icon
giftClose
profile

เป็นไปได้ไหม เป็นได้หรือเปล่า?

29411
ภาพประกอบไอเดีย เป็นไปได้ไหม เป็นได้หรือเปล่า?

ความน่าจะเป็นสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เรามาเรียนรู้ไปพร้อมกันนะคะ

เวลาที่ใช้ 1 คาบ

ชื่อกิจกรรม เป็นไปได้ไหม เป็นได้หรือเปล่า?

วัตถุประสงค์ของกกิจกรรม

         เพื่อให้นักเรียนจำแนกความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ จากคำว่า Impossible, Very unlikely, Equally likely, Very likely, Certain ได้

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

อุปกรณ์

- วงล้อจำนวน 4 รูปแบบ

- กล่อง (สำหรับใส่แผ่นป้าย)      

- แผ่นป้ายคำศัพท์ Impossible, Very unlikely, Equally likely, Very likely, Certain

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

ขั้นนำ

         1. ครูใส่แผ่นป้ายคำศัพท์ทั้งหมดลงในกล่อง โดยจะสุ่มหยิบแผ่นป้ายคำศัพท์ขึ้นมาครั้งละ 1 แผ่น จนกว่าจะครบทั้งหมด ก่อนเริ่มหยิบให้นักเรียนตอบคำถามภายในเวลา 5 นาที ดังนี้

                   - เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นมีทั้งหมดกี่เหตุการณ์ (5 เหตุการณ์)

                   - ถ้าครูสนใจเพียงเหตุการณ์ที่ครูหยิบได้แผ่นป้ายคำว่า Impossible มีกี่เหตุการณ์

(1 เหตุการณ์)

                   - ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครูหยิบได้แผ่นป้ายคำว่า Impossible เท่ากับเท่าใด (   )

ขั้นสอน

         2. ครูสุ่มหยิบแผ่นป้ายคำศัพท์ขึ้นมาครั้งละ 1 แผ่น พร้อมให้นักเรียนร่วมกันหาความหมายของคำศัพท์แต่ละคำ

                   - Impossible (เป็นไปไม่ได้)

                   - Very unlikely (ไม่น่าเป็นไปได้)

                   - Equally likely (เป็นไปได้อย่างเท่าเทียมกัน)

                   - Very likely (มีโอกาสเป็นไปได้)

                   - Certain (เป็นไปได้อย่างแน่นอน)

         3. ครูเขียนเส้นจำนวนการแสดงความน่าจะเป็นบนเส้นจำนวนตั้งแต่ 0 (Impossible) ถึง 1 (Certain) บนกระดาน ดังนี้

 

         4. ให้นักเรียนนำแผ่นป้ายคำศัพท์แต่ละคำมาวางบนตำแหน่งของเส้นจำนวนความน่าจะเป็นบนกระดาน

5. นักเรียนแต่ละกลุ่มทดลองหมุนวงล้อที่ได้รับ จำนวน 15 ครั้ง โดยครูชี้แจงกติกาการหมุนวงล้อพร้อมทั้งบันทึกผลลงสมุด โดยให้นักเรียนออกแบบตารางการบันทึกผลเอง ภายในเวลา 10 นาที

6. ให้นักเรียนจับกลุ่มจำนวน 5 กลุ่ม

         7. นักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับวงล้อที่แตกต่างกัน 5 แบบ เพื่อนำไปทดลองหมุนวงล้อ

         8. เมื่อทดลองครบทุกกลุ่มแล้ว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน ออกมานำเสนอผลการบันทึกว่าลูกศรชี้สีเหลืองจำนวนกี่ครั้ง ลูกศรชี้สีเขียวออกจำนวนกี่ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที (นักเรียนตอบได้ตามอิสระโดยอาศัยข้อมูลจากตารางการบันทึกผล)   

         9. นักเรียนตอบคำถาม ดังนี้

                   - วงล้อแบบที่ 1 มีโอกาสที่ลูกศรชี้สีเขียวเป็นไปได้หรือไม่ได้ และถ้านำไปติดบนเส้นจำนวนความน่าจะเป็นควรจะติดอยู่ตรงกับคำศัพท์ใด (เป็นไปไม่ได้ ติดตรงกับคำ Impossible)

                    - วงล้อแบบที่ 2 มีโอกาสที่ลูกศรชี้สีเขียวเป็นไปได้หรือไม่ได้ และถ้านำไปติดบนเส้นจำนวนความน่าจะเป็นควรจะติดอยู่ตรงกับคำศัพท์ใด (เป็นไปได้ ติดตรงกับคำ Very unlikely)

                   - วงล้อแบบที่ 3 มีโอกาสที่ลูกศรชี้สีเขียวเป็นไปได้หรือไม่ได้ และถ้านำไปติดบนเส้นจำนวนความน่าจะเป็นควรจะติดอยู่ตรงกับคำศัพท์ใด (เป็นไปได้ ติดตรงกับคำ Equally likely)

                    - วงล้อแบบที่ 4 มีโอกาสที่ลูกศรชี้สีเขียวเป็นไปได้หรือไม่ได้ และถ้านำไปติดบนเส้นจำนวนความน่าจะเป็นควรจะติดอยู่ตรงกับคำศัพท์ใด (เป็นไปได้ ติดตรงกับคำ Very likely)

                    - วงล้อแบบที่ 5 มีโอกาสที่ลูกศรชี้สีเขียวเป็นไปได้หรือไม่ได้ และถ้านำไปติดบนเส้นจำนวนความน่าจะเป็นควรจะติดอยู่ตรงกับคำศัพท์ใด (เป็นไปได้ ติดตรงกับคำ Certain)

ขั้นสรุป

9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ร่วมกัน ดังนี้

คำศัพท์ที่ใช้แต่ละคำมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบจากเส้นจำนวนความน่าเป็นจะเห็นได้ว่ามีความหมายที่แต่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นความน่าจะเป็นช่วยให้สามารถนำมาใช้ในการคาดเดาโอกาสที่จะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด

 

ข้อมูลอ้างอิง

หนังสือ Elementary and Middle School Mathematics Teaching Developmentally ของ John A. Van de Walle, Karen S. Karp and Jennifer M. Bay-Williams

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.รัชนิกร ชลไชยะ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หนังสือเรียนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: ตารางบันทึกผลกิจกรรมที่ 5.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 20 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(3)