inskru
gift-close

รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา(CIPPA)

2
0
ภาพประกอบไอเดีย รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา(CIPPA)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนสระแก้วได้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วรรณคดีจินตศิลป์ ในรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ถ่ายทอดความรู้ด้วยจินตนาการ และกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วรรณคดีสร้างสรรค์คนดีด้วยวรรณคดีจินตศิลป์ด้วยเทคนิคการสอนแบบ CIPPA MODEL ( เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง )

 

รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา ( CIPPA Model)

ความหมายการสอนตามรูปแบบ CIPPA

           รูปแบบการสอนแบบซิปปา หมายถึง กระบวนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างความรู้ ค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง นักเรียนมีบทบาทมากในกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้

            C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง

             I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย

             P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย

             P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ

              A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

 ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model

๑. ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้

ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน

              ๒. ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น

              ๓. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่

              ๔. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน

              ๕. ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้

              ๖. ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม

              ๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป 

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยแผนการสอนทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจัยในชั้นเรียนการจัดการชั้นเรียนเทคนิคการสอน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    krutasja
    อิสระทางความคิด แต่ยังยึดติดกับระเบียบแบบแผน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ