icon
giftClose
profile

รู้จักตัวตนและคนรอบข้างด้วยสัตว์ 4 ทิศ

67568
ภาพประกอบไอเดีย รู้จักตัวตนและคนรอบข้างด้วยสัตว์ 4 ทิศ

สัตว์ 4 ทิศ ในเวอร์ชั่นนี้มุ่งประเด็นไปที่การสื่อสาร การหาข้อมูลและฝึกการฟัง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี Task Based Learning เด็กๆจะได้สนุกกับ Information Gap และครูก็ได้ Active Learning มาอีก 1 มาลองเล่นเวอร์ชั่นนี้ดูนะครับ

สัตว์ 4 ทิศ หรือ DISC Personality เป็นทั้งแบบทดสอบค้นหาตัวเองและแบบทดสอบบุคลิกภาพเกี่ยวกับลักษณะนิสัยและลักษณะการทำงานของคน 4 แบบ คือ D (Dominance), I (Influence), S (Steadiness) และ C (Compliance) โดยจะเปรียบเป็นสัตว์ทั้ง 4 ชนิดหรือสัตว์ 4 ทิศ ได้แก่ กระทิง, อินทรี, หนู และหมีตามลำดับ การประเมิน DISC เป็นเครื่องมือประเมินพฤติกรรมตนเองโดยอิงจากทฤษฎีทางอารมณ์และพฤติกรรมของ DISC ปี 1928 ของนักจิตวิทยา William Moulton Marston


คาบที่ 1 เส้นทางการเรียนรู้ Learning Curve ตามขั้นตอนนี้เลยครับ


1. Intro เรียกความพร้อม ...

Check ชื่อด้วยนิสัยหรือพฤติกรรมของสัตว์มาคนละ 1


2. Stimulate แหย่ให้อยากรู้ ...

ครูเล่าให้นักเรียนฟังถึงทฤษฎี พูดคุยถึงลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนในสังคม แต่หากต้องมาอยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกัน ก็จะต้องปรับตัวเอง แต่จะปรับนิสัย ทำงานร่วมกันอย่างไรให้เวิร์ก วันนี้ครูต้นก็เลยมาชวนพวกเรา ค้นหาตัวเอง เพื่อช่วยทำให้ เข้าใจตนเองและผู้อื่น ตามหลักการของ “สัตว์ 4 ทิศ” รวมถึงเพื่อน ๆ มากยิ่งขึ้น


3. Learn เรียนรู้จากประสบการณ์ ...

3.1 Work in Pair ให้นักเรียนจับคู่นั่งตรงข้ามกัน นักเรียนเลือกว่าจะเป็น Student A หรือ Student B (ใบงานอัพโหลดไว้ให้แล้ว นักเรียน A จะมีข้อมูลกะทิงกับหนู นักเรียน B จะมีข้อมูลหมีกับอินทรีย์ ตามหลักของ TBL ช่องว่างระหว่างข้อมูล (Information gap) คือความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันโดยเมื่อคู่สนทนาไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลไม่พอเพียง ทำให้ต่างฝ่ายต้องการที่จะทราบหรือให้ข้อมูลซึ่งกันและกัน)

3.2 ให้นักเรียนเลือก (Choice) คือผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกที่จะพูดหรือเขียน ตลอดจนรูปแบบในการสื่อสารความหมาย ให้นักเรียนได้สลับกันพูดสลับกันฟัง ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ ช่วยกันเติมข้อมูลในใบงานให้เต็ม หากเป็นไปได้ให้เขียนตามที่เพื่อนบอกจะสนุกขึ้นไปอีก (ควรห้ามนักเรียนลอก ถือเป็นกติกา 1 ข้อ)

3.3 ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ต่างคนต่างป้อนข้อมูล เพื่อดูว่าผลของการสื่อสารสำเร็จหรือเปล่า (ท้าทายกันว่าเราจะไม่ลอก เราจะฟังเพื่อความเข้าใจ แล้วบันทึกให้ได้ใจความ)


ในระหว่างนี้ ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้การพูดและการฟังให้มากที่สุด การให้ผู้เรียนสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างอิสระเสรี


4. Conclusion ทวน/ถอดบทเรียนร่วมกัน ...

ให้นักเรียนวิเคราะห์ตัวเองว่ามีแนวโน้มลักษณะตรงกับสัตว์ชนิดใดในสัตว์ 4 ทิศ หากนักเรียนบอกว่าผสมกัน ให้นักเรียนแยกเป็นเปอร์เซ็นต์


5. Apply ชวนให้ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ให้นักเรียนแชร์ผลวิเคราะห์ในวงใหญ่

ครูสรุป โดยให้นักเรียนประเมินตนเองกันดูเพื่อจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองให้เหมาะสม และเข้าใจคนอื่นว่าเขาเป็นแบบไหน จะได้เรียนรู้วิธีการที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานความแตกต่างของแต่ละคน 

*-*-*-*

ทฤษฎี

การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (TASK-BASED LEARNING)

พราบู (Prabhu. 1987 : 46 – 47) แบ่งประเภทของกิจกรรมที่เป็นภาระงานออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งประเภทของภาระงานนี้อยู่ในช่วงเริ่มแรกของการนำภาระงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ ดังนี้

1. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information - Gap Task) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดการส่งผ่านข้อมูลจากคนหนึ่งไปถึงอีกคน ในการทำกิจกรรมผู้เรียนจะต้องได้ใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลของตนกับสมาชิกในกลุ่มหรือภายในห้องเรียน เช่น การกำหนดตารางที่มีรายละเอียดยังไม่สมบูรณ์ และ มีข้อมูลที่สัมพันธ์กันกับตารางนั้นๆแจกให้ผู้เรียนเป็นข้อความที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทำกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะต้องได้การใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความที่ตนมีกับผู้อื่น โดยที่ผู้เรียนจะต้องหาข้อความของสมาชิกคนอื่นที่มีความสัมพันธ์กับข้อความที่ตนได้รับเพื่อนำไปเติมลงในตารางให้สมบูรณ์

2. กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ (Reasoning - Gap Task) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่ได้รับโดยผ่านการคิดจากการวิเคราะห์ การอนุมาน การวินิจฉัย การให้เหตุผล หรือตามความคิดเห็นส่วนตัว เช่น ผู้สอนให้ผู้เรียนจัดตารางเรียนใหม่ โดยทำการระบุเวลาและรายวิชา และให้เหตุผลในการจัดตารางได้อย่างเหมาะสม

3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Opinion-Gap Task) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้ เช่น การร่วมกันอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น


อ้างอิง

Prabhu, N.S. (1979). The Procedural Syllabus Design and Methodology. Oxford :Pregamon Press. 


blockdit.com/posts/5da9c553daae8731388e20ba

km.moc.go.th/download/article/SR/story20062556/Coaching.pdf

marumura.com/four-animals-personality

educathai.com/knowledge/articles/85

wongnai.com/articles/four-animals-disc-personality

*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*


คาบ 2 Workshop 3 ก

ก.เกม 

ชวนเล่นเกม ครูขอ 

วิธีเล่น Step 1 เดี่ยว ครูพูดว่า "ครูต้นขอ ให้นักเรียนบอกว่าขออะไร ครูต้นขอหมี นักเรียนก็ทำท่าหมี" ให้ครูทำ 4 รอบให้ครบสัตว์ 4 ทิศ 

Step 2 กลุ่ม 4 คน ครูต้นขอ ขออะไร ขอหมี ให้นักเรียน 4 คน ประกอบร่างเป็นหมี ให้ครูทำ 4 รอบให้ครอบสัตว์ 4 ทิศ


ก.กิจกรรม

ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนมีโอกาสได้ทำความเข้าใจธรรมชาติระหว่างกัน เพื่อการปรับตัวเข้าหากัน ให้นักเรียนได้บอกความในใจว่า หากคุณจะทำงานกับพวกเรา ให้เข้าใจพวกเราในประเด็นเหล่านี้ 

1.จัดกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม กะทิง หมี อินทรีย์ หนู 

2.ให้ทุกกลุ่มได้สื่อสารถึงกลุ่มอื่นในประเด็นเหล่านี้

หากเป็นหนู 1) หนูจะบอกหมีว่า...

2) หนูจะบอกอินทรีย์ว่า...

3) หนูจะบอกกะทิงว่า... และ

4) หนูจะพยายาม...(ใบงานคาบ 2 ควรให้นักเรียนทำลงในกระดาษฟลิปชาร์ตแผ่นใหญ่)


ก.กระบวนการ

แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าห้อง สื่อสารออกมาให้ได้รู้ว่าเราเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น "ฉันเป็นหมี หากกะทิงจะทำงานกับฉัน อย่าเสียงดังมากนัก แล้วก็อยากบอกกับอินทรีย์ว่า รอฉันด้วย อย่าเร็วเกินไป ฉันตามไม่ทัน" 


ครูสรุปว่า ข้อมูลเหล่านี้ให้เรานำมาใช้ประกอบการตระหนักรู้ในตนเองและตระหนักรู้ผู้อื่น เพื่อการใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจกัน


ขอบคุณ A-chieve, ก่อการครู และมะขามป้อม มาก ๆ สำหรับความรู้ที่มอบให้

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 4

ชื่อไฟล์​: ใบงาน คาบ 1.docx

ดาวน์โหลดแล้ว 153 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(8)
เก็บไว้อ่าน
(16)