icon
giftClose
profile

Fair or Unfair? (เเผนการสอนความน่าจะเป็น)

21741
ภาพประกอบไอเดีย Fair or Unfair? (เเผนการสอนความน่าจะเป็น)

กิจกรรม Fair or Unfair? จะช่วยทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เเละเข้าใจเรื่องความน่าจะเป็น ผ่านการโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน เเละเมื่อทำกิจกรรมจบ นักเรียนจะรู้ว่าความน่าจะเป็นทางทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแบบมีหลักฐานและเหตุผลรองรับ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ

ชื่อกิจกรรม          Fair or Unfair?


วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

           นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ปัญหาด้วยตนเอง


กลุ่มเป้าหมาย         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น


เวลาที่ใช้                  50 นาที          


ขั้นตอนของการทำกิจกรรม

         1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน

         

2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับเหรียญสองเหรียญที่แตกต่างกัน (เหรียญบาท 1 เหรียญกับเหรียญสองบาท 1 เหรียญ) และใบบันทึกกิจกรรม Fair or Unfair? จากครู

         

3. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม 3 คนเลือกว่าจะเป็นผู้เล่นคนที่ 1, ผู้เล่นคนที่ 2 หรือ ผู้เล่นคนที่ 3 โดย

                       - ผู้เล่นคนที่ 1 จะได้รับ 1 คะแนน เมื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นหัว-หัว

                       - ผู้เล่นคนที่ 2 จะได้รับ 1 คะแนน เมื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นก้อย-ก้อย

                       - ผู้เล่นคนที่ 3 จะได้รับ 1 คะแนน เมื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นแบบผสม (มีหัว 1 เหรียญ และ มีก้อย 1 เหรียญ)


4. นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นกิจกรรม Fair or Unfair? ภายในเวลา 5 นาที โดยสมาชิกในกลุ่มผลัดกันโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน แล้วให้บันทึกผลลัพธ์ลงในใบบันทึกกิจกรรมที่ได้รับ ตามภาพด้านล่าง รวมถึงหลังจากการเล่นแต่ละครั้ง ครูให้แต่ละกลุ่มพูดคุยและอภิปรายเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงให้คาดการณ์ว่าใครจะเป็นผู้ชนะในครั้งต่อไป

 

         

 


 

           5. เมื่อหมดเวลา 5 นาที ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอว่าผู้เล่นหมายเลขใดเป็นผู้ชนะในกิจกรรมนี้ (ผู้เล่นคนที่ 3 ที่เป็นผลลัพธ์ผสมคือ มีหัว 1 เหรียญ และ มีก้อย 1 เหรียญ)

           

6. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน แล้วนำเสนอให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง


 

 

           7. ครูถามนักเรียนว่า จากตารางผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน สิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็นคืออะไร (มีผลลัพธ์เกิดขึ้นที่เป็น หัว-ก้อย หรือ ก้อย-หัว) ครูถามต่อไปว่า แล้วแบบนี้หมายความว่าอย่างไร (ผู้เล่นคนที่ 3 ที่เลือกทายผลลัพธ์ว่าจะเกิดหัว 1 เหรียญ และ ก้อย 1 เหรียญ จะเป็นผู้ชนะเพราะว่ามีโอกาสในการได้คะแนนมากกว่า)

           

8. นักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ (ความน่าจะเป็นทางทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแบบมีหลักฐานและเหตุผลรองรับ)


อุปกรณ์

1.     เหรียญบาท 1 เหรียญและเหรียญสองบาท 1 เหรียญ

2.     ใบบันทึกกิจกรรม


วิธีการเก็บคะแนน  

1.     การตอบคำถาม/การอภิปราย

2.     การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

3.     การบันทึกผลลัพธ์ในใบบันทึกกิจกรรม


สรุป 

         ความน่าจะเป็นทางทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแบบมีหลักฐานและเหตุผลรองรับ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ

 

ข้อมูลอ้างอิง

           1. บทความสนุกกับความน่าจะเป็น : เรียน ๆ เล่น ๆ อย่างสะเต็มศึกษา ของ ดร.อลงกต ใหม่ด้วง

           2. หนังสือ Elementary and Middle School Mathematics Teaching Developmentally ของ John A. Van de Walle, Karen S. Karp and Jennifer M. Bay-Williams

 

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร.รัชนิกร ชลไชยะ หลักสูตรคณิตศาสตร์ศึกษา ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: กิจกรรมความน่าจะเป็น Fair or Unfair.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 35 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(4)