเรื่องชนิดของประโยค ซึ่งแม้หัวข้อค่อนข้างแห้ง

แต่เรานำรูปประโยคต่างๆ เช่น ปฎิเสธ คำถาม ฯลฯ

เข้ามาฝึกให้เด็กๆ สื่อสารความ(ไม่)ต้องการ

และฝึกแสดงเจตนาที่ชัดเจนผ่านภาษาได้

โดยใช้สถานการณ์การซื้อชาไข่มุกมาเป็นโครงสอนเรื่อง consent

ว่าในสถานการณ์ที่เขาต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจนต้องพูดยังไง

(ดูไอเดียการสอนเรื่อง consent กับชาไข่มุข ได้ที่:

https://inskru.com/idea/-MbXYYQUw64_PiWajL5y)

.

ครูทำอะไรได้บ้างในการสอนเรื่องสิทธิ

.

ครูเป็นกุญแจสำคัญ เพราะเราอยู่กับเด็กเยอะ

การสอนเรื่องสิทธิให้เด็ก ครูเองก็ต้องตระหนักด้วย

เราต้องมองเห็นปัญหาตรงกันก่อนว่าการละเมิดสิทธิเป็นปัญหา

ไอเดียการสอนจะเกิดขึ้นหลังจากเราเข้าใจตรงนี้

เมื่อครูสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิให้ตั้งแต่ในห้อง

พอเด็กๆ ออกไปเจอสังคม เขาก็จะส่งต่อความตระหนักนั้น

และร่วมสร้างสังคมที่เคารพสิทธิกันและกันได้

.

ครูมะปราง จิราเจต วิเศษดอนหวาย

ครูสอนภาษาไทย

.

.

#สอนเรื่องสิทธิในร่างกาย

#Teacher_Story

#insKru

#เพราะทุกการสอนเป็นไปได้

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(2)