icon
giftClose
profile

กิจกรรมการพัฒนาทักษะสำหรับเด็กอายุ 7 ปี (ออนไลน์)

21751

สวัสดีครับ เรามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ สำหรับเด็กอายุ 7 ปี (ออนไลน์) ด้วยกันนะครับ โดยกิจกรรมของเราจะแบ่งออกเป็น 5 กิจกรรมด้วยกัน ซึ่งจะดำเนินกิจกรรมเป็นรายสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เพื่อลดความตึงเครียดให้กับเด็ก ๆ กันครับ

แรงบันดาลใจของผลงาน

กิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการเพื่อพัฒนาเด็กได้แรงบันดาลใจมาจาก เด็กชายภูมรินทร์ หางสลัด อายุ 7 ปี ซึ่งเด็กจะมีพฤติกรรมการรับรู้ และจดจำได้ค่อนข้างเร็ว แต่พอมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เป็นแบบออนไลน์ ทำให้เด็กจดจ่อกับโทรศัพท์มากขึ้น และทำให้เด็กโฟกัสผิดจุดไม่ค่อยสนใจเรื่องเรียน และในทางตรงกันข้ามคือเล่นเกม ซึ่งส่งผลทำให้เด็กเป็นคนสมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้


กรอบแนวคิดในการออกแบบผลงาน

การพัฒนาเด็กกรณีศึกษาอายุ 7 ปี จำนวน 1 คน ทำการสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้เห็นในลักษณะทางกายภาพ เพื่อดำเนินการออกแบบกิจกรรม โดยจะใช้ทฤษฎีการสอนแบบสาธิต มาเป็นองค์ประกอบในการดำเนิน และออกแบบกิจกรรม ก่อนที่จะดำเนินงานตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

- กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการละลายพฤติกรรม

- กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวาดภาพธรรมชาติ

- กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเลียนแบบธรรมชาติ

- กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเติมลายเส้น และระบายสีตามจินตนาการของตน

- กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ผ่านการแสดง


 

แนวคิดในการใช้ศิลปะบำบัด

ศิลปะ คือ รูปร่างลักษณะหรือ ผลงาน สร้างสรรค์ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มิใช่ผลงานของมนุษย์ รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มีความสลับซับซ้อน มีความสวยงาม มีรูปทรงแปลกตา แม้มนุษย์จะมีความชื่นชม แต่ก็ไม่ ยอมรับว่าเป็นผลงานศิลปะ แต่หากมนุษย์ ใช้ความบันดาลใจ จากสิ่งเหล่านั้น มาสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นศิลปะ แต่จะเป็นศิลปะบริสุทธิ์ (Fine Art) หรือศิลปประยุกต์ (Applied Art) หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการสร้าง

ศิลปะบำบัดนั้นมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย

แนวคิดในการใช้ดนตรีบำบัด

  • การใช้ทำนองเพลงจังหวะดนตรีมาช่วยในการผ่อนคลาย และช่วยสร้างสมาธิได้
  • ระดับเสียงที่ใช้ จะเป็นระดับโทนเสียงที่มีความนุ่มนวลทำให้ฟังแล้วรู้สึกสงบ และสบายในคณะเดียวกัน

แนวคิดในการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ

         การใช้บทบาทสมมตินั้นสามารถใช้ออกแบบกิจกรรมได้อย่างเป็นอิสระ อีกทั้งยังสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สมาธิ อารมณ์ การสื่อสาร และการแสดงออกของเด็กได้ดังนี้

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้ร่างกายในการทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
  • พัฒนาการทางด้านสมาธิ สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สอนได้เป็นระยะเวลานานพอสมควร
  • พัฒนาการด้านอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองให้เข้ากับบทบาทได้ และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

หลักการออกแบบกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนตามสภาพจริง

1.การระบุปัญหา

การพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวก และส่งเสริมจินตนาการของเด็กอายุ 7 ปี จากประชากรตัวอย่าง สะท้อนความคิด และปรากฏผ่านการบูรณาการผ่านกิจกรรมทางศิลปะ ดนตรี และบทบาทการสมมติ สู่กิจกรรมนาฏยศิลป์สร้างสรรค์

2.คำสำคัญ

กระบวนการนาฏยศิลป์สร้างสรรค์นี้ ได้ดำเนินการกำหนดขั้นการดำเนินกิจกรรม และเนื้อหาดังนี้ “การละลายพฤติกรรม” เป็นขั้นตอนแรกที่ทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็ก ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ “วาดภาพธรรมชาติ” สะท้อนผ่านกิจกรรมการวาดภาพธรรมชาติ พร้อมทั้งระบายสีสามารถพัฒนาทักษะด้านสมาธิได้

Non-locomotor movement เป็นการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ นำมาบูรณาการใช้ร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ได้ โดยการออกแบบท่าทางประกอบนั้น มีที่มาจากการเลียนแบบธรรมชาติ โดยการเคลื่อนไหวหลัก ๆ จะเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เช่น การยืน การนั่ง และการนอน

3.ประสบการณ์ผู้เรียน

         มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความคิดจากเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เคยเผชิญมา เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ดอกไม้รับแสงตอนเช้า ลำธารน้ำตก นกบิน ลมพัดต้นไม้ และปลาว่ายน้ำ เป็นต้น แล้วนำมาถ่ายทอดผ่านกระบวนการ การเคลื่อนไหวโดยบูรณาการผ่านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ โดยผู้สอนนั้นต้องเชื่อมโยงผ่านกระการลอกเรียนแบบท่าทางให้ผู้เรียนได้เห็น รับรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนได้ ดังนี้

4.กระบวนการจัดการเรียนรู้

5.ผลลัพธ์การเรียนรู้

          1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจธรรมชาติ ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน และสามารถนำมาประกอบการออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้

         2.ผู้สร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ในงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ได้ เพื่อประกอบการเรียนการสอน และดำเนินกิจกรรม


6.การวัดประเมิน

         1.แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม ใช้ประกอบร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในด้านการให้ความร่วมมือในกิจกรรม ความรับผิดชอบ และการแสดงผลสำฤทธิ์ของงาน


         2.ผลงาน ที่ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกแบบ วาดถาพธรรมชาติ และสร้างสรรค์ลายเส้นที่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้ และระบายสีให้สวยงาม


         3.แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหว ตามบทบาทสมมติ ประกอบด้วย การออกแบบการเคลื่อนไหวเพื่อเลียนแบบธรรมชาติได้อย่างลงตัวและสร้างสรรค์

https://youtu.be/UBxJhHUlf2o


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมาย ; ส่งเสริมศักยภาพ สมาธิ สติปัญญา และอารมณ์ให้กับเด็กอายุ 7 ปี สามารถสร้างสรรค์ คิดต่อ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

2.การเรียนการสอนนาฏยศิลป์ ; ส่งเสริมให้เด็กอายุ 7 ปี สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย และการแสดงบทบาทสมมติซึ่งจะส่งผลให้มีการควบคุมแสดงออกทางด้านอารมณ์ได้ดีขึ้น

3.สังคม ; ช่วยให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี สามารถเรียนรู้ได้ด้วนตนเอง และสามารถเข้าไปอยู่ร่วมกับสังคมทั่วไปได้อย่างปกติสุข

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: แผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา เด็กอายุ 7 ปี.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 5 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)