inskru
gift-close

โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์

0
0
ภาพประกอบไอเดีย โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์

สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแบ่งปันกิจกรรมความน่าจะเป็นที่สามารถใช้สอนเพื่อเป็นพื้นฐานให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกิจกรรมที่สนุกสนานและได้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นด้วยค่ะ

เวลาที่ใช้ 1 คาบ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

         เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดให้

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

อุปกรณ์

         1. ตัวแบบลูกเต๋าจำนวน 2 รูป

         2. ใบงาน กิจกรรม โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

         1. ครูเปิด ทอยลูกเต๋า 🎲 (piliapp.com) เพื่อสาธิตการทอยลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมทั้งแนะนำวิธีการหาผลบวกแต้มของลูกเต๋าทั้ง 2 ลูก

         2. นักเรียนจับกลุ่ม 3 คน เพื่อทำกิจกรรม

         3. นักเรียนได้รับตัวแบบลูกเต๋าตามตัวอย่างให้กลุ่มละ 2 รูป

 

         4. ให้แต่ละกลุ่มเขียนตัวเลข 1, 1, 2, 3, 3, 3 ลงบนแต่ละหน้าของลูกเต๋าทั้ง 2 ลูก พร้อมทั้งประกอบลูกเต๋า

         5. ครูอธิบายการทำกิจกรรม ดังนี้

                   - ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทอยลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน

                   - ให้นักเรียนบันทึกแต้มที่เกิดจากการทอยลูกเต๋า กำหนดเวลาในการทำกิจกรรม 10 นาที

         6. ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรม ครูให้แต่ละกลุ่มทายว่าค่าของผลรวมแต้มของลูกเต๋าค่าใดมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด (นักเรียนอาจตอบว่า 6 เนื่องจาก มีเลข 3 เยอะ หรือ นักเรียนอาจตอบว่า 4 เนื่องเลข 1 มี 2 ตัว และเลข 3 มี 3 ตัว)

         7. นักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบงานเพื่อบันทึกผลจากการทอยลูกเต๋า

         8. เมื่อครบเวลาที่กำหนด นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้       

                   - จากตารางการบันทึกผลการทอยลูกเต๋าของนักเรียนแต่ละกลุ่มคิดว่าค่าของผลรวมแต้มของลูกเต๋าค่าใดมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด เพราะอะไร (นักเรียนตอบได้ตามอิสระโดยอาศัยข้อมูลจากตารางการบันทึกผล)

สรุป

         9. ครูเขียนตารางแสดงผลรวมแต้มของลูกเต๋า 2 ลูก นักเรียนตอบคำถามดังนี้

                   - จาก ตารางแสดงผลรวมแต้มของลูกเต๋า 2 ลูก ผลรวมใดที่ออกบ่อยที่สุด (4)

                   - ผลรวมแต้มของลูกเต๋ามีโอกาสที่จะได้เท่ากับ 1 หรือไม่ เพราะเหตุใด (ไม่ เนื่องจากไม่มีตัวเลขสองตัวใดบนลูกเต๋าที่รวมแล้วได้ 1)

                   - ครูสาธิตการทอยลูกเต๋าแล้วให้นักเรียนทายว่าค่าของผลรวมแต้มของลูกเต๋าค่าใดมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยมากที่สุด (นักเรียนอาจตอบว่า 4 เพราะ จากตารางผลรวมแต้มที่ได้ 4 ออกบ่อยมาก)

                   - ครูทอยลูกเต๋าแล้วนำผลรวมแต้มของลูกเต๋าที่ได้มาให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน

                   (ในกรณีที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าที่ได้เท่ากับ 4 ครูสามารถให้เหตุผลว่า 4 มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด แต่ถ้าผลรวมแต้มของลูกเต๋าที่ได้เท่ากับ 2, 3, 5, 6 ครูสามารถให้เหตุผลว่าถึงแม้ว่า 4 มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด แต่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าค่าอื่นก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น โอกาสของเหตุการณ์จึงเป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ แต่อาจจะไม่แม่นยำ)

วิธีการเก็บคะแนน

  1. การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  2. การตอบคำถาม/การอภิปราย
  3. การทำใบงานที่ได้รับมอบหมาย

ข้อมูลอ้างอิง

หนังสือ Elementary and Middle School Mathematics Teaching Developmentally ของ John A. Van de Walle, Karen S. Karp and Jennifer M. Bay-Williams

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.รัชนิกร ชลไชยะ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    คณิตศาสตร์ประถม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    BeJee

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    Hengmath
    คุณครูคณิต ที่จะมาสร้างชีวิตให้กับตัวเลข และ สร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ