icon
giftClose
profile

กิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด"M-mix figure"🧩

24409
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด"M-mix figure"🧩

จุดเริ่มต้นที่เกิดขึ้นจากลักษณะองค์รวมของเด็กช่วงวัย11-13ปี/วัยเด็กตอนปลาย พวกเขามีการเจริญเติบโตเหมือนต้นไม้ที่เพาะปลูกมาได้สักระยะ แน่นอน! เป็นธรรมชาติที่เขาจะแตกหน่อได้ช้าเร็วต่างกัน แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? ให้พวกเขาเข้าใจความต่างอย่างไม่แตก ปุ๋ยดีอาจมีส่วนช่วย แต่ใช่ว่าสภาพอากาศจะไม่มีส่วนสนับสนุน🌿

"ภาวะทางด้านอารมณ์ที่เกิดจากการทัดเทียมตัวเอง การเข้าข้างตนเอง เธอสูง ฉันเตี้ย ปัญหาทางด้านอารมณ์ทั้งหลายของวัยเด็กตอนปลาย ในทางหนึ่งอาจเกิดมาจากพัฒนาทางด้านร่างกายที่ช้า หรือเร็วต่างกัน"

สวัสดีครับพี่ ๆ ครู รวมถึงว่าที่ครูทุกคน ผมเป็นนักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนาคตที่หวัง กับแรงกระตุ้นจากปัญหาของระบบการศึกษาของรุ่นพี่ครูหลาย ๆ คน ทำให้ผมลังเลในทางสายนี้ แต่หนึ่งสิ่งที่ผมเชื่อมาก ๆ คือคนที่เรียนครู รวมถึงบุคคลที่ได้ชื่อว่าครู เขาเหล่านั้นไม่ได้เล็งที่เนื้อหา แต่เขาเหล่านั้นพยายามเล็งที่ตัวนักเรียนเพื่อสร้างเนื้อหา ในทางตรงอาจมีบางกิจกรรม/เนื้อหา สามารถส่งเสริม/พัฒนา/แก้ไข ได้อย่างตรงจุด และแม่นยำ แต่ในบางกิจกรรม/เนื้อหา อาจไม่ได้ให้ผลที่เด่นชัด ยังคงต้องมีกิจกรรมอื่นเข้ามาเสริม หรือยังต้องพึ่งระยะเวลา และการติดตามผล

จากการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ถ้ามองตามความเป็นจริงผมรู้สึกว่ามันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้จริง และเกิดขึ้นจริง "ต้นไม้ที่เพาะในกะลาใบเดียวแต่ทำไมถึงแตกหน่อช้า-เร็วต่างกัน ปุ๋ยที่ดี ดินที่เยี่ยม อาจมีส่วนให้เขาเติบโตไปพร้อม ๆ กันหรืออาจไล่เรี่ยกันได้ แต่ก็อย่าลืมว่าสภาพอากาศก็มีผลสนับสนุนเช่นกัน กลับกันในระบบการศึกษา การที่จะไปส่งเสริม/พัฒนา/แก้ไข มันอาจไม่ได้จบที่เนื้อหาตามหลักสูตร แต่ส่วนสนับสนุนที่อาจสามารถส่งเสริม/พัฒนา/แก้ไข เขาเหล่านั้นได้ตรงจุดพร่อง จุดพร้อมมากขึ้น คือการรับรู้-ใช้ใจ-เข้าใจ-สู่ใจ เข้าใจในสมรรถนะของปัจเจก เข้าใจในสภาพครอบครัว และแวดล้อม รวมถึงเข้าใจในพัฒนาการ..

🤣เทศน์ซะยาวเลย555555 มาเริ่มกิจกรรมที่ผมได้คิดดีกว่าครับ กิจกรรมที่ผมคิดขึ้นมา มี 2 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่บูรณาการทางด้านวิชาศิลปะ นำไปสู่การจัดกิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยผมให้ชื่อกิจกรรมทั้งคู่ว่า "M-mix figure" ซึ่งผมได้จำแนกความหมาย ดังนี้

1.กิจกรรมออกแบบชุดอย่างสร้างสรรค์ ในงานสร้างสรรค์ ชุด"ฟิกเกอร์ปัง ๆ"🎨

M(material) : แนวความคิดของสมาชิกที่ได้รับหน้าที่ ตามกระบวนการกลุ่ม ใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นกำหนดปัญหา 2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน 3.ขั้นรวบรวมข้อมูล 4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ5.ขั้นอภิปรายและสรุปผล

Mix : การผนวกความคิดในทุกขั้นตอน โดยผ่านการยอมรับ และตัดสินใจร่วมกันในกลุ่ม

Figure : การถ่ายทอดองค์รวมความคิดสู่ใบงานฟิกเกอร์ เพื่อชิ้นงานที่เป็นรูปธรรม

2.กิจกรรมเคลื่อนไหวท่าทางอย่างสัมพันธ์กัน🕺💃

M(material) : อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย

Mix : การนำร่างกายแต่ละชิ้นส่วนมาทำพร้อมกัน รวมกัน โดยมีความสัมพันธ์กัน(Relationships) เพื่อให้เกิดเป็นชิ้นส่วน/เครื่องแต่งกาย ภายใต้ความเหมาะสม(สถานที่ สภาพอากาศ เป็นต้น)

Figure : นักเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการกลุ่ม

***กิจกรรมศิลปะอาจมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ การยอมรับความคิดของเพื่อนสมาชิก อาจนำไปสู่พื้นฐานการเข้าใจในการยอมรับ

***กิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ มากที่สุดที่ผมหวังคือเด็กปลดล็อคความคิดเรื่องข้อจำกัดด้านร่างกายที่ต่างกัน "อ๋อ เธอสูง และแขนยาวกว่าฉัน แต่เธอเอาแขนเธอที่ยาว และพยายามย่อตัวลงมาเป็นขากางเกงที่ต่อกับแขนของฉันก็ได้นี่นา"

-------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม📚

กิจกรรมที่หนึ่ง : กิจกรรมออกแบบชุดอย่างสร้างสรรค์ ในงานสร้างสรรค์ ชุด"ฟิกเกอร์ปัง ๆ"

-เริ่มจากการแบ่งกลุ่ม ตามจำนวนที่สะดวก แต่ทุกต้องคนต้องได้รับการแจงหน้าที่ความเหมาะสม/ถนัด/และอยากพัฒนาฝีมือตนเอง(อยากลองทำ) ภายใตความสมัครใจ

-แต่ละกลุ่มจะได้กระดาษที่มีเส้นฟิกเกอร์หุ่นไว้อยู่ ทั้งชาย และหญิง จัดสรรได้ตามถนัด

*ตัวอย่างใบงานฟิกเกอร์

-ลำดับหน้าที่แบ่งได้ดังนี้

ขั้นตอนที่1 ขั้นกำหนดปัญหา : กำหนดแรงบันดาลใจ/เนื้อหาการแสดง และรูปแบบการแสดงคร่าว ๆ                 

ขั้นตอนที่2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน : แนวความคิดของชุดการแสดง ฟังเรื่องราวในขั้นตอนที่1แล้วในหัวนึกว่าภาพชุดออกมาประมาณไหน

ขั้นตอนที่3 ขั้นรวบรวมข้อมูล : คิดค้นหาพื้นที่ วัตถุ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ณ ขณะนั้น เพื่อที่จะนำฟิกเกอร์ไปทาบ

ขั้นตอนที่4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล : ประเมินความสัมพันธ์ของแนวความคิดทั้งขั้นตอนที่1 ขั้นตอนที่2 และขั้นตอนที่3 (ขั้นตอนนี้รับบทนางQC 555555)

และขั้นตอนที่5 ขั้นอภิปรายและสรุปผล : สรุปผลเพื่อลงมติความพอใจของชิ้นงาน แล้วนำไปสู่การออกแบบชุดบนใบงานฟิกเกอร์ จากนั้นฉลุชุดออก และนำใบฟิกเกอร์ไปทาบตามสิ่งแวดล้อมที่ได้ร่วมกันคิดไว้แล้วจึงถ่ายภาพ และนำเสนอชิ้นงาน พร้อมบอกความเป็นมา อธิบายรูปแบบชุด และเหตุผลที่เลือกสิ่งแวดล้อมเช่นนี้

*กระบวนการกลุ่มในกิจกรรมนี้ คือการที่ขั้นตอนที่1 นำเสนอแนวคิด เพื่อนสมาชิกช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิด จนสุดท้ายสรุปเป็นก้อนความคิดของขั้นที่1 จากการยอมรับ และพอใจจากทุกฝ่าย แล้วขั้นตอนที่2 จึงเริ่มนำเสนอแนวคิดของตนต่อ ทำเช่นนี้จนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนที่5

*ตัวอย่างผลงานที่1

*ตัวอย่างผลงานที่2

พี่ ๆ อย่าพึ่งตกใจนะครับ ว่างานมันจะยาก หรือใหญ่เกินไปไหม5555 ตัวอย่างที่ยกมาเป็นตัวอย่างจากแนวความคิดของเด็กมหาลัย โครงเรื่องมาจากการแพร่กระจายของเชื่อโควิด-19

-ชุดที่1 เป็นชุดคลุมที่ปกป้อง สื่อถึงแมส ใช้สีขาว และการพันแน่นของเชือกสื่อถึงเกราะป้องกัน โดยสีแดงรอบ ๆ สื่อถึงว่าแม้เราจะปกป้องเพียงใด เชื้ออันตรายจะยังคงอยู่รอบตัวเสมอ

-ชุดที่2 เป็นชุดที่สื่อถึงตัวโควิดที่ทำการแพร่ประจาย มีลูดปัดร้อยยาว ปักคละชุด เมื่อเหวี่ยงตัวลูกปัดจะถูดเหวี่ยงออกสื่อถึงการแพร่เชื้อ รวมถึงลายชุดจะเน้นถึงการเจาะ ชอนไชเข้าสู่ร่างกาย อันตราย และรุนแรงจากสีแดงของสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่สอง : กิจกรรมเคลื่อนไหวท่าทางอย่างสัมพันธ์กัน (กิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์)

-เริ่มจากการแบ่งกลุ่ม ตามจำนวนที่สะดวก แต่ทุกต้องคนต้องได้รับการแจงหน้าที่ความเหมาะสม/ถนัด/และอยากพัฒนาฝีมือตนเอง(อยากลองทำ) ภายใตความสมัครใจ

-จากนั้นจึงสาธิตท่าตัวอย่างการเคลื่อนไหวร่างกายที่สัมพันธ์กัน

*ตัวอย่างการสาธิตทำเป็นกระโปรง และเสื้อ

-ให้เด็กร่วมกันปฏิบัติ ซึ่งเมื่อปฏิบัติเสร็จครูจะเดินสอบถามแนวความคิดตามรายกลุ่ม โดยการปฏิบัตินั้นจะตามตัวอย่างการตั้งโจทย์ดงันี้

1.โจทย์ชิ้นส่วนเครื่องแต่งกาย และ2.โจทย์เครื่องแต่งกาย กับสถานที่ (ชุดเดรสยาว แขนยาว)

3.โจทย์เครื่องแต่งกาย กับสภาพอากาศ (ชุดฮูทยาว สไตล์ฝรั่ง)

4.ข้อมูลย้อมกลับ ลองให้เด็กคิดโจทย์เอง โดยระบุเพศ สถานที่ และสภาพอากาศ (ชุดเซ็ท : เกาะอก และกระโปรง มีพร็อบคือหมวก ต่างหู และสร้อย)

🎯🧩มาสรุปกันดีกว่าครับ หลัก ๆ แล้วกิจกรรมทั้งศิลปะ และนาฏศิลป์นี้ หวังว่าจะมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ มีกระบวนการกลุ่มเข้ามาเพื่อให้เกิดพื้นฐานด้านการยอมรับ และเข้าใจ นำเรื่องหลักการแต่งกายที่เป้นเรื่องใกล้ตัวของเด็ก ๆ มาเป็นตัวโครงสร้างด้านเนื้อหาของกิจกรรม

...กิจกรรมในครั้งนี้ เนื่องด้วยเป็นออนไลน์ ในส่วนของการพัฒนาด้านอารมณ์นั้นอาจไม่เด่นชัด เพราะจำเป็นจะต้องสังเกตุ และประเมินอารมณ์ทั้งก่อน และขณะร่วมกิจกรรม เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัดว่าเด็กพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดีขึ้นไหม อย่างไร แต่ที่เด่นชัดของทั้ง 2 กิจกรรมที่ผมได้สร้างขึ้นมาครั้งนี้ คือกระบวนการกลุ่มครับ อย่างที่ผมได้พูดไปแล้วว่าเด็กขาดความเข้าใจในความต่าง จึงส่งผลให้เด็กมีภาวะทางด้านอารมณ์ ทั้ง 2 กิจกรรมผมเลยเลือกกระบวนการกลุ่มมาเป็นตัวดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เด็กกล้าที่จะนำเสนอ กล้าจะที่คิด และลงมือทำ สุดท้ายคือกล้าที่จะยอมรับ และแก้ไข ดังจะเห็นได้จากกระบวนการกลุ่มที่ทุกขั้นตอนต้องยอมรับแนวคิด จากความสมัครใจของเสียงส่วนมาก เพราะสุดท้ายมันคือผลงานกลุ่ม ผลความสำเร็จของสีแต่ละแท่งที่ต่างความหมาย ต่างรูปลักษณ์ แต่นำมาระบายบนกระดาษใบเดียวกันทำให้เกิดผลงานที่ใครหลาย ๆ คนชื่นชมได้ ขอแค่สีแต่ละแท่งยินดีกับผลงาน นั่นถือว่าประสบความสำเร็จแล้วล่ะครับ สุดท้ายอีกหนึ่งสิ่งที่ผมภูมิใจมาก จากกิจกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ คือกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาได้ปลกล็อคว่า คำว่านาฏศิลป์ ไม่ใช่แค่รำ แต่นั่นหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย หลาย ๆ ครั้งในหลาย ๆ คน เมื่อรู้ว่าจะต้องไปเรียนนาฏศิลป์จะรู้สึกกังวล ไม่กล้าจนไม่อยากทำ แต่กิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เด็กกล้าที่จะคิด และลงมือทำ สบายใจ และสนุกไปพร้อมกัน ในทางหนึ่งเกิดจากผู้สอนนั้นคอยสนับสนุนความคิดของเด็ก ทำให้เขาไม่รู้สึกเคว้งจนเสียความมั่นใจ และไม่กล้านำเสนอแนวความคิด....ผมเชื่อเสมอนะครับ ว่าวิชาที่เราสอน จะส่งเสริม/พัฒนา/แก้ไข ไม่ได้เลย หากเราขาดความเข้าใจในตัวเด็ก ยังไงว่าที่ครูคนนี้ก็ขอฝากเนื้อฝากตัว พร้อมรับคำแนะนำจากพี่ ๆ ครูทุกท่านเลยนะครับ แล้วก็ขอบคุณเว็บไซต์ Inskru แหล่งเรียนรู้ของครูด้วยนะครับ ที่ได้เป็นพื้นที่ในการแชร์เทคนิค หลักการ แนวทางต่าง ๆ "ขอบคุณครับ"✍

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: ใบงานฟิกเกอร์.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 5 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(2)